ออกแบบสถาปัตยกรรม 3

Architectural Design 3

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบอาคารสาธารณะขนาดกลาง ประเภทอาคารทางการศึกษา หอสมุด สนามกีฬาและนันทนาการ ในเรื่องการจัดทำรายละเอียดโครงการเบื้องต้น การวิเคราะห์ผู้ใช้, Program, ความต้องการเชิงพื้นที่, Site, กฎหมายที่เกี่ยวข้อง, มาตรฐานการออกแบบ, กระบวนการการออกแบบ, การจัดผัง, รูปแบบ, ที่ว่าง, วัสดุ, รายละเอียดทางสถาปัตยกรรม, เทคโนโลยีประกอบอาคาร และ การนำเสนอแบบขั้นสุดท้าย รวมทั้งคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และการมีส่วนรวมในกิจกรรมการเรียนการสอน
1. คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม   

2. ความรู้
- มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมศาสตร์
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์
- สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษาในสถาปัตยกรรมศาสตร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. ทักษะทางปัญญา
- มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
- มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ

4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม

5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
- สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
6. ทักษะพิสัย
- มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตัวเอง
- มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบอาคารสาธารณะขนาดกลาง ประเภทอาคารทางการศึกษา หอสมุด สนามกีฬาและนันทนาการ จัดทำกระบวนการออกแบบ โดยกำหนดองค์ประกอบโครงการ ขนาดพื้นที่ สำรวจและวิเคราะห์ที่ตั้งกำหนดแนวความคิดและทำการออกแบบสถาปัตยกรรมและผังบริเวณที่ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ และการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คำนึงถึงระบบโครงสร้าง งานระบบอาคาร และข้อกำหนดอาคารที่เกี่ยวข้อง 
 2 ชั่วโมง โดยระบุวัน เวลา ด้วยการแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน โดยเสนอให้อาจารย์ทุกท่านสร้างกลุ่ม Social Network เพื่อใช้ติดต่อกับนักศึกษา, แจ้งเกรดระหว่างการเรียน, และติดต่อเพื่อปรึกษานอกเวลา
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม   
- เน้นย้ำความสำคัญของการตรงต่อเวลา จัดตารางการเข้าพบ และการขึ้นนำเสนอตามลำดับชัดเจน รวมถึงการออกข้อตกลงในชั้นเรียนเรื่องการตรงต่อเวลาและการเสียสิทธิ์เมื่อไม่ส่งงานตรงเวลา
- ไม่มีการประนีประนอมต่อรอง ในการส่งงานไม่ตรงเวลา เพื่อพัฒนาเป็น Soft Skill 
- เช็คชื่อส่งงาน ในรูปแบบออนไลน์
- มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมศาสตร์
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์
- สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษาในสถาปัตยกรรมศาสตร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- จัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ โดยใช้หลักการทางทฤษฎีและฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเครื่องมือต่างๆ ผ่านการสอนออนไลน์ platform facebook เช่น การใช้สื่อวิดิโอ 
- จัดการเรียนการสอนโดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- กำหนดโจทย์และเงื่อนไขที่สอดคล้องกับรูปแบบบูรณาการรายวิชาที่เกี่ยวเนื่องรวมทั้งพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของบริบทต่างๆ
- การสอบด้วยการขึ้นนำเสนอผลงานขั้นสุดท้าย (Project Design) ผ่านการนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ platform facebook เช่น การอัดเป็นวิดิโอ Presentation
- ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานออกแบบของนักศึกษา
- มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
- มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
- ใช้กิจกรรมการสอนการบริการวิชาการและการวิจัยที่บูรณาการกัน และปฎิบัติงานในสภาพปัญหาจริง ช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างนักศึกษา นักศึกษาและอาจารย์ และนักศึกษา อาจารย์กับชุมชนและสังคม ผ่านการสอนออนไลน์ platform facebook เช่น การใช้สื่อวิดิโอ 
- ใช้การจัดการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น หลากหลายเพื่อสร้างทักษะทางปัญญา
- ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการนำเสนอผลงานการปฎิบัติของนักศึกษา
- สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
- การจัดการเรียนการสอนและการทำงานปฎิบัติกลุ่ม
- การอภิปรายกลุ่มเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำเสนอแนวความคิดตนเองแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน เป็นการประเมินรายบุคคลของแต่ละกลุ่ม และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
- สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
- สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
- การจัดการเรียนการสอนรายวิชาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อฝึกปฎิบัติวิชาชีพ 
- ฝึกทักษะเทคนิคการสื่อสารในการนำเสนอผลงานปฎิบัติและเลือกใช้เทคนิคที่มีประสิทธิภาพและหลากหลาย
- ประเมินจากทักษะการเลือกและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอผลงาน
- มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตัวเอง
- มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
- ให้อิสระในการเลือกวิธีการทำงาน การปฏิบัติการ อย่างสมเหตุผล
- ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการนำเสนอผลงานการปฎิบัติของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักรู้ในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และ สิ่งแวดล้อม 1. มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ 2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ 3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษาในสถาปัตยกรรมศาสตร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 1. มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2. มีภาวะความเป็นผู้และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 2. มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 3. มีีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BARAT103 ออกแบบสถาปัตยกรรม 3
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม - เช็คชื่อส่งงาน ตรวจงาน ในรูปแบบออนไลน์ ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 ความรู้ - การสอบด้วยการขึ้นนำเสนอผลงานขั้นสุดท้าย (Project Design) ผ่านการนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ platform facebook เช่น การอัดเป็นวิดิโอ Presentation - ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานออกแบบของนักศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 25%
3 ทักษะทางปัญญา - ใช้กิจกรรมการสอนการบริการวิชาการและการวิจัยที่บูรณาการกัน และปฎิบัติงานในสภาพปัญหาจริง ช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างนักศึกษา นักศึกษาและอาจารย์ และนักศึกษา อาจารย์กับชุมชนและสังคม ผ่านการสอนออนไลน์ platform facebook เช่น การใช้สื่อวิดิโอ - ใช้การจัดการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น หลากหลายเพื่อสร้างทักษะทางปัญญา ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน เป็นการประเมินรายบุคคลของแต่ละกลุ่ม และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - ประเมินจากทักษะการเลือกและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 5%
6 ด้านทักษะพิสัย - ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการนำเสนอผลงานการปฎิบัติของนักศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 20%
ไม่มี
- พัฒนาการอาคารทางการศึกษา (Slide)
- พัฒนาการอาคารนันทนาการ (Slide)
- อาคารการศึกษารูปแบบใหม่ หลังโควิด (Slide)
ไม่มี
1. การสอบถามนักศึกษาถึงข้อดีข้อเสียของรายวิชา เพื่อปรับปรุงในการสรุปการเรียนการสอนช่วงสอบปลายภาคและการสอบปลายภาค
2. นักศึกษาทำแบบประเมินความพึงพอใจผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
1. การประชุมอาจารย์ผู้สอนก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อสรุปวิธีการ เกณฑ์ และเครื่องมือในการเรียนการสอน
2. การประชุมอาจารย์ผู้สอนระหว่างการเรียนการสอนทุกเดือนเพื่อรายงานความก้าวหน้าและอภิปราย วิธีการ / เกณฑ์ / เครื่องมือในการประเมินในการตรวจแบบร่างและการตรวจผลงานขั้นสุดท้าย
3. การประชุมอาจารย์ผู้สอน หลัง การเรียน การสอน เพื่อประเมิน วิธีการ เกณฑ์ และเครื่องมือในการเรียนการสอน
1. ข้อมูลจากการประเมินความพึงพอใจผู้สอนของนักศึกษา
2. ข้อเสนอแนะของนักศึกษาหลังจากการเรียนการสอน
3. ข้อเสนอ การประชุมอาจารย์ผู้สอนก่อน ระหว่าง และ หลังการเรียนการสอน
1. อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
2. มีการแจ้งคะแนน แก่ นักศึกษา ระหว่างการเรียนเพื่อให้นักศึกษาสามารถปรับปรุงตนเองระหว่างเรียน
เป็นวิชาใหม่ที่เพิ่งเปิดสอน ยังไม่มีการดำเนินการเพื่อทบทวนและปรับปรุงรายวิชา