การภาษีอากร 2

Taxation 2

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับวิธีการบัญชีสำหรับรายการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประมวลรัษฎากร สำหรับผู้ประกอบธุรกิจประเภทบุคคลธรรมดา การยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี และสิ้นปี
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวและความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของธุรกิจ และความเกี่ยวข้องกันกับการคำนวณภาษีสำหรับผู้ประกอบธุรกิจประเภทนิติบุคคลได้แก่
- การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การบันทึกรายการทางบัญชี และการแสดงรายงานในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
- การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม การบันทึกรายการทางบัญชี และการแสดงรายงานในแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการ การจัดทำกระดาษทำการเพื่อปรับปรุงกำไรทางบัญชีเป็นกำไรทางภาษี การบันทึกรายการทางบัญชี และการแสดงรายงานในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี และสิ้นปี
1.3 เพื่อให้นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้า การคำนวณภาษี และการแสดงแบบรายการทางภาษีของกิจการ รวมทั้งให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ภาษีสรรพากร
2.1 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะด้านการคำนวณภาษีสรรพากร บันทึกรายการทางบัญชีและจัดทำเอกสารทางบัญชีให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และสอดคล้องกับที่ประมวลรัษฎากรกรกำหนด
2.2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาแนวคิดและความแตกต่างระหว่างเกณฑ์การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีและการภาษีอากร การจัดทำกระดาษทำการ เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร การปรับปรุงกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษีอากร การจัดทำรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีสรรพากร และการยื่นแบบแสดงรายงานภาษีสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีให้ครบถ้วนถูกต้อง รวมทั้งศึกษาภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษีระหว่างประเทศ การวางแผนภาษี และจริยธรรมของวิชาชีพ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
- อาจารย์ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาผ่านทางโทรศัพท์ (089-6360048)
อีเมล์ yupha_pirison@hotmail.com โดยแจ้งหมายเลขและอีเมล์ให้นักศึกษาทราบ

นักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาได้ผ่านทางเฟสบุ๊คกลุ่ม Taxation2 (เทียบโอน),

Taxation2 (เทียบโอน), หรือทาง Message Facebook
1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
2) ตระหนักถึงจรรยาบรรณของนักบัญชีที่ดี ที่มีต่อหน้าที่ในการชำระภาษีสรรพากร
3) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
4) สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนได้
1) สอนหัวข้อจรรยาบรรณของนักบัญชี และยกตัวอย่างผลเสียหายของการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีที่ส่งผลต่อการเสียภาษีสรรพากร และให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีเกี่ยวกับการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีเพื่อเสียภาษีอย่างไม่ถูกต้อง และนำมาอภิปรายกันในชั้นเรียนสัปดาห์ละ 3 เรื่อง โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาทีก่อนการเรียนเนื้อหารายวิชา
2) กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม การทำโจทย์ปัญหา และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
1) ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพจากการอภิปรายของนักศึกษา
2) ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนก่อนการสอนทุกสัปดาห์ การประเมินผลการสอบกลางภาค โดยทดสอบความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การติดตามการส่งรายงานเป็นช่วงเวลาที่กำหนดให้ การตรวจสมุดบัญชี และการตรวจเครื่องแต่งกายของนักศึกษา
2.1 ความรู้ที่จะได้รับ
1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี
2) แนวคิดและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีเพื่อภาษีอากร ได้แก่ การคำนวณภาษี การบันทึกบัญชี และเอกสารทางภาษีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้นิติบุคคล
3) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
4) มีความรู้เกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ การจัดทำแบบแสดงรายงานทางภาษีสรรพากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับภาษีสรรพากร เช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับกิจการที่ได้รับบัตร BOI เป็นต้น
5) สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
6) สามารถวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากรในปัจจุบันที่มีต่อการบัญชีของธุรกิจ
1) บรรยาย ยกตัวอย่าง และถาม – ตอบในชั้นเรียน
2) โจทย์ปัญหา
3) รายงานกลุ่ม
4) มอบหมายงานให้นักศึกษาติดตามประกาศกรมสรรพากรและวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อการบัญชี
 
1) การตอบคำถามในชั้นเรียน
2) การทำโจทย์ปัญหาการรายงาน (งานกลุ่ม)
3) การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
4) คุณภาพของงานที่มอบหมาย
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
1) สามารถสืบค้น ประมวลข้อมูล หลักฐาน แนวคิดต่างๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตนเอง
-สามารถสืบค้นข้อมูลทั้งจากอินเตอร์เน็ตและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อการใช้ในการวิเคราะห์ และการทำรายงานกลุ่มได้ เช่น การหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ รายงานทางการเงินของกิจการได้ เป็นต้น
2) สามารถประยุกต์ความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพ และดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
- สามารถคำนวณและวิเคราะห์ภาษีจากข้อมูลที่สืบค้นได้ โดยการวิเคราะห์จากงบการเงินของกิจการตามวิธีการที่สรรพากรกำหนดได้อย่างเหมาะสม
3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
- สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผล เกี่ยวกับข้อมูลของกิจการ และนำเสนอได้
1) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม – ตอบในชั้นเรียน
2) การอภิปรายเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย
3) การนำเสนอรายงาน (งานกลุ่ม)
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค
3.3.2 วัดผลจากการค้นคว้า การนำเสนอผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้
2) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
- สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมกลุ่ม (การทำรายงานกลุ่ม) ได้โดยราบรื่น
3) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน
- สามารถช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาในการจัดทำรายงานได้ด้วยความสามัคคีร่วมมือร่วมใจ
มอบหมายงานกลุ่ม เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ แบ่งเป็น 6 ธุรกิจ ได้แก่
- ธุรกิจธนาคารและธุรกิจเยี่ยงธนาคาร - ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
- ธุรกิจรับประกันชีวิต - ธุรกิจแฟคเตอร์ริ่ง
- ธุรกิจโรงรับจำนำ - ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์
โดยให้ตัวแทนกลุ่มจับฉลากธุรกิจ เพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
1) นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่มตนเอง
2) ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
1) มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
- สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำนวณภาษี เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลรายงานทางการเงิน โดยการอธิบายวิธีการ แนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ และคำนวณภาษีได้อย่างเหมาะสม
2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
- สามารถนำเสนอรายงานที่ศึกษาค้นคว้า ทั้งในรูปแบบของการเขียนรายงาน และการนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียนโดยวาจาได้อย่างเหมาะสม
3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
- สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูลรายงาน และเทคนิคการนำเสนอรายงานได้อย่างเหมาะสม
1) มอบหมายงานกลุ่ม เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ แบ่งเป็น 6 ธุรกิจ ได้แก่
- ธุรกิจธนาคารและธุรกิจเยี่ยงธนาคาร - ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
- ธุรกิจรับประกันชีวิต - ธุรกิจแฟคเตอร์ริ่ง
- ธุรกิจโรงรับจำนำ - ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์
โดยให้ตัวแทนกลุ่มจับฉลากธุรกิจ เพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
2) โจทย์ปัญหา
1) ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2) ผลจากการแก้โจทย์ปัญหา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3.
1 BACAC136 การภาษีอากร 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การทดสอบก่อนเรียน การทดสอบย่อย สอบกลางภาค การสอบปลายภาค 1, 2-4-11, 8, 17 10% 20% 25% 30%
2 2,3,4,5 รายงาน และ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 3 10%
3 1,2,3,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ทุกสัปดาห์ 5%
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และสิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์,2558
มาตรฐานการบัญชีไทย
พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
ประมวลรัษฎากร 2563
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ประกาศ
ข้อหารือ
รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์
[Online]. Available:http://www.fap.or.th (สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมถ์)
[Online]. Available:http://www.nukbunchee.com (นักบัญชีดอทคอม)
[Online]. Available:http://www.rd.go.th (กรมสรรพากร)
[Online]. Available:http://www.dbd.go.th (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
[Online]. Available:http://www.set.go.th (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นักศึกษายังขาดความเข้าใจในหลักการบัญชีกับหลักการภาษีอากร จึงเน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการบัญชี และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษี
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาให้ทันสมัยหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ