การเขียนเชิงวิชาการ

Academic Writing

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเขียนระดับความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการประเภทต่างๆ โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ อ้างอิง และเผยแพร่ผลงานในรูปแบบงานเขียนผ่านสื่อต่างๆ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับกระบวนการเขียนความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการประเภทต่าง ๆ โดยใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาการเขียนระดับความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการประเภทต่างๆ โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเผยแพร่ผลงานในรูปแบบงานเขียนผ่านสื่อต่าง
          อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่

ความมีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ

1.1.2 ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
          1.2.1    ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณของการอ้างอิงข้อมูลวิชาการในเนื้อหาของบทเรียน
          1.2.2    ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
          1.2.3    กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.1    การทดสอบความเข้าใจในการสอบกลางภาคและปลายภาค
          1.3.2    การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
          1.3.3    การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา
          2.1.1    ทางทฤษฎี เน้นความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการเขียนความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการ กระบวนการเขียนความเรียง การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
          2.1.2    ทางปฏิบัติ เน้นการฝึกเขียนความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีการบูรณาการความรู้กับศาสตร์ต่างๆ อย่างเหมาะสม
          2.1.3    การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ค้นคว้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
          2.2.1    ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
          2.2.2    ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
          2.2.3    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงเชิงวิชาการทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.1    การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
          2.3.2    การฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงเชิงวิชาการทั้งในและนอกชั้นเรียน
          2.3.3    ผลงานจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการนำความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการเขียนความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการ อย่างเป็นระบบ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1    ให้นักศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ และอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
          3.2.2    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ
          3.2.3    ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายนอกชั้นเรียน
3.3.1    การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
          3.3.2    การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
          3.3.3    การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม โดยการช่วยกันค้นคว้าหาคำตอบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และช่วยกันระดมสมองในการฝึกการแปลงานเขียนประเภทต่างๆ
4.3.1    ให้นักศึกษาประเมินกันเองในกิจกรรมกลุ่ม
          4.3.2    ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม
          4.3.3    สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้าหาข้อมูลมาใช้ในการเขียนเชิงวิชาการอย่างเหมาะสม
กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล และใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเขียนเชิงวิชาการ
ประเมินจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล