พื้นฐานศิลปะประจำชาติ

Basics Traditional Thai Art

รู้ความหมาย ความสำคัญของศิลปะประจำชาติและที่มาความบันดาลใจของลวดลายไทย เข้าใจรูปแบบเนื้อหาและลักษณะของลายแบบต่างๆ ปฏิบัติงานศิลปะประจำชาติด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ดินสอ เครยอง พู่กัน หรือวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น รู้ความหมาย ความสำคัญของจิตรกรรมไทย ประติมากรรมไทย สถาปัตยกรรมไทย และงานประณีตศิลป์ เห็นคุณค่าของศิลปะประจำชาติ
เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ เป็นเอกสารการเตรียมและวางแผนการสอนรายวิชา ศิลปะประจำชาติ สำหรับสอนนักศึกษาหลักสูตรทัศนศิลป์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับพื้นฐานศิลปะประจำชาติ จิตรกรรมไทย ประติมากรรมไทย สถาปัตยกรรมไทย และงานประณีตศิลป์
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ พื้นฐานงานศิลปะประจำชาติประเภทต่าง ๆ งานลวดลายไทยพื้นฐาน, งานจิตรกรรมไทย, งานประติมากรรมไทย, งานสถาปัตยกรรมไทยและงานประณีตศิลป์ Study and practice fundamental traditional arts, including essential Thai ornament, Thai painting, Thai sculpture, Thai architecture, and elaboration art.
อาจารย์ผู้สอนจะให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน จำนวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสื่อสารให้นักศึกษาได้ทราบกำหนดเวลาล่วงหน้า
ข้อ 1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน) ข้อ 2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน) ข้อ 3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งจรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบ นำไปสู่การมีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ เช่น สามารถนำองค์ความรู้ ความสามารถ ในรายวิชา ไปช่วยกิจกรรมงานของสถาบัน ไม่ทุจริตต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม
การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในรายวิชา กิจกรรมของสถาบัน
ข้อ 1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ 3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ข้อ 4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
ใช้การเรียนการสอน โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาศิลปะประจำชาติ ตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชาในแต่ละหน่วย สร้างความรู้ความเข้าใจสิ่งที่เป็นลักษณะของศิลปะประจำชาติกับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมประจำชาติ
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2.3.2 ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติในชั้นเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ 1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ ข้อ 4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
อธิบายถ่ายทอดองค์ความรู้หลักทฤษฏีให้สอดคล้องกับหลักการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเข้าใจแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ตามกระบวนการ
ประเมินจากการวัดผลสอบกลางภาคและปลายภาคการศึกษา ประเมินจากผลงานการปฏิบัติงานของนักศึกษาในแต่ละหน่วย และการรวบรวมผลงานปฏิบัติการตลอดทั้งเทอม
ข้อ 2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
การมอบหมายงานให้ฝึกปฏิบัติของแต่ละหน่วยองค์ความรู้ โดยใช้หลักทฤษฏีมาปรับใช้กับการปฏิบัติผลงานตามระยะเวลาที่ผู้สอนกำหนด นำองค์ความรู้ในรายฝึกไปฝึกปฏิบัติและสร้างสรรค์ในกิจกรรมของสถาบัน
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการฝึกปฏิบัติงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม ความรับผิดชอบต่องานของตนเองและกลุ่ม การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
อ 2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลโดยอ้างอิงแหล่งข้อมูล ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการแนะนำที่เหมาะสมกับนักศึกษา
ประเมินจากการสืบค้นข้อมูล โดยการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการค้นหาข้อมูล ประเมินจากการอธิบายและการนำเสนอ
ข้อ 1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
ใช้วิธีการสอนฝึกปฏิบัติ ด้วยวิธีการคัดลอกตามแบบ ทำตามใบงาน และการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามรูปแบบของตนเอง
ประเมินจากผลการปฏิบัติงานและผลงานสรุปของแต่ละหน่วยองค์ความรู้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา (1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (3) มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ (1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง (3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม (4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา (2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ (4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน (2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตน
1 BFAVA172 พื้นฐานศิลปะประจำชาติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การนำเสนอผลงาน สอบกลางภาค การนำเสนอผลงาน สอบปลายภาค การนำเสนอผลงาน สอบกลางภาค การนำเสนอผลงาน สอบปลายภาค 3,4,5,6,8 9 11,13,15 17 25%, 10%, 25%, 10%
2 ประเมินการนำเสนอการค้นคว้าและการนำเสนอ การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ประเมินการนำเสนอการค้นคว้าและการนำเสนอ การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 จิตพิสัย ความสนใจ การเรียนสม่ำเสมอ การแต่งกายสะอาด การเข้าชั้นเรียน จิตพิสัย ความสนใจ การเรียนสม่ำเสมอ การแต่งกายสะอาด การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 นักศึกษาสามารถปฏิบัติวาด ลวดลายไทย เรียนรู้อัตลักษณ์ความเป็นมา ทั้งด้านของงานจิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์นำมาบูรณาการกับการกับภาควิชา สอบกลางภาค สอบปลายภาค ผลงานฝึกปฎิบัติ ทุกสัปดาห์ที่มีการเรียนการสอน คะแนนเต็ม 100 คะแน
5 การทดสอบจากผลงานภาคปฏิบัติ สอบวัดผลกลางภาค ปลายภาค ผลจากงานปฏิบัติ ทุกสัปดาห์ที่ได้เรียนรู้ และสอบปลายภาค กลางภาค คะแนนสอบรวม 30 คะแนน คะแนนปฏิบัติ 60 คะแนนจิตพิสัย10
หนังสือ
ศิลปะประจำชาติ เล่ม 1 ศิลปะประจำชาติ เล่ม 2 ลวดลายไทย คู่มือลายไทย สมุดตำราลายไทย กระหนกในดินแดนไทย จิตรกรรมไทย ประติมากรรมไทย สถาปัตยกรรมไทย งานช่างศิลป์ไทย
แหล่งอ้างอิงที่สำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ศิลปะไทยและรูปแบบศิลปกรรมไทย - โพธิ์ ใจอ่อนน้อม คู่มือลายไทย โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน พ.ศ. 2522 - พระเทวาภินิมมิต สมุดตำราลายไทย โรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. 2530. - นิดา หงษ์วิวัฒน์ งานช่างศิลป์ไทย แสงแดดและเพื่อนเด็ก(คติ) พ.ศ. 2555.
- สันติ เล็กสุขุม กระหนกในดินแดนไทย สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2539.
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ศิลปะไทยและรูปแบบศิลปกรรมไทย
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

 
- การสังเกตการณ์ และทีมผู้สอน - ผลการเรียนของนักศึกษา - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- การวิเคราะห์และผลการประเมินขจากนักศึกษา - การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
กระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา - ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรืองานที่มอบหมาย จากการสุ่มตัวอย่างผลงานของนักศึกษาจากอาจารย์ต่างหลักสูตร - ตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินและกระบวนการการให้คะแนน
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 - สลับเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากมุมมองทัศนคติ ที่หลากหลาย