กลวิธีการเขียนรายงานและการนำเสนอ

Report Writing and Presentation

 1.1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจ ความหมาย ความสำคัญ และลักษณะของรายงานทางวิชาการ
1.2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับสารสนเทศที่ใช้ในการเขียนรายงานทางวิชาการ
1.3 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศ และนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการเขียนรายงานทางวิชาการได้
1.4 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจ วิธีในการเขียนรายงานทางวิชาการ
1.5 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอรายงานทางวิชาการได้
1.6 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการกับศาสตร์ทางวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

 
2.1 เพื่อปรับกระบวนการรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
2.2 เพื่อให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชากลวิธีการเขียนรายงานและการนำเสนอ มีการพัฒนาที่ สอดคล้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการประกอบวิชาชีพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
2.3 เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเขียนรายงานและการนำเสนอ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
2.4 เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์แผนกวิชาภาษาตะวันออกให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และปรับตนเองเพื่อตอบรับต่อองค์ความรู้ใหม่ สู่การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ และลักษณะของรายงานทางวิชาการ สารสนเทศที่ใช้ในการเขียนรายงานทางวิชาการ การเข้าถึงสารสนเทศ การนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ วิธีในการเขียนรายงานทางวิชาการ การนำเสนอรายงาน และการบูรณาการกับศาสตร์ทางวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
Study meaning, importance, and characteristics of academic report; information used for writing academic report; access to information sources; utilization of information; techniques in writing academic report; presenting report and integrating with professional-related sciences efficiently and appropriately
3 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4) เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1) ให้วิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม โดยใช้ทักษะทางภาษา 2) อภิปรายกลุ่ม และนำเสนอ 3) ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ 4) กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลา และเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1) พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 2) มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3) ไม่มีการทุจริตในการสอบ 4) ประเมินผลการนำเสนอผลงานและรายงานที่มอบหมาย 5) การส่งงานตรงตามเวลา
1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 3) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) บรรยายร่วมกับอภิปราย การทำงานกลุ่ม กรณีศึกษา การใช้สื่อมีเดีย การวิเคราะห์งาน และมอบหมายงานที่เกี่ยวข้อง 2) ให้ทำแบบฝึกหัด แบบทดสอบ 3) นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติม จัดทำเป็นรายงาน และนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1) สอบย่อยระหว่างเรียนด้วยแบบทดสอบ 2) ประเมินจากประสิทธิผลของทักษะการสื่อสาร การใช้วิจารณญาณ การใช้ภาษาไทย การศึกษาค้นคว้า การทำรายงาน และงานที่มอบหมาย 3) ทดสอบกลางภาค และปลายภาค 4) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
1) มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1) บรรยายและอภิปราย การใช้สื่อมีเดียต่างๆ การใช้กรณีศึกษา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน 2) การมอบหมายให้นักศึกษาแสดงทักษะทางภาษาไทย การทำรายงาน ชิ้นงาน และนำเสนอผลการศึกษา
1) เก็บคะแนนย่อย โดยเน้นการใช้ทักษะทางภาษาไทยโดยการปฏิบัติจริง 2) สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน
1) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1) มอบหมายงานกลุ่มในการศึกษาค้นคว้า 2) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
1) ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานกลุ่ม 2) รายงานการศึกษาและชิ้นงานค้นคว้าด้วยตนเอง 3) พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
1) สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม 3) สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning และทำรายงานโดยเน้นการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 2) นำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
1) การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อมีเดียและเทคโนโลยี 2) การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และวิธีการอภิปราย
1) ผู้เรียนสามารถเขียนรายงานทางวิชาการได้
2) ผู้เรียนสามารถนำเสนอรายงานทางวิชาการได้
3) ผู้เรียนสามารถบูรณาการกับศาสตร์ทางวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
1) ให้ผู้เรียนเขียนรายงานทางวิชาการ
2) ให้ผู้เรียนนำเสนอรายงานทางวิชาการ
1) รายงานทางวิชาการที่สมบูรณ์
2) ผลงานการนำเสนอรายงานทางวิชาการของผู้เรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
กอบแก้ว โชติกุญชร และคณะ. 2544. การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แม็ค
จีระพรรณ สวัสดิพงษ์. 2543. เทคนิคและวิธีการสืบค้นสารสนเทศ. เชียงใหม่ : มปท.
ธนู ทดแทนคุณ. 2547. การเขียนรายงานทางวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,
พาหุรัตน์ คงเมือง ทัยสุวรรณ์. 2561. การเขียนโครงร่างการวิจัย. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ, นนทบุรี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. 2546. การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศและการเขียนรายงาน. เชียงใหม่ : ภาควิชา.
มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. 2548. สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.
รุ่งฤดี อภิวัฒนศร และคณะ. 2551. การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
รุ่งฤดี อภิวัฒนศร และคณะ. 2556. สารนิเทศและการเขียนรายงานทางวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. 2558. เอกสารประกอบการสอน วิชาการเขียนรายงานทางวิชาชีพ. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์ภิรมย์กิจการพิมพ์.
สมนึก ภัททิยธนี. 2557. หลักการเขียนรายงานวิจัย 5 บท. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมพงษ์ เกษมสิน . 2524. ข้อแนะนำในการเขียนรายงานภาคนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ . พิมพ์ครั้งที่ 5 . กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
เอื้อมพร ทัศนประสิทธิผล. ม.ป.ป. สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ : สุริยสาส์น.
ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
2) ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
3) แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
- ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
- กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
- การวิจัยในชั้นเรียน
- ให้อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
- ให้กรรมการทวนสอบ สุ่มตรวจสอบการให้คะแนนในรายวิชาหรือรายงานของผู้เรียน
- เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อในรายวิชา ตามเกณฑ์ที่กำหนด
- จัดทำข้อสอบมาตรฐานสำหรับรายวิชา (หรือกับสถาบันในเครือข่าย)
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอภาควิชา / คณะ