การบัญชีชั้นต้น

Introduction to Accounting

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการบัญชี วัตถุประสงค์วิวัฒนาการของการบัญชี ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงิน วงจรการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการจัดทำบัญชีและงบการเงินสำหรับกิจการให้บริการและกิจการซื้อขายสินค้า การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะ การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท การปรับปรุงและปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการตลอดจนการจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการและกิจการซื้อขายสินค้า การบัญชีส่วนของเจ้าของ การบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม
2.1 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการจัดทำบัญชี การจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมาย
2.2 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี
ศึกษาและปฏิบัติความหมาย วัตถุประสงค์วิวัฒนาการของการบัญชี และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงิน วงจรการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะ การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท การปรับปรุงและปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการตลอดจนการจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการและกิจการซื้อขายสินค้า การบัญชีส่วนของเจ้าของ การบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1) มีความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยและสังคม
3) สามารถบริหารเวลา ปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม และปฏิบัติตามข้อตกลงการเรียนได้
4) มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1) กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการเข้าเรียน การแต่งกาย การส่งงานหรือแบบฝึกหัดตามเวลาที่กำหนด
2) บรรยายสอดแทรกในเนื้อหาวิชา ในระหว่างทำการสอน เกี่ยวกับจรรยาบรรณของนักบัญชี และความสำคัญของการรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพ พร้อมยกตัวอย่าง
1) ติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ตลอดภาคการศึกษา ให้คะแนน 10%
2) สังเกตพฤติกรรมในการเข้าเรียน การส่งแบบฝึกหัด หรืองานที่มอบหมาย
3) ประเมินจากการทุจริตในการสอบ
4) ประเมินผลจากการสอบ โดยทดสอบความรู้และความเข้าใจหลักการจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
๒.๑ ความรู้ที่จะได้รับ
1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
4) สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1) การบรรยายและฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัด กรณีศึกษา ถาม-ตอบ ในชั้นเรียน
2) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารทางการบัญชีจากสื่อต่างๆ ด้วยตนเอง และนำมาบันทึกบัญชีตามวงจรการบัญชี รวมทั้ง ถาม-ตอบในชั้นเรียน
1) จากการทำแบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษา และงานที่มอบหมายให้ทำ
2) การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
๓.๑ ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
1) สามารถสืบค้น ประมวลข้อมูล หลักฐาน แนวคิดต่างๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตนเอง
2) สามารถประยุกต์ ความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3) สามารถติดตาม ประเมินผล และสรุปรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
๓.๒ วิธีการสอน
1) ทำแบบฝึกหัดโดยใช้โจทย์ปัญหาค่อนข้างซับซ้อน
2) การอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับกรณีศึกษาและนำเสนอ
3) มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
1) ผลงานกลุ่ม
2) การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ วัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
3) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน
4) มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1) มอบหมายให้วิเคราะห์กรณีศึกษาเป็นกลุ่ม
2) มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
1) ประเมินผลจากกรณีศึกษา / ผลงานกลุ่ม
2) ให้นักศึกษาประเมินตนเองและสมาชิกในกลุ่ม
1) มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปล ความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และ สื่อสารสารสนเทศ ได้
1) จัดกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา
2) มอบหมายกรณีศึกษาให้วิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์จากกรณีศึกษาในห้องเรียน
1) การนำเสนองานกลุ่มหน้าชั้นเรียน
2) การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC110 การบัญชีชั้นต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2,3,5 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 8 17 25 % 25 %
2 3,4,5 ทดสอบย่อย/งานกลุ่ม 3,4,5,7,11,13,15 40 %
3 1,2,3,4,5 สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถามในห้องเรียน ผลงานกลุ่ม การวิเคราะห์ปัญหาหน้าชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10 %
น้ำฝน คงสกุล. (2561). การบัญชีชั้นต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด
รุจาภา  สุกใส . เอกสารประกอบการสอนวิชาการบัญชีชั้นต้น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก .2564 
 
 
มาตรฐานการบัญชี (ปรับปรุง 2560) ทุกฉบับที่เกี่ยวข้อง
กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง 2558)
พระราชบัญญัติการบัญชี 2543
จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2553
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พ.ศ. 2559
www.fap.or.th
ใช้แบบประเมินผลอาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา
ประเมินการสอนจากผลการสอบของนักศึกษา และจากการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา
ปรับปรุงจุดบกพร่องในการสอนตามผลการประเมินของนักศึกษา
ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบและการวิเคราะห์ปัญหา การทำกรณีศึกษา
ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษาให้เป็นไปตาม Curiculum Mapping
ตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา
ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤิทธิ์
นำผลการประเมินข้อ 1 ข้อ 3 ข้อ 4 มาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา เรื่อง ผู้สอน ตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนเพื่อปรับปรุงเนื้อหา และการออกข้อสอบ