ศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม

Industrial Design Thesis

1.1 เข้าใจระเบียบขั้นตอนและวิธีการทำศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม
1.2 เข้าใจการเขียนกรอบแนวคิดในการทำศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม
1.3 มีทักษะในการค้นหาข้อมูลและเขียนศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้อง โดยใช้ความคิดรวบยอดในการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน
1.4 มีทักษะในการนำเสนอความก้าวหน้าของศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
1.5 มีทักษะในการดำเนินงานตามขั้นตอนการทำงานศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม
1.6 ตระหนักและเห็นคุณค่าของการทำศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในการทำศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม การค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการรวบรวมข้อมูล การเขียนรูปเล่มรายงานสมบูรณ์ และการนำเสนอผลงานศิลปนิพนธ์จากเดิมที่เป็นโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับศิลปนิพนธ์รายบุคคลตามกระบวนการที่วางแผน เขียนรายงานเป็นรูปเล่ม นำเสนอผลงานศิลปนิพนธ์ และจัดแสดงผลงาน
Practice writing an individual thesis and making a prototype, poster and brochure as well. Their work must be publicly exhibited.
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายนอกห้องเรียนทางสื่อสารเทคโนโลยี ทาง Online
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการนอกเวลาศึกษาปกติ โดยติดต่อผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ ครั้งละไม่เกิน 45 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 ™ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.2 ˜ มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
1.1.3 ™ มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 การแก้ไขปัญหาด้วยคุณธรรม จริยธรรม การเสียสละ และความซื่อสัตย์สุจริต 
2.1.1 ™ รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2.1.2 ™ มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
2.1.3 ™ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
2.1.4 ™ มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา
บรรยาย อภิปราย ใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้ผู้เรียนสามารถวางแผนในการเรียน เชื่อมโยงความรู้ ทฤษฎี ที่ได้จากการนำเสนอโดยสื่อการสอน เอกสารอ่านประกอบ ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ใช้การสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ฝึกการวิเคราะห์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาใช้วิธีการแก้ปัญหาและการทำศิลปนิพนธ์
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่างๆ คือ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากผลงานศิลปนิพนธ์ที่นักศึกษาทำ
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.5 ประเมินจากความถูกต้องของขั้นตอนการทำงาน
3.1.1 ™ สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
3.1.2 ˜ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.3 ™ สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
3.1.4 ™ มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
3.2.1 มีการมอบงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และ ให้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประกอบ แนวคิดในการออกแบบงานในแต่ละสัปดาห์
3.2.2 มอบหมายงาน ฝึกปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ตามกระบวนการออกแบบ อย่างมีขั้นตอน และความคิดสร้างสรรค์ อย่างมีระบบ
3.3.1   สอบความก้าวหน้า สอบกลางภาคและปลายภาค และการนำเสนองานศิลปนิพนธ์
3.3.2   จากการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 ™ มีภาวะผู้นำ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.1.2 ˜ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 ™ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
4.2.1 ทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อศึกษาข้อมูลวิเคราะห์วางแผนร่วมกัน
4.2.2 กำหนดให้มีการเก็บข้อมูลต้องประสาน ระหว่างบุคคล
4.2.3 การติดต่อประสานงานทั้งในหลักสูตร และผู้ติดต่อประสานงานในการทำศิลปนิพนธ์
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงาน
4.3.2 ประเมินจากผลงานที่มอบหมายให้  
4.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลา
5.1.1 ˜ สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2 ™ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3 ™ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง งานที่มอบหมายให้ โดยเน้นความถูกต้องของข้อมูล ภาพประกอบให้หาจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากงานที่มอบหมายให้ และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
5.3.3 ประเมินจากความถูกต้องเหมาะสม
6.1.1 ™ มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 ™ มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.1.3 ˜ มีทักษะในการปฏิบัตงานสร้างสรรค์ผลงาน
มอบงานให้นักศึกษาปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.3.1 วัดจากเกณฑ์ประเมินผลงานออกแบบ
6.3.2 การสอบความก้าวหน้าและสอบป้องกันโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม 
6.3.3 วัดผลจากการประเมิน การนำเสนองานที่มอบหมายให้ ความถูกต้องของข้อมูล ผลงานต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BAAID124 ศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.2, 3.3.1 ตรวจความก้าวหน้าครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ความก้าวหน้าครั้งที่ 2 4 8 25%
2 2.3.2, 3.3.2, 3.3.3, 4.3.1, 4.3.2, 5.3.1, 5.3.2 การปฏิบัติงานและผลงาน / สอบป้องกัน ศิลปนิพนธ์ (Project-Based Learning) การจัดนิทรรศการ ตลอดภาคการศึกษา 65%
3 1.3.1 การเข้าพบที่ปรึกษา การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. เกษม  สาหร่ายทิพย์. 2543. ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครสวรรค์: นิวเสรีนคร.
2. เกษม   สาหร่ายทิพย์. 2540. สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 2. นครสวรรค์: นิวเสรีนคร.
3. ธีระชัย สุขสด. 2544. การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
4. นิรัช  สุดสังข์. 2548. การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์.

5. นวลน้อย บุญวงษ์. 2539. หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. บุญชม  ศรีสะอาด. 2535. การวิจัยทางการวัดและประเมินผล,มหาสารคาม:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาสารคาม.
7. บุญธรรม  กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2531. การวิเคราะห์ความแปรปรวน:ประยุกต์เพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: เจริญผล.
8. บุญเรียง ขจรศิลป์. 2530. วิธีวิจัยทางการศึกษา.กรุงเทพฯ:ฟิสิกส์เซ็นเตอร์การพิมพ์.
9. เสรี วงษ์มณฑา. 2542. การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
คู่มือศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม หลักสูตรออกแบบอุตสาหกรรม มทร.ล้านนา
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในการทำศิลปนิพนธ์ และบทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบอุตสาหกรรม
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  ข้อเสนอแนะผ่านระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1  การจัดการเรียนการสอนออนไลน์เพิ่มเติม
3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน และการค้นคว้าด้วยตนเอง
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2  ควรมีวิทยากรมาให้ความรู้ในการทำศิลปนิพนธ์ทางด้านออกแบบอุตสาหกรรม เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยต่างๆ ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น