โครงสร้างภาษาอังกฤษ

English Structure

      1. สามารถวิเคราะห์โครงสร้างในระดับคำ
      2. มีความรู้ในเรื่องการสร้างคำ
      3. สามารถวิเคราะห์โครงสร้างภาษาในระดับวลี   อนุประโยค   และ ประโยค
      4. สามารถเขียนโครงสร้างภาษาอังกฤษในระดับวลี อนุประโยคและ ประโยค ได้ตามหลักภาษาที่ถูกต้อง
      5. สามารถเขียนประโยคโดยใช้ตัวเชื่อมเพื่อสื่อความหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพและใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้
        อย่างเหมาะสม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเรื่องการวิเคราะห์ส่วนประกอบของคำ การสร้างคำ โครงสร้าง ภาษาอังกฤษในระดับคำวลี และประโยค ผู้เรียนสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษอื่นๆ ตลอดจนประยุกต์ใช้กับศาสตร์อื่นๆ และสามารถใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
        
คำอธิบายรายวิชา
       หน้าที่ ประเภทของคำ และ  โครงสร้างภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ ระดับคำ วลี อนุประโยคและ ประโยค
        Parts of speech and English structures including words, phrases, clauses and sentences
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 



คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

        ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
                    [O]   (1) มีทัศนคติที่ดี เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์
                    [O]  (2)  มีวินัย ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
                   [O]  (3)  มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
                   [  ]  (4)  มีจิตสาธารณะในการทำคุณประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม
                    [  ]   (5)  มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีจรรยาวิชาการและวิชาชีพ

 
[  l  ] เน้นหลัก     [     O  ]  เน้นรอง
1.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
         (1) สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
         (2) จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม
              จริยธรรม
        (3) สร้างวัฒนธรรมองค์กรโดยมีผู้สอนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา
            มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจรรยาวิชาการและวิชาชีพ
         (4) ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชน เพื่อเรียนรู้หน้าที่
           ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
    
1.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
(1)  การสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และ
      ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2)  บันทึกและติดตามการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย
      และการเข้าร่วมกิจกรรม     
(3)  การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน
 
    
2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
           [O]  (1) จดจำ และออกเสียงภาษาอังกฤษและ/หรือภาษาต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง
           [l]  (2) วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำ วลี และประโยคได้
                  (3) เปรียบเทียบการใช้ภาษาอังกฤษในวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
                  (4) แปลความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
                  (5) สรุปใจความและประเด็นสำคัญจากสิ่งที่ฟังและอ่านได้ถูกต้อง
         [O]  (6) ตีความ วิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นด้านภาษาและวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์
                  (7) ประเมินความเหมาะสมของการใช้วัจนภาษา และอวัจนภาษาเพื่อสื่อสารในบริบท
                      วัฒนธรรมข้ามชาติได้
2.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้
          (1) จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
           (2) จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและ
                สถานการณ์จำลอง
           (3) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียน
           (4) ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า หาความรู้ และการเรียนรู้ออนไลน์
               ในรูปแบบต่างๆ
2.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
       (1)  สอบกลางภาคและปลายภาค โดยใช้การสอบข้อเขียน
            (2) ทดสอบย่อยและการสอบปฏิบัติตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในรายวิชา
            (3) การนำเสนองานมอบหมายและการเขียนรายงานการค้นคว้ารายบุคคล
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
      (1) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ
      (2) มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมสากล
      (3) มีทักษะในการประยุกต์ใช้ภาษามาวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และสามารถแก้ปัญหาอย่างมีระบบ
3.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
     (1) จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติผ่านทางบทบาทสมมุติในสถานการณ์จำลอง
     (2) การระดมสมองและอภิปรายโต้แย้งในหัวข้อที่กำหนด
     (3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาตามแนว Constructivism (การสร้างความรู้ด้วยตนเอง) เช่น การเรียนรู้
                แบบเน้นภาระงาน (Task-based learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning)
               การเรียนรู้โดยโครงการเป็นฐาน (Project-based learning) และกระบวนการคิดเชิงออกแบบ      (Design thinking)
       (4) จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน
3.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
    (1) ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและผลการปฏิบัติของนักศึกษา   
    (2) ประเมินและติดตามกระบวนการปฏิบัติงาน
    (3) จัดการสัมมนา การอภิปรายกลุ่มและแสดงความคิดเห็น
    (4) การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน
    (5) การประเมินตนเองโดยการสะท้อนคิดของผู้เรียน เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือคณาจารย์
 4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
            (1) มีความสามารถทำงานเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
             (2) ประมวลทักษะและองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อนำมาใช้ในการทำงานของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
   [O] (3) ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมข้ามวัฒนธรรม
4.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
        (1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ   ในเนื้อหารายวิชา
        (2) จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มในรายวิชา มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน  (Collabolative   learning)
         โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
     (3) ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทั้งภายในมหาวิทยาลัยและบริการชุมชน เพื่อเรียนรู้
            กระบวนการกลุ่ม ทักษะสัมพันธ์ ภาวะผู้นำ ให้เกียรติ ตระหนักถึงหน้าที่และสิทธิของมนุษย์
     (4) ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ
4.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
        (1) การสังเกตพฤติกรรมและบทบาทของนักศึกษาในกระบวนการกลุ่ม
        (2) ประเมินและติดตามกระบวนการเรียนรู้
        (3) การสะท้อนคิด (Reflection) ต่อกระบวนการกลุ่ม
5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
          (1) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และคุณภาพ อย่างถูกต้อง
       (2) นำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       (3) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม
       (4) ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม 
5.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้
          เทคโนโลยีสารสนเทศ 
       (1)  สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารการค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงาน
       (2) มอบหมายงานให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น ศึกษา รวบรวมแ วิเคราะห์
             และตรวจสอบข้อมูล ตลอดจนการนำเสนองานและการทำรายงาน
        (3) ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม
5.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
      (1) การประเมินผลงาน รายงาน และการนำเสนองาน
      (2) สอบย่อยตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา
      (3) กลางภาคและปลายภาค โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสอบปากเปล่า
      (4) มีเกณฑ์การประเมินผลการเรียนในรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์
 6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน
     (1) ปรับตัวเข้าสู่สังคมการทำงานในบริบทข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
     (2) ปฏิบัติงานโดยยึดจรรยาบรรณวิชาชีพ
     (3) ประยุกต์ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการปฏิบัติงานในระดับสากล 
6.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน
       (1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง หน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณสมบัติและ
                แนวปฏิบัติ ที่ดีในจรรยาบรรณวิชาชีพ ในรายวิชา
       (2) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริง
       (3) จัดอบรม สัมมนา และกิจกรรมเตรียมความพร้อมในการทำงาน ก่อนนักศึกษาเข้าร่วมสหกิจศึกษา
                  และฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพ
       (4) แนะนำแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองออนไลน์  
6.3   กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน
          (1)  ประเมินและติดตามกระบวนการปฏิบัติงาน
         (2)  ประเมินผลงานโดยอาจารย์นิเทศ
         (3)  ประเมินผลการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
         (4)  การสะท้อนคิดและการประเมินตนเอง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BOAEC101 โครงสร้างภาษาอังกฤษ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 20 % งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20% การเข้าชั้นเรียนและความ รับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10% สอบกลางภาคเรียน Unit 1-4 สัปดาห์ที่ 9 = 25% สอบปลายภาคเรียน Unit 5-7 สัปดาห์ที่ 8 = 25% ทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 20 % งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20% การเข้าชั้นเรียนและความ รับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10% สอบกลางภาคเรียน Unit 1-4 สัปดาห์ที่ 9 = 25% สอบปลายภาคเรียน Unit 5-7 สัปดาห์ที่ 18 = 25% ทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 20 % งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20% การเข้าชั้นเรียนและความ รับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10% สอบกลางภาคเรียน Unit 1 - 4 สัปดาห์ที่ 9 = 25% สอบปลายภาคเรียน
เอกสารประกอบการสอน 
เอกสารประกอบการสอน 
2. เอกสารและข้อมูลสำคัญและแนะนำ  (ระบุหนังสือ วารสาร รายงาน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ กฏระเบียบต่างๆ ที่ นักศึกษาจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม)
Azar, S. (2003). Fundamentals of English Grammar. 3rd Edition. New York: Longman Publishing. Broukal, M. (2005). Grammar Form and Function. New York: McGraw - Hill. Huddleston, R., & Pullum, G. K. (2002). The Cambridge grammar of the English language. Cambridge: Cambridge University Press.
Murphy, R. and Amalzer, W. (2002). Basic Grammar in Use. 2 nd Edition. UK: Cambridge University Press “Parts of Speech”. 2008. [Online]. Available:http:// http://wwwnew.towson.edu/ows/index.htm Peterson, J.& Hagen,S.  (1999). Better Writing Through Editing. New York: McGraw-Hill
Quirk, R., Greenbaum, R., Leech, G., & Svartvik, J. (1985). 
       A comprehensive grammar of the English language. London:
      Longman.
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
1) การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
2) ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียน การสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
1) สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
2) สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
3) ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจ ในเนื้อหา
4) ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
5) ประเมินจากการนำเสนองานของนักศึกษา
1) ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
2) สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
3) สรุปผลการท ากิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
         - ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละ คนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็น รายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
         - ในระหว่างการเรียนการสอนมีการประเมินผลการนำเสนองานของนักศึกษา และให้คำแนะนำและบอกผลการประเมินการนำเสนองานว่าเหมาะสมอย่างไร รวมทั้งต้องปรับปรุงในประเด็นใดบ้าง
1) ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษา เนื้อหาให้ เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
     2) มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความ น่าสนใจ
     3) ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อ รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน
     4) ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชา ในการประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปี