สถิติวิศวกรรม

Engineering Statistics

ศึกษาและทบทวนความรู้พื้นฐานด้านสถิติวิศวกรรม เช่น ทฤษฏีความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม การสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าสถิติ เข้าใจวิธีการตัดสินใจแบบมีการทดลองและไม่มีการทดลอง รู้วิธีการทดสอบสมมติฐานแบบพาราเมตริกและแบบนอนพาราเมตริก สามารถวิเคราะห์ความแปรปรวนเนื่องจากปัจจัยเดียวและสองปัจจัยได้ สามารถใช้ตัวแบบอนุกรมเวลา สามารถวิเคราะห์การถดถอย สหสัมพันธ์ และเข้าใจการออกแบบการทดลองทางสถิติเบื้องต้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้วิธีการทางสถิติเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จึงมีการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้และตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการผลิตที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ทบทวนความรู้พื้นฐานด้านสถิติวิศวกรรม เช่น ทฤษฏีความน่าจะเป็นตัวแปรสุ่ม การสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าสถิติ ศึกษาการตัดสินใจแบบมีการทดลองและไม่มีการทดลอง การทดสอบสมมติฐาน แบบพาราเมตริก และแบบนอนพาราเมตริก การวิเคราะห์ความแปรปรวนเนื่องจากปัจจัยเดียว และสองปัจจัย แบบอนุกรมเวลา การวิเคราะห์การถดถอย สหสัมพันธ์ และการออกแบบการทดลองทางสถิติเบื้องต้น
1. อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาผ่านระบบสังคมออนไลน์ (Social Network)
2. อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.2 เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง
1.1.4 ตระหนักถึงคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละและความซื่อสัตย์สุจริต
1.1.5 มุ่งปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรมทั้งในเรื่องส่วนตน และสังคม
1.1.6 มีจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา
1.2.1 ให้ความสำคัญของการตรงต่อเวลา และการให้คะแนนเข้าชั้นเรียน
1.2.2 ชี้แจงกฎระเบียบด้านการแต่งกายและความประพฤติแก่นักศึกษา
1.2.3 แจ้งวิธีประเมินผลการเรียน กฎระเบียบและข้อบังคับในการใช้ห้องปฏิบัติการที่ถูกต้องและปลอดภัย
1.3.1 ประเมินผลจากการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา
1.3.2 ประเมินผลจากการส่งงานตามกำหนด หรือระยะเวลาที่มอบหมาย
1.3.3 ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย เช่น การค้นคว้านอกห้องเรียน การจัดนิทรรศการ และการนำเสนอ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิศวกรรมศาสตร์พื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และสร้างนวัตกรรมในเชิงวิศวกรรม
2.1.2 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชากับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถนำความรู้ และทักษะในสาขาวิชาไปประยุกต์แก้ไขปัญหาจริงได้
2.2.1 สอนโดยการบรรยายและใช้สื่อคอมพิวเตอร์ รวมถึงการยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากกรณีศึกษา
2.2.2 มอบหมายงานกลุ่ม
2.2.3 แก้โจทย์ปัญหา พร้อมทำแบบฝึกหัด
2.3.1 การตอบข้อซักถาม และแสดงความคิดเห็น
2.3.2 ประเมินผลจากการให้ค้นคว้า และนำเสนองาน
2.3.3 ประเมินผลจากแบบฝึกหัด
3.1.1 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ ตลอดจนการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาได้
3.1.3 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 บรรยายประกอบการซักถาม
3.2.2 กำหนดมอบหมายงานกลุ่ม
3.3.1 พิจารณาจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
3.3.2 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
4.1.1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.3 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.1.4 รู้จักแสดงความมีส่วนร่วมและมีน้ำใจ มีความสามัคคี ให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมงานในการทำงานกิจกรรมกลุ่ม
4.2.1 ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมโดยมอบหมายงานรายกลุ่ม
4.2.2 การนำเสนอผลงานรายงานกลุ่ม
4.3.1 ประเมินผลจากกระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการนำเสนอผลงานกลุ่ม
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในกิจกรรมที่มอบหมาย
4.3.3 สังเกตการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูลและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้
5.1.2 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.3 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติ
ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.4 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1  นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.2 อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 อธิบายวิธีการใช้เครื่องคำนวณในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
5.3.1 ผลจากกระประเมินการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.3.2 ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGIE101 สถิติวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การแสดงความคิดเห็น ถามตอบ ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 แบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 สอบย่อย ครั้งที่ 1 6 5%
5 สอบกลางภาค 8 35%
6 สอบย่อย ครั้งที่ 2 15 5%
6 สอบปลายภาค 17 35%
ผศ.ดร.ประไพศรี สุทัศน์ ณ อยุธยา และ ผศ.ดร.พงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์ (2559), สถิติวิศวกรรม (Engineering Statistics), บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ
รศ.ดร.สรชัย พิศาลบุตร (2553), สถิติวิศวกรรม (Engineering Statistics), ฉบับที่ 1 พิมพ์ครั้งแรก, บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด, กรุงเทพฯ
ผศ.สายชล สินสมบูรณ์ทอง (2553), สถิติวิศวกรรม (Engineering Statistics), พิมพ์ครั้งที่ 4, จามจุรีโปรดักท์, กรุงเทพฯ
Montgomery, D.C. and G.C. Runger (2011), Applied Statistics and Probability for Engineers, 5th Edition, John Wiley & Son Inc., New York.
Prem S. Mann (2011), Introductory Statistics, 7th Edition, John Wiley & Sons (Asia) Pte Ltd.
ไม่มี
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 การสะท้อนคิด มุมมอง และทัศนคติของผู้เรียน
1.4 การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
2.1 ประเมินผลโดยคณะวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินตาม PM-14
2.2 อาจารย์ผู้สอนประเมินผลการสอนของตนเอง จากพฤติกรรมการเรียนและผลการสอบของนักศึกษา
3.1 การวิจัยในชั้นเรียน
3.2 จัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา
3.3 ปรับปรุงรายละเอียดของเนื้อหาวิชาให้ทันสมัย
4.1 อาจารย์มีการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมในการให้คะแนน
4.2 การทวนสอบการให้คะแนนในข้อสอบ รายงาน โดยอาจารย์ท่านอื่นที่สอนในรายวิชาเดียวกัน
4.3 จัดทา คลังข้อสอบมาตรฐานสา หรับรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ