ทักษะวิชาชีพทางการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

Professional Skill in Printing and Packaging

เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะวิชาชีพทางการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สามารถปฏิบัติงานตั้งแต่การวางแผน การผลิต การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์อย่างเป็นระบบ
ทดสอบปฏิบัติเกี่ยวกับ การวางแผน กระบวนการผลิต การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์อย่างเป็นระบบ
1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เห็นคุณค่าในตนเอง ตระหนักถึงการแสดงออกทั้งด้านความคิดและพฤติกรรมในห้องเรียน ทั้งต่ออาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียน
1.2.2 สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านการออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เช่น การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ การผลิตผลงานที่คำนึงถึงคุณภาพ สอดคล้องกับต้นทุนการผลิต เป็นต้น
1.2.3 สอนให้นักศึกษาเห็นความสำคัญ  เห็นถึงข้อดี ข้อเสีย เรื่องระเบียบวินัยในตนเอง ฝึกให้รู้หน้าที่ และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง กลุ่มเพื่อน สังคม และสิ่งแวดล้อม 
1.3.1 ประเมินจากแผนการสอน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในสถานการณ์ต่างๆ เมื่ออยู่ในห้องเรียน และนอกห้องเรียน (กรณีการฝึกปฏิบัตินอกเวลาเรียน)
1.3.2 ประเมินจากผลการดำเนินงาน ทั้งงานเดี่ยว และงานกลุ่ม ตามแผนการสอนที่วางไว้ในแต่ละสัปดาห์
1.3.3 ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกของนักศึกษาแต่ละคน ทั้งต่อหน้าอาจารย์ เพื่อนร่วมห้อง 
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 ใช้วิธีการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นให้นักศึกษาทบทวนความรู้ภาคทฤษฎี และหลักการตามมาตรฐานวิชาชีพที่ถูกต้อง เพื่อประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2.2 มอบหมายให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลด้านเทคโนโลยีการผลิตสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้เป็นเทคนิคการปฏิบัติงาน หรือสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถประยุกต์เทคโนโลยีได้
2.2.3 เชิญผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีประสบการณ์ในการผลิตสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์มาให้คำแนะนำเรื่องการสร้างสรรค์ผลงาน และความเป็นไปได้ในการผลิต ตลอดจนมอบหมายให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเอง เช่น การศึกษาดูงานในสถานประกอบการ หรือการศึกษาจากสื่ออินเตอร์เน็ต
2.3.1 ประเมินจากการทดสอบภาคปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานวิชาชีพ โดยกำหนดโจทย์ให้นักศึกษาปฏิบัติงานตามกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
2.3.2 ประเมินจากการมอบหมายงานในชั้นเรียน และการบ้าน โดยเน้นการแสวงหาความรู้ภาคทฤษฎี และฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยวิธีการรูปแบบต่างๆ 
2.3.3 ประเมินจากรายงานสรุปการสอบปฏิบัติงานในขั้นตอนการผลิตสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ 
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.5 ประเมินจากผลงาน ตามโจทย์กำหนด
 
 
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 มอบหมายงานให้สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปข้อมูล เพื่อนำมาเป็นแนวทางการออกแบบสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ตามโจทย์กำหนด
3.2.2 ให้นักศึกษานำเสนอแนวคิดในการออกแบบ และกระบวนการผลิต ตั้งแต่การวางแผน จนผลิตเป็นผลงานสำเร็จ แบบรายเดี่ยว
3.2.3 ให้นักศึกษารายงานผลการดำเนินงาน โดยสามารถสรุปผลการปฏิบัติงานทั้งหมด และสามารถวิเคราะห์แนวทางแก้ไขและพัฒนาผลงานให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้นได้
3.3.1 ประเมินผลจากการรวบรวมข้อมูลที่กำหนดเป็นแนวทางการออกแบบและผลิตผลงานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
3.3.2 ประเมินผลจากแนวทางการออกแบบและการผลิต ที่มีความถูกต้องตามหลักการ และผลิตได้
3.3.3 ประเมินผลจากทักษะปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยกำหนดเกณฑ์ประเมินผลที่อ้างอิงจากเกณฑ์มาตรฐานทักษะวิชาชีพด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
3.3.3 ประเมินผลจากการนำเสนอผลงานสำเร็จ การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในกระบวนการผลิตทั้งหมด การวิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไข และการพัฒนาผลงานได้
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 สอดแทรกเรื่องการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคมที่ดี
4.2.2 มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม 
4.2.3 การเคารพสิทธิผู้อื่น และการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับผู้อื่นหรือบุคคลภายนอก
4.2.4 การแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่นบนหลักการที่ถูกต้อง และให้เกียรติซึ่งกันและกัน
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกต่อหน้าอาจารย์  เพื่อน ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
4.3.2 ประเมินการแสดงออกในการนำเสนองาน ทั้งแบบเดี่ยว และผลงานกลุ่ม
4.3.3 ประเมินจากพฤติกรรมการแสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริง เพื่อฝึกนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
5.2.2 ฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยี หรือการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้า สืบค้นงาน และประมวลผลได้
5.2.3 การใช้ตัวเลขหรือสถิติ เพื่อจัดการข้อมูลที่สืบค้นอย่างเป็นระบบ
5.2.4 การนำเสนอผลงาน โดยใช้เทคนิคการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร
 
5.3.1 ประเมินจากการแก้ปัญหาของนักศึกษาในสถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์เสมือนจริง
5.3.2 ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข ในการรวบรวมข้อมูล
5.3.3 ประเมินจากการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับสถานการณ์จำลอง
5.3.4 ประเมินจากการอธิบายผลของตัวเลข หรือการนำเสนอผลของการรวบรวมข้อมูลให้เข้าใจง่าย และถูกต้อง 
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
6.2.1 ให้นักศึกษาคัดลอกแบบ จากภาพตัวอย่างผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ตัวอย่างงานจริง ภาพตัวอย่างสินค้าจากอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
6.2.2 ให้นักศึกษาใช้วิธีทำตามแบบ และทำการประเมิน วิเคราะห์ก่อน เพื่อกำหนดเป็นแนวคิดการออกแบบลงในใบงาน โดยพิจารณาความเป็นไปได้ในการผลิตตามที่โจทย์กำหนด
6.2.3 ให้นักศึกษาสร้างสรรค์พัฒนางานสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ขึ้นใหม่ตามโจทย์กำหนด และมีแนวทางการปฏิบัติงานทั้งกระบวนการผลิตได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.3.1 ประเมินวิธีคิดของนักศึกษา ตั้งแต่การวางแผนงาน การออกแบบ กระบวนการผลิต การตรวจสอบประเมินคุณภาพงาน
6.3.2 ประเมินตามสภาพจริงของการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนแบบรายเดี่ยว
6.3.3 ประเมินจากผลงาน โดยมีเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานวิชาชีพ หรือตามเกณฑ์ประเมินประสิทธิผล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารฯ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BTEPP126 ทักษะวิชาชีพทางการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.3, 2.1, 3.1, 4.1 ทดสอบทักษะการกำหนดแนวทางการออกแบบและการผลิต ตั้งแต่กระบวนการวางแผนงาน การออกแบบสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ การผลิต และการควบคุมคุณภาพ 2,4,4.1-4.2,5,5.1-5.2,6,6.1-6.2,7,7.1-7.3 60%
2 3,8-9 นำเสนอแนวคิดการออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ การรายงานผลงานสำเร็จ การจัดแสดงผลงาน และผลงานสำเร็จ 5-6,15-17 35%
3 1.1,2.1,3-7,8,9 การเข้าชั้นเรียน การส่งงานตรงเวลา ความเอาใจใส่ ความรับผิดชอบ ตลอดภาคการศึกษา 5%
    -  การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์  Printed Media ,สุรสิทธิ์  วิทยารัฐ :2549     -  การออกแบบหนังสือพิมพ์และนิตยสาร, คนึง  เพชรสมัย :2541     -  เอกสารการสอนชุดวิชา เทคโนโลยีก่อนพิมพ์ หน่วยที่ 1-7 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช           -  เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการพิมพ์  หน่วยที่ 5-10  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช     -  เอกสารการสอนชุดวิชา การออกแบบทางการพิมพ์ หน่วยที่ 1-7 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช     -  เอกสารการสอนชุดวิชา การออกแบบทางการพิมพ์ หน่วยที่ 8-15 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช     -  เอกสารการสอนชุดวิชาเทคนิคหลังพิมพ์ หน่วยที่ 1-7  โดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
 
https://tpqi-net.tpqi.go.th/tpqi_sa/index.php?page=ShowUOC.php&UocId=1175&OCC=PRT
https://www.tpqi.go.th/standard.php
http://tpqi-net.tpqi.go.th/home/occ/industrialInfo/PRT
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1   การปรับเนื้อหาและเทคนิคการสอน 3.2   การกำหนดโจทย์ในการฝึกปฏิบัติ 3.2   การนำเกณฑ์การวัดผลสมรรถนะวิชาชีพมาปรับใช้ในการวัดผลภาคปฏิบัติ
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 4.2   มีการตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมโดยคณะกรรมการในสาขาวิชา 
5.1   ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน ให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์รายวิชา   5.2   พิจารณาการนำเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์ในแต่ละด้านมาใช้ในการวัดผลการสอบทักษะ 5.3   ปรับปรุงรายวิชาทุก  1 ปี หรือตามข้อเสนอแนะ 5.4   ปรับกระบวนการสอบวัดผล เพื่อให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ 5.5  เปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้มีแนวทางการสอน หรือ สอบ ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง