อนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชน

Conservation of Urban and Architecture

เข้าใจประวัติ ความหมาย และแนวคิดของการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชน เข้าใจหลักการ ประเภท และวิธีการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชนในรูปแบบและเทคนิคต่างๆ มีความรู้และทักษะในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชน มีเจตคติที่ดีต่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชนอันเป็นมรดกสำคัญของชาติ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชน มีเจตคติที่ดีต่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชนอันเป็นมรดกที่สำคัญของชาติ สามารถนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ในด้านเทคนิคและวิธีการอนุรักษ์ในรูปแบบใหม่ได้
ศึกษาความหมาย ขอบเขต และความสำคัญของการอนุรักษ์ชุมชน สถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อม หลักการและแนวความคิดในการอนุรักษ์ กระบวนการ วิธีการ และเทคนิคการวางแผนอนุรักษ์ กฎบัตรและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฝึกปฏิบัติการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชนขนาดเล็ก
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เ
สอดแทรกระหว่างการเรียนการสอนทุกครั้ง ตรวจสอบการเข้าชั้นเรียน แสดงความคิดเห็นเรื่องความมีวินัย  ตรงต่อเวลา มอบหมายงานให้รับผิดชอบเป็นกลุ่มให้ช่วยเหลือกัน
ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย ตลอดจนการร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย ของคณะ และกิจกรรมนักศึกษา ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฎิบัติในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์
3. สามารบูรณาการความรู้ที่ศึกษาในสถาปัตยกรรมศาสตร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การบรรยายประกอบสื่อผสมโดยอาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก และผู้ปฏิบัติงานอนุรักษ์ การนำเสนอรายงานการค้นคว้า
ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค จากรายงาน การแสดงความคิดเห็นและการอภิปรายในห้องเรียน
1. มีทักษะการปฎิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การบรรยายประกอบสื่อผสม การมอบหมายงานกลุ่มและนำเสนอแนวคิดวิเคราะห์ การสะท้อนแนวคิดทางปรัชญาจากการอภิปรายกลุ่ม
ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค รายงาน การแสดงความคิดเห็นและการอภิปรายในห้องเรียน
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถนำความรู้ในศาสตร์ช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
มอบหมายงานกลุ่ม การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย และการสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยาย ให้คำแนะนำ และอภิปราย นำเสนองานปฏิบัติโดยใช้ภาษาและรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
ประเมินจากการใช้ภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองาน
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARAT507 อนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน ตรงต่อเวลา ตลอดภาคการศึกษา 5%
2 ความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9, 17 60%
3 ทักษะทางปัญญา ผลงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 15%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมอภิปรายในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอผลงานที่มอบหมาย สัปดาห์ที่ 16 5%
6 ทักษะพิสัย การนำเนื้อหาจากบทเรียนมาใช้อภิปราย และในงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
1) สุพล ปวราจารย์ (รวบรวม), ทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติ การอนุรักษ์อนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี, เอกสารประกอบการสอนวิชาเทคนิคการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย คณะวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, เชียงใหม่ 2) สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, คู่มือการดูแลรักษาโบราณสถาน, กรุงเทพฯ, 2546. 3) รศ.สิทธิพร ภิรมย์รื่น, การอนุรักษ์ชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม : แนวคิด หลักการ และผลการปฏิบัติ, วารสารหน้าจั่ว ฉบับที่ 20 ประจำปีการศึกษา 2546 - 2547, กรุงเทพฯ, 2547. 4) รศ.กำธร กุลชล, การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบนถนนราชดำเนินกลาง: ประสบการณ์จากภาคปฏิบัติ, วารสารหน้าจั่ว ฉบับที่ 15 ประจำปีการศึกษา 2540, กรุงเทพฯ, 2540. 5) ผศ.สมชาติ จึงสิริอารักษ์, การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม, เอกสารประกอบการสอนวิชาอนุรักษ์สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ 6) อ.สุนนท์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, 70 ปีแห่งการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรม(ไทย), วารสาร"หน้าจั่ว" วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับที่ 12 ประจำปี 2536-2537, กรุงเทพฯ, 2537. 7) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ, แนวคิดและการปฏิบัติ การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในประเทศไทย, กรุงเทพฯ, 8) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ, การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมและชุมชน, กรุงเทพฯ, 2552. 9) รองศาสตราจารย์ประสงค์ เอี่ยมอนันต์, การอนุรักษ์โบราณสถานของชาติ, เอกสารประกอบการบรรยาย โครงการเพิ่มพูนศักยภาพของท้องถิ่นด้านธุรกิจการท่องเที่ยว, กรุงเทพฯ, 2544. 10) สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี และคณะ, แผนที่มรดกทางวัฒนธรรมอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่, เชียงใหม่, 2557.
http://blog.rmutl.ac.th/suebpong
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่สาขาฯ ได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1) การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2) ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3) การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1) สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2) การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา จากการสอบถามนักศึกษา การสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมดังนี้ 4.1) การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2) การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาจาก ข้อสอบ รายงาน และวิธีการให้คะแนน
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนดังนี้ 5.1) ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2) เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ 5.3) ปรับกลยุทธ์การสอน เพิ่มการศึกษาดูงาน และส่งเสริมการประกวดแบบ