คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน

Mathematics and Statistics in Daily Life

1.1 เพื่อให้นำคณิตศาสตร์พื้นฐานไปใช้ในชีวิตประจำวัน 1.2 เพื่อให้มีทักษะการคิดและคำนวณทางคณิตศาสตร์ 1.3 เพื่อให้มีทักษะในการสืบค้นข้อมูล  เก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  และแปล        ความหมาย 1.4 เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้คณิตศาสตร์เพียงพอที่จะไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และฝึกให้เป็นคนมีเหตุผลและรอบคอบ
ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจโดยใช้ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์การเงินและเบี้ยประกัน นำความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์และสถิติ
วันจันทร์ที่ เวลา 09.00 – 12.00 น.  และวันศุกร์เวลา 09.00 – 12.00 น. ห้องพักครู สำนักงานสาขาวิทยาศาสตร์ อาคารปฏิบัติการกลาง
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดําเนินชีวิตรวมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่าง ราบรื่น และประพฤติตนโดยคํานึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
(1) มีจิตสํานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
(3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
(4) เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการ เข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ ผู้สอนต้อง สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสํานึกในการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทําความดีและเสียสละ
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
(1) การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกําหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
(2) ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
(3) ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
(4) ความซื่อสัตย์สุจริตในการทํางานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ ความรู็ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู็และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้อง ครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
(1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
(2)สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชา ที่ศึกษา
(3)สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การทดสอบผลการเรียนรู็ตามมาตรฐานนี้สามารถทําได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่ เรียนทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตร
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทํางาน (Work-Integrated Learning : WiL) CDIO :(Conceiving - Designing-Implementing –Operating) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้
(1) การทดสอบย่อย
(2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(3) รายงานที่นักศึกษาจัดทํา
(4) งานที่ได้มอบหมาย
(5) การนําเสนอรายงานในชั้นเรียน
(6) แฟ้มสะสมผลงาน
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา พร้อมกับคุณธรรม และจริยธรรม โดยกระบวนการ เรียนการสอนต้องเน้ให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการ แก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
(2) มีทักษะในการนําความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ การวัดและประเมินผลการเรียนรู็ด้านทักษะทางปัญญาใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้ อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่ เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กําหนดให้
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และการบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทํางาน (Work-Integrated Learning)/STEM Education มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จัก วิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จําลอง และกรณีศึกษาเพื่อ เป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
(1) บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จําลอง
(2) การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ
(3) การนําเสนอรายงานในชั้นเรียน
(4) การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นักศึกษาจึงต้อง ได้รับการฝึกประสบการณ์เพื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ดังนั้นผู้สอนต้อง แนะนําการวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้
(1) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
(2) มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม
(3) สามารถทํางานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
(4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม การวัดและประเมินผลทําได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทํากิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ
ดําเนินการสอนโดยการกําหนดกิจกรรมกลุ่ม การทํางานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือ ค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบความสําเร็จในงานอาชีพ โดยมีความ คาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
(1) สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
(2) มีความรับผิดชอบต้องานที่ได้รับมอบหมาย
(3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี
(4) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(5) มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม
(6) มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย และสามารถวางตนได้ เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
(1) พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนําเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
(2) พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสําคัญในชีวิตประจําวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจําเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการ วิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับ สาขาวิชา ด้วยเหตุนี้ ต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
(2) สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
(3) ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและ สอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
ดําเนินการสอนด้วยกิจกรรม Active Learning/Flipped Classroom ที่นักศึกษาต้อง ติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนําเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการ เรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
(1) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
(2) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
(3) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนําเสนอผลงาน
(4) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม แต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
(1) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
(2) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
(3) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนําเสนอผลงาน 
(4) จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 2 3 4 5
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 GEBSC401 คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งรายงานตรงเวลา ทุกสัปดาห์ 5%
2 ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ ทดสอบ 9,17 40%
3 ทักษะทางปัญญา การทดสอบย่อย ตรวจงานที่มอบหมาย 4,12,16 40%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา การทำงานกลุ่ม ทุกสัปดาห์ 5%
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา จากรายงาน และการนำเสนอ 16 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน 
กมล  เอกไทยเจริญ.  คณิตศาสตร์ ม.6 . กทม.  ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง จำกัด . 2521
กัลยา  วานิชย์บัญชา. หลักสถิติ กทม. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2539
ผ่องศรี   คุ้มจอหอ, พัศนีย์  พันตา และลำดวน  ยอดยิ่ง . สถิติธุรกิจ . กทม. สำนักพิมพ์เอมพันธ์. 2540
สุจิตรา  หังสพฤกษ์.  สถิติธุรกิจ. กทม. บัณฑิตสาส์น  จำกัด.
ศิริลักษณ์  สุวรรณวงศ์. หลักสถิติเบื้องต้น.  กทม.  สุวีริยาสาส์น ,2539
หนังสือวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาสถิติ ที่มีเนื้อหาในรายวิชานี้ จากเว็บไซต์ต่างๆ 
-  การสังเกตความสนใจของผู้เรียนขณะทำการสอน -  แบบประเมินผู้สอนผ่านเว็บมหาวิทยาลัย -  ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษาเสนอแนะ
- การสังเกตการณ์ในการสอน - ผลการสอบตามจุดประสงค์ของแต่ละหัวข้อ - การทวนสอบผลการประเมินการเรียน
- แก้ไขข้อบกพร่อง จากแบบประเมินที่นักศึกษาประเมินผู้สอน
- การทวนสอบจากการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นที่ไม่ใช่ผู้สอน  - มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา เช่น ตรวจสอบ ข้อสอบ
- ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการทวนสอบในข้อ 4 - เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหาจากงานวิจัยของอาจารย์ - นำผลการเรียนของนักศึกษามาปรับปรุงประสิทธิภาพของรายวิชา