การบัญชีชั้นกลาง 2

Intermediate Accounting 2

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี วิธีการต่างๆ ทางบัญชีและวิธีการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน เกี่ยวกับหนี้สิน
        1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และวิธีต่างๆ ทางการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ ของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด และวิธีการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน รวมถึงกำไรสะสมกำไรต่อหุ้น และงบกระแสเงินสด
        1.3 เพื่อให้นักศึกษา สามารถศึกษาค้นคว้า การจัดทำบัญชี ของกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ได้
        1.4 เพื่อฝึกหัดการนำแนวคิด หลักการและวิธีการบัญชี ตามมาตรฐานรายงานทางการเงินในปัจจุบัน ไปใช้ในทางปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับหนี้สินและส่วนของเจ้าของได้อย่างถูกต้อง
  
2.1 เพื่อพัฒนาความสามารถนักศึกษา ในการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบันเฉพาะฉบับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด
        2.2 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและวิธีการบัญชีทางด้านหนี้สินและส่วนของเจ้าของโดยละเอียดประกอบด้วย การจำแนกประเภทหนี้สิน การรับรู้และการวัดมูลค่าหนี้สิน การตีราคา การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของประกอบด้วย การบัญชีเกี่ยวกับการจัดตั้งกิจการและการดำเนินงาน การแบ่งกำไรขาดทุน การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ การเลิกกิจการและการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงิน รวมถึงกำไรสะสมกำไรต่อหุ้นและงบกระแสเงินสด
5
1.1    คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
               1) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
                    - ตระหนักถึงความซื่อสัตย์สุจริตของนักบัญชี
                    - มีวินัย เคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
      
1) สอดแทรกหัวข้อความซื่อสัตย์สุจริต การมีวินัย การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคมในชั้นเรียน
               2) แจ้งระเบียบปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับนักศึกษาและกำหนดกติการวมกันเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน และการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ให้นักศึกษาปฏิบัติ
               3) สอดแทรกหัวข้อคุณธรรม จริยธรรม และ ความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพ
ประเมินจากการติดตามการปฏิบัติตามกติกาการเรียน สัปดาห์ละครั้ง ตลอดภาคการศึกษา ประเมินจากการกระทำทุจริตในการสอบ สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1) มีความรู้และเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการและวิธีการทางการบัญชี
                    - แนวคิดหลักการและวิธีการบัญชีทางด้านหนี้สินและส่วนของเจ้าของโดยละเอียดประกอบด้วย      การจำแนกประเภทหนี้สิน การรับรู้และการวัดมูลค่าหนี้สิน การตีราคา การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของประกอบด้วย การบัญชีเกี่ยวกับการจัดตั้งกิจการและการดำเนินงาน การแบ่งกำไรขาดทุน การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ การเลิกกิจการและการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงิน รวมทั้งกำไรสะสม กำไรต่อหุ้นและงบกระแสเงินสด
                2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
                    - มีความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด
                3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆโดยวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
                    -เทคนิคการจัดทำและการนำเสนองบแสดงฐานะการเงิน เกี่ยวกับหนี้สิน เทคนิควิธีการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน และงบกระแสเงินสด
1) ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหาวิชา เช่นการบรรยาย  ยกตัวอย่าง สาธิต และการถาม-ตอบในชั้นเรียน
มอบหมายแบบฝึกหัดแก้โจทย์ปัญหาแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
1) ประเมินผลจากการส่งแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย
      2) การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
1) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆอย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
                    - สามารถประยุกต์ความรู้การบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ ของกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด สู่แนวทางการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน รวมถึงงบกำไรสะสม
1) บรรยาย  ยกตัวอย่าง และการถาม-ตอบในชั้นเรียน
 2) การทำแบบฝึกหัดโดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา แบบระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ในแบบ
รายบุคคลและรายกลุ่มย่อย
               3) การจัดกลุ่มสรุปความรู้ เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม
1) การสอบกลางภาค การสอบปลาย
2) ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
4.1    ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องการพัฒนา
               1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
                    - สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่รับมอบหมายได้ ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้
      
1) จัดกลุ่มย่อยวิเคราะห์โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน        
1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมในการเข้ากลุ่ม
               2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากการประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม
               3) ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
 
1) มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
1) จัดกลุ่มย่อยวิเคราะห์โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา
ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีในเนื้อหาวิชาเรียน 2. ให้ความำสคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละและการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน 1. ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบ ตามลักษระของเนื้อหาราายวิชาโดยเน้นความคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การยกตัวอย่าง การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา 2. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ 3. การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์กรธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์กรธุรกิจหรืออุตสาหกรรม 4. การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา 1. ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย 2.ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา 3. ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 4. ถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จากการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และวานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเขียนรายงานจากประสบการณ์หรือวิธีการอื่นๆ 1. มอบหมายให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม เช่น การทำโครงงาน การแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษา การค้นคว้าอิสระ การทำวิจัย การจัดนิทรรศการเป็นต้น โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกทีม และผลัดกันเป็นผู้นำเสนอ 2. มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 3. ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ 1. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข 2. มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3. ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้ขากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนกส์
1 BACAC121 การบัญชีชั้นกลาง 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2 ,3,5 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค =9 การสอบปลายภาค=18 การทดสอบย่อย=1,9 80%
2 2,3,4,5 การรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 7และ15 10%
3 1,2,3,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ทุกสัปดาห์ 10%
เอกสารประกอบการสอน การบัญชีขั้นกลาง 2 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์แววดาว พรมเสน
การบัญชีชั้นกลาง 2 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์พนา ปีตธวัชชัย และคณะ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การบัญชีชั้นกลาง 2 โดย ผศ.นุชจรีย์ พิเชษฐกุล การบัญชีชั้นกลาง 2 โดย ผศ. กนกลักษณ์ วงษ์เกรียงไกร Intermediate Accounting By Keiso & Weygandt มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เว๊ปไซต์ ต่อไปนี้
www.fap.or.th
www.sec.or.th
www.set.or.th
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา

 
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ