การหล่อและการเชื่อมโลหะ

Foundry and Welding

รายวิชาวิศวกรรมการหล่อโลหะมีจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ดังนี้
1) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์งานหล่อโลหะ
          2) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำกระสวน
          3) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำแบบหล่อ
          4) เพื่อให้ผู้เรียนพิจารณาเลือกการหลอมโลหะ
          5) เพื่อให้ผู้เรียนตรวจสอบการป้องกันและแก้ไขจุดบกพร่องของชิ้นงานหล่อโลหะ
          6) เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติเกี่ยวกับการหลอมโลหะนอกกลุ่มเหล็ก
          7) เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะปฏิบัติการทดลองทางวิศวกรรมการหล่อโลหะ
          8) เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่องานทางด้านวิศวกรรมการหล่อโลหะ
เพื่อให้นักศึกษาได้มีองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมการหล่อโลหะที่เป็นกระบวนการ โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาผ่านกลวิธีการสอน มีการวางระบบการประเมินผลการเรียนรู้ และการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับการพัฒนามาตรฐานผลการเรียนรู้ครบทั้ง 6 ด้านตามกรอบของ TQF คือด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านทักษะพิสัย ตลอดจนการเพิ่มเนื้อหารายวิชาให้มีความทันสมัย ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับวิศวกรรมการหล่อโลหะ เช่น การแข็งตัวของโลหะ การออกแบบระบบป้อนจ่ายน้ำโลหะ โครงสร้างของโลหะชนิดต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมบัติในการใช้งานทางวิศวกรรม   ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้นักศึกษาสามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงเมื่อทำการศึกษาครบตามเนื้อหาสาระที่ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์งานหล่อโลหะ การทำกระสวน การทำแบบหล่อ การหลอมโลหะ การป้องกันและแก้ไขจุดบกพร่องของชิ้นงานหล่อโลหะ งานเชื่อมแก๊สและงานเชื่อมไฟฟ้าเบื้องต้น เครื่องเชื่อมและอุปกรณ์การเชื่อม ท่าเชื่อม รอยต่อและแนวเชื่อมลักษณะต่าง ๆ งานเชื่อม TIG และ MIG เบื้องต้น ตลอดจนความปลอดภัยในงานหล่อโลหะและงานเชื่อมโลหะ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนาส่งเสริมให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม ส่งเสริมให้นักศึกษามีการพพัฒนาจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพโดยการสอดแทรกจรรยาบรรณวิชาชีพตลอดระยะเวลาในการเรียนการสอน
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมตลอดระเวลาที่ดำเนินการสอน ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา การทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ประเมินจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษา เช่น การทำรายงาน การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ไม่ลอกงานเพื่อน
4. ประเมินผลพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน    และการสอบ เช่น การแต่งกายที่ถูกระเบียบ  การมีสัมมนาคารวะต่อผู้ใหญ่  การทุจริตในการสอบ
5. ประเมินจากการรับฟังคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน
6. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ที่นักศึกษาต้องได้รับในรายวิชาวิศวกรรมการหล่อโลหะครอบคลุมตามจุดมุ่งหมายรายวิชา ประกอบไปด้วย ความปลอดภัยในงานหล่อโลหะ เครื่องมือและอุปกรณ์งานหล่อโลหะ การทำกระสวน การทำแบบหล่อ การหลอมโลหะ การป้องกันและแก้ไขจุดบกพร่องของชิ้นงานหล่อโลหะ  โดยนักศึกษาต้องสามารถบูรณาการความรู้วิชานี้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ เช่น วิชาโลหะวิทยาในงานวิศวกรรม งานอบชุบโลหะ เป็นต้น รวมทั้งต้องมีความรู้เพียงพอในการประยุกต์ในงานจริงได้
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ ประกอบด้วยการบรรยาย  การอภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ
1. ประเมินจากการตอบข้อซักถามการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด
3. ประเมินจากรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4. ประเมินความรู้จากการสอบกลางภาคและสอบปลายภาค
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้เมื่อจบการศึกษา โดยเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองเป็นสำคัญ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ประกอบด้วยการทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ
1. ประเมินจากการตอบข้อซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ประเมินจากแบบฝึกหัด รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ประเมินจากการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค
4. ประเมินจากผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning)
ผลการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบส่งเสริมให้นักศึกษา ได้รับการฝึกประสบการณ์ในการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ เช่น การวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม สภาวะผู้นำและผู้ตาม การทำงานเป็นทีม
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ประกอบด้วยการมอบหมายงานในการทำงานเป็นทีม  การนำเสนอรายงาน การทีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
1. ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายกลุ่ม การตอบข้อซักถาม
3. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4. ประเมินความรับผิดชอบงานกลุ่ม การส่งงานตามเวลา
การช่วยเหลือในการทำงาน
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยการกำหนดกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล การวิเคราะห์เชิงตัวเลข และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเทคนิคเฉพาะทางช่างอุตสาหกรรม
1. ประเมินจากแบบฝึกหัด
2. ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ประเมินทักษะการใช้ภาษาจากเอกสาร การรายงานและงาน
มอบหมาย
4. ประเมินทักษะการใช้สื่อ การใช้ภาษา จากการแสดงความ
คิดเห็น
5. ประเมินจากคุณภาพของข้อมูลที่ใช้ประกอบในรายงาน
6. ประเมินจากงานวิจัยภาษาอังกฤษที่มอบหมายให้สืบค้น โดย
การอ่าน (Reading) แล้วให้เขียน (Writing) สรุปกลุ่มคำสำคัญทำเป็น Mind Map (เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจศัพท์เทคนิคเฉพาะทาง สามารถจัดกลุ่มความเชื่อมโยงของศัพท์เฉพาะทางได้)
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข การใช้เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนการดูและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย กำหนดให้นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติตามใบงานที่กำหนดทั้งหมด 16 ใบงาน ซึ่งครอบคลุมตามเนื้อหาสาระของรายวิชา โดยเน้น Hands-On เป็นสำคัญ นอกเหนือจากผลการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ ตามข้อที่ 1 - 5
-ประเมินจากทักษะการปฏิบัติตามใบงานที่กำหนดแต่ละสัปดาห์
- ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่ สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมแม่พิมพ์ 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วย วิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะ ในสาขาวิชา ของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริง 3.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาด้าน วิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่น ในการปรับ ใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรม หรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้ เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ 3.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลาย และ สามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่ม แสดงประเด็นในการ แก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบ ในการ พัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบ ในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความ ปลอดภัยในการทำงาน และการรักษา สภาพแวดล้อมต่อสังคม 5.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณ และเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1 ENGTD129 การหล่อและการเชื่อมโลหะ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2(หลัก),1.3-1.5 (รอง) ประเมินจาก - การตรงต่อเวลา - ความรับผิดชอบ - การมีวินัย - การเข้าร่วมกิจกรรม - พฤติกรรมที่แสดงออก ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.2(หลัก), 2.1(รอง), 2.3(รอง), 2.5(รอง) 3.3 (หลัก), 3.1-3.2 (รอง), 3.4-3.5(รอง) 5.5(หลัก), 5.2(รอง), 1. ประเมินจาก - รายงานและคุณภาพของข้อมูลที่รายงาน - การนำเสนอ - การอภิปราย - การตอบข้อซักถามและทำแบบฝึกหัด - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - ทักษะการใช้ภาษา - ทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี 2. ประเมินจากการสอบกลางภาค ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 9 10% 20%
3 4.3(รอง), 4.4(รอง) 1. ประเมินจาก - การทำงานเป็นทีม - ความรับผิดชอบงานกลุ่ม ทุกสัปดาห์ 10%
4 6.1(หลัก), 6.2(หลัก) ประเมินจากการปฏิบัติตามใบงานที่กำหนด สัปดาห์ที 1-8 50%
พีรพันธ์  บางพาน.  2534.  คู่มือปฏิบัติงานหล่อโลหะ 1.  เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.
สุภชัย  ประเสริฐสกุล.  ม.ป.ป.  เทคโนโลยีงานหล่อโลหะ.  วิทยาเขตขอนแก่น.
J. T. H. Pearce. และ บัญชา  ธนบุญสมบัติ.  2542.  เทคโนโลยีและโลหะวิทยาของเหล็กหล่อผสม. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
American Society for Metals.  1996.  ASM Handbook Volume 15 : Casting.  6th ed.  Materials Park, Ohio : ASM International.
American Society for Metals.  1995.  ASM Handbook Volume 9 : Metallography and Microstructures.   6th ed.  Materials Park, Ohio : ASM International.
Brown, John R., [editor].  2000.  Foseco Ferrous Foundryman’s Handbook.  Oxford : Butterworth Heinemann.
Davis, J.R., [editor].  1998.  Metals Handbook.  2nd ed.  Ohio : ASM International.
Flinn, Richard A.  1963.  Fundamentals of Metal Casting.  Reading, Massachusetts : Addison - Wesley Publishing Co.
Fredrikson, H. and Hillert, M., [editors].  1985.  The Physical Metallurgy of Cast Iron.  New York : North – Holland.
The American Foundrymen’s Society.  1993.  Ductile Iron Handbook.  Illinois : the American Foundrymen’s Society.
Walton, Charls F., [editor].  1981.  Iron Castings Handbook : Covering data on Gray, Malleable, Ductile, White, Alloy and Compacted Graphite Irons.  n.p. : Iron Castings Society.
มนัส  สถิรจินดา.  2529.  เหล็กกล้า (Steel).  กรุงเทพฯ : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
วีระพันธ์  สิทธิพงศ์.  2532.  โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร 1.  กรุงเทพฯ : นิยมวิทยา.
สุภชัย  ประเสริฐสกุล.  มปป.  โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร 4.  วิทยาเขตขอนแก่น.
เอกสารสัมมนา.  ม,ป,ป.  งานหล่อโลหะ.
Askeland, Donald R. and Webster, P.  1990.  The Science and Engineering of Materials.  2nd ed. London : Chapman & Hall.
Baker, Hugh.  1992.  ASM Handbook Volume 3 : Alloy Phase Diagrams.  Ohio : ASM International.
 

19

Bramfitt, Bruce L. and Benscoter, Arlan O.  2002.  Metallographer’s Guide : Practices and Procedures for Irons and Steels.  Ohio : ASM International.
Japanese Standards Association.  1999.  JIS Handbook : Ferrous Materials & Metallurgy.  Tokyo : Japanese Standards Association.
       http://www.afsinc.org/
       http://www.aluminiumcastings.org/
       http://www.aluminum.org/
       http://www.asminternational.org/
       http://www.castaluminium.org/
       http://www.chaski.org/
       http://www.copper.org/
       http://www.diecasting.org/
       http://www.stainless-steel-world.net/
       http://www.sfsa.org/
       http://www.steel.org/
วีระพันธ์  สิทธิพงศ์.  2532.  โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร 1.  กรุงเทพฯ : นิยมวิทยา.
สุภชัย  ประเสริฐสกุล.  มปป.  โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร 4.  วิทยาเขตขอนแก่น.
เอกสารสัมมนา.  ม,ป,ป.  งานหล่อโลหะ.
Askeland, Donald R. and Webster, P.  1990.  The Science and Engineering of Materials.  2nd ed. London : Chapman & Hall.
Baker, Hugh.  1992.  ASM Handbook Volume 3 : Alloy Phase Diagrams.  Ohio : ASM International.
Bramfitt, Bruce L. and Benscoter, Arlan O.  2002.  Metallographer’s Guide : Practices and Procedures for Irons and Steels.  Ohio : ASM International.
Japanese Standards Association.  1999.  JIS Handbook : Ferrous Materials & Metallurgy.  Tokyo : Japanese Standards Association.
       http://www.afsinc.org/multimedia/MCDP.cfm?navItemNumber=512
       http://www.aluminiumlearning.com/html/index_casting.html
       http://aluminium.matter.org.uk/content/html/eng/default.asp?catid=&pageid=1
       http://www.aluminiumsandcastings.com/casting-stamping-products.html
       http://www.backyardmetalcasting.com/links.html
       http://www.castingnb.com/index.html
       http://www.cwmdiecast.com/
       http://www.copperinfo.co.uk/
       http://www.diecastingindia.net/aluminium-casting-machine-components-.html
       http://www.dongruncasting.com/
 

20

       http://engineershandbook.com/MfgMethods/casting.htm
       http://www.foundry101.com/
       http://www.foundryworld.com/index/
       http://www.lostwaxcasting-china.com/
       http://www.matter.org.uk/steelmatter/
       http://www.mcc.uni.edu/
       http://www.steelalloycastings.com/
       http://www.steel-casting-forging.com/
       http://steellinks.com/pages/
       http://www.steellink.com/
       http://www.thaimetalcasting.com/
       http://thelibraryofmanufacturing.com/index.html
       http://thelibraryofmanufacturing.com/metalcasting_operation.html
       http://www.viridis3d.com/metalcasting.htm
การประเมินประสิทธิผลรายวิชาโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมเพื่อดำเนินการดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 การสะท้อนความคิดของนักศึกษา
                1.3 เปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามผลคะแนนในการทำงานเพื่อเรียนรู้ถึงข้อผิดพลาดจะสามารถนำไปปรับปรุงตนเองและเตรียมพร้อมในการสอบต่อไป
                1.4 ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
                1.5 ให้นักศึกษาประเมินวิธีการสอน การจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนที่ส่งผลกระทบกับการเรียนรู้ของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
                 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
                 2.4 สาขาวิชาตั้งคณะกรรมการประเมินการสอนจากการสังเกตการสอน การสัมภาษณ์นักศึกษา
 
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
3.1 การประชุมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การปรับปรุงรายละเอียดรายวิชา
                 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
                 3.4 ให้ผู้สอนเข้ารับการอบรมกลยุทธ์การสอน การวิเคราะห์ผู้เรียน การวิจัยในชั้นเรียน ในรายวิชาที่มีปัญหาอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมผู้สอนเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไข
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา โดยมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมของวิชาดังนี้
            4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
                 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบวิธีสอน ข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
         5.1  ปรับปรุงประมวลรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
              5.2 ผู้สอนมีการทบทวนการเรียนการสอนทุกครั้งที่ทำการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในครั้งถัดไป และมีการประเมินผลการสอนโดยผู้เรียนเป็นผู้ประเมินทุกภาคการศึกษา       และนำผลที่ได้มาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาในปีการศึกษาถัดไป
              5.3 ขั้นตอนการทบทวนและวางแผนปรับปรุงรายวิชา
                   1) พิจารณาผลประเมินการสอนโดยนักศึกษา
                   2) การทบทวนเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
                   3) เสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชาเสนอต่อประธานหลักสูตร
                   4) เสนอหัวหน้าสาขาและกรรมการคณะเพื่อวางแผนในการปรับปรุงปีการศึกษาต่อไป