เคมีเพื่อการเกษตร

Chemistry for Agriculture

เข้าใจถึงความสำคัญและหลักการพื้นฐานทางเคมีเพื่องานเกษตร        สามารถปฏิบัติงานเตรียมสารเคมี เคลื่อนย้าย เก็บรักษา ทำลายสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีต่อการศึกษาเรียนรู้ และการปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ รอบคอบ ขยัน อดทน มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีพื้นฐานทางเคมีงานเกษตรเพิ่มขึ้น
2.2 นักศึกษานำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.3 เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับอะตอมและตารางธาตุ พันธะเคมี สารละลาย กรด-เบส และเกลือ การเตรียมสารเคมี ปฏิกิริยาเคมีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีและสมดุลเคมี จำแนกประเภทของสารเคมี การใช้สารเคมีทางการเกษตรการเคลื่อนย้าย การเก็บรักษา การทำลายสารเคมีที่ถูกต้อง วิธีป้องกันอุบัติภัยจากสารเคมีและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์ เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำนอกชั้นเรียน สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง ผ่านช่องทาง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - การเข้าชั้นเรียน - ความรับผิดชอบส่งงานที่มอบหมายและความสำเร็จตามกำหนดเวลา ทุกสัปดาห์ 10%
2 - การแสดงพฤติกรรมในชั้นเรียน (ทักษะปฏิบัติการทดลอง, การทำงานเป็นทีม, การยอมรับฟังความคิดเห็น, การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและสังคม, ระบบการคิดวิเคราะห์โจทย์, การวางแผนในการคิดและตัดสินใจแก้โจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้น) - การแสดงความคิดเห็น - การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 20%
3 - การทดสอบย่อย - การถาม-ตอบปากเปล่า 3,5,7,11,13,15 10%
4 - คุณภาพของงานที่มอบหมาย (สมุดบันทึก, สมุดรายงานผลการทดลอง, การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน, มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์) - การเลือกใช้สารสนเทศที่เหมาะสม 1,3,6,11,14,16 20%
5 การสอบกลางภาค 8 20%
6 การสอบปลายภาค 17 20%
1) กฤษณา ชุติมา หลักเคมีทั่วไป เล่ม 1, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ 2539.
2) กฤษณา ชุติมา หลักเคมีทั่วไป เล่ม 2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ 2539.
3) ทบวงมหาวิทยาลัย เคมี เล่ม 1-2, สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, กรุงเทพฯ 2540
       4) แผนกเคมี  คู่มือปฏิบัติการเคมีหลักเคมี1  สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และ
              เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน, น่าน 2559
)โครงการตำรา.  ปฏิบัติการเคมีทั่วไป เล่ม1.  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2539.
2) โครงการตำรา.  ปฏิบัติการเคมีทั่วไป เล่ม2.  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2539.
3) ชัยวัฒน์ เจนวาณิชย์ หลักเคมี เล่ม 1-2, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ 2541
4) ทบวงมหาวิทยาลัย เคมี เล่ม 1-2, สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, กรุงเทพฯ 2540
5) ประเสริฐ ศรีไพโรจน์ เคมีพื้นฐานเล่ม  1, สุพีเรียพริ้นติ้งเฮาส์, กรุงเทพฯ 2545.
6) วิโรจน์ ปิยวัชรพันธุ์ เคมีทั่วไป 1, โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ 2541.
       7) ลัดดา มีศุข เคมีทั่วไป เล่ม 1 ฉบับรวบรัด, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ 2545.
8) สุนันทา วิบูลย์จันทร์ เคมี: วิชาแกนทางวิทยาศาสตร์, เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า,
กรุงเทพฯ 2545.
       9) พรทิพย์  ศัพทอนันต์. ปฏิบัติการเคมีอนินทรีย์. คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
         เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
       10) สุภาพ  บุณยะรัตเวชและคณะ.  ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์.  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2536.
11) P. W. Atkins Physical Chemistry 5th ed. Oxford University Press, Oxford 1994.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรม ดังนี้
1.1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
1.2) แบบประเมินผู้สอน หรือแบบประเมินรายวิชา 
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง โดยดูจากผลการเรียนของนักศึกษา เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนและรายวิชาให้ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน
อาจารย์ผู้สอนต้องติดตามความก้าวหน้าขององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (มีการใช้เอกสารประกอบการสอนที่ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี) หรือเข้าร่วมอบรมสัมมนาการจัดกระบวนการเรียนการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้กลยุทธ์และวางแผนปรับปรุงการเรียนการสอน
4.1 การทวนสอบโดยอาจารย์ผู้สอนทวนสอบจากคะแนนสอบหรืองานกิจกรรมหรือโครงการบูรณาการที่มอบหมาย หรือ  
4.2 การทวนสอบโดยให้นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชา
4.3 มีกระบวนการทวนสอบ ฯ ในระดับกระบวนวิชา ที่สอดคล้องกับหลักสูตร (มคอ.2 หมวด 4 และหมวด 5) ให้ครอบคลุม ครบถ้วน และตรงตามที่หลักสูตรกำหนด  
5.1) ทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอนและจัดหาอุปกรณ์สื่อการสอนให้มีความก้าวหน้าตามยุคสมัย
5.2) การประเมินผลผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ จากแบบทดสอบย่อย เพื่อจะได้ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะสมตามสถานการณ์
5.3) การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา (ใน มคอ.5) เสนอต่อหลักสูตรเพื่อพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงในภาคการศึกษาต่อไป