ฟิสิกส์มูลฐานสำหรับวิศวกร

Fundamental of Physics for Engineers

1. เข้าใจเรื่องเวกเตอร์ แรง การเคลื่อนที่แบบต่างๆ โมเมนตัมและพลังงาน วัตถุแข็งเกร็ง สมบัติเชิงกลของสารและกลศาสตร์ของไหล
2. เข้าใจเรื่องความร้อนและอุณหพลศาสตร์เบื้องต้นเบื้องต้น  
3. มีทักษะในการแก้ปัญหาโจทย์ทางวิทยาศาสตร์
4. ประยุกต์วิชาฟิสิกส์มูลฐาน สำหรับวิศวกรกับชีวิตประจำวัน วิชาชีพหรือเทคโนโลยีใหม่ๆได้
5. มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์โดยใช้ความรู้ทางฟิสิกส์
1. ปลูกฝังการคิดอย่างมีระบบและมีเหตุผล
2. ส่งเสริมความให้มีความรู้ไปใช้ในวิชาชีพและเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับสูงต่อไป
3. สามารถนำความรู้ไปใช้ในวิชาชีพและเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับสูงต่อไป
4. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ หน่วยทางฟิสิกส์ ปริมาณสเกลาร์ ปริมาณเวกเตอร์ การเคลื่อนที่ของวัตถุ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน งาน พลังงาน กำลัง โมเมนตัมและการชน การเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งเกร็ง คุณสมบัติของของไหล หลักการเบื้องต้นของอุณหพลศาสตร์ Study and Practice of fundamental physics, physics units, scalars and vectors, motion of objects, Newton’s laws of motion, work, energy, power, momentum and collision, rigid body motion, properties of fluid, basic concepts of thermodynamics.
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
(1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
(3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
(4) เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(1) ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานในเวลาที่กำหนด
(2) กำหนดข้อตกลงร่วมกันในการวัดผลระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
(1) การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
(2) ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
(3) ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
(4) ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
(1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
(2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
(3) สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(4) การทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลใน
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่
1. การสอนฝึกปฏิบัติการ  2. การเรียนแบบค้นพบ   (Discovery Learning) 3. การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving) 4. การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning)  5. การเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด (Concept Mapping)
(1) การทดสอบย่อย
(2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(3) รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
(4) งานที่ได้มอบหมาย
(5) การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
(6) แฟ้มสะสมผลงาน
(1) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
(2)   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่
1. การสอนฝึกปฏิบัติการ  2. การเรียนแบบค้นพบ   (Discovery Learning) 3. การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving) 4. การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning)  5. การเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด (Concept Mapping)
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น

บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
(1) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
(2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
(3) สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
(4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
(1) ดำเนินการสอนโดยการกำหนดกิจกรรมกลุ่ม
(2) การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น
(3) ค้นคว้าหาข้อมูล
สังเกตพฤติกรรม ดังนี้
(1)  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
(2)  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
(3)  สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี
(4)  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(5)  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
(6)  มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย  และสามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
(1) เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
(2) สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
(3) ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
     (1) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
     (2) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
     (3) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
     (4) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
     (1) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
     (2) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
      (3) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
     (4) จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
     (1)  สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง      (2)  สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ      (3)  สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
     (1) การสอนฝึกปฏิบัติการ       (2) การเรียนแบบค้นพบ   (Discovery Learning)      (3) การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving)      (4)  การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning)       (5) การเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด (Concept Mapping)
     (1) งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง      (2) การสังเกต      (3) ข้อสอบอัตนัย      (4) แบบทดสอบวัดด้านการปฏิบัติการ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 FUNSC115 ฟิสิกส์มูลฐานสำหรับวิศวกร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีความรู้เข้าใจความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ หน่วยทางฟิสิกส์ ปริมาณสเกลาร์ ปริมาณเวกเตอร์ การเคลื่อนที่ของวัตถุ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน สอบข้อเขียน (ครั้งที่ 1) : วัดความเข้าใจ 50 % และวัดการคำนวณ 50% 5 20
2 งาน พลังงาน กำลัง โมเมนตัมและการชน สอบข้อเขียน (ครั้งที่ 2) : วัดความเข้าใจ 50 % และวัดการคำนวณ 50% 9 15
3 การเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งเกร็ง สอบข้อเขียน (ครั้งที่ 3 ) : วัดความเข้าใจ 50 % และวัดการคำนวณ 50% 12 10
4 มีความรู้เข้าใจในคุณสมบัติของของไหล หลักการเบื้องต้นของอุณหพลศาสตร์ สอบข้อเขียน (ครั้งที่ 4 ปลายภาค) : วัดความเข้าใจ 50 % และวัดการคำนวณ 50% 18 20
5 สามารถบูรณาการรายวิชาและประยุกต์ฟิสิกส์มูลฐาน สำหรับวิศวกร ได้ สืบค้น นำเสนอ อภิปลายกลุ่ม หลักการประยุกต์ต์ฟิสิกส์มูลฐาน สำหรับวิศวกร 1-18 5
6 - มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติการทดลองฟิสิกส์มูลฐานสำหรับวิศวกร - สามารถเชื่อมโยงภาคทฤษฎีและปฏิบัติการทดลองฟิสิกส์มูลฐานสำหรับวิศวกรได้ - เข้าปฏิบัติการทดลองฟิสิกส์มูลฐานสำหรับวิศวกร - ทดสอบความรู้เข้าใจในการทดลอง 1-18 20
7 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย เอาใจใส่ใฝ่หาความรู้อย่างสม่ำเสมอ มีความสามัคคี ซื่อสัตย์สุจริต - การเข้าชั้นเรียนและการเข้าปฏิบัติการทดลอง - ส่งงานตรงเวลา - สังเกตพฤติกรรมการเรียนรายบุคคล 1-18 10
เอกสารการสอน PHYSICS 1 FOR ENGINEERS ฟิสิกส์ 1 สำหรับวิศวกร  -  William P. Crummett and Arthur B. Western, University Physics Models and Applications, (USA: Wm. C. Brown Communications, Inc.), 1994 - John W. Jewett, Jr. and Raymond A. Serway, Physics for Scientists and Engineers with Modern Physics, (Canada: Nelson Education, Ltd.), 2010
-  William P. Crummett and Arthur B. Western, University Physics Models and Applications, (USA: Wm. C. Brown Communications, Inc.), 1994 - John W. Jewett, Jr. and Raymond A. Serway, Physics for Scientists and Engineers with Modern Physics, (Canada: Nelson Education, Ltd.), 2010
การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีการยอมรับในระดับโลกและมีชื่อเสียงมาประกอบการสอน
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ผ่านแบบประเมินการเรียนการสอนฯ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยภาควิชา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
แผนกวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา มีการประชุมอาจารย์ในแผนกวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน
สาขามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของแผนกวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าแผนกวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป