ภาพร่างทางสถาปัตยกรรม

Drawing and Painting for Architecture

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการเขียนภาพ องค์ประกอบศิลป์ มุมมอง
ทัศนมิติ และสามารถเขียนภาพร่างทางสถาปัตยกรรมได้ ด้วยเทคนิค Drawing และ Painting
2.1 เพื่อพัฒนาเนื้อหาของรายวิชาให้มีความทันสมัย  พัฒนาวิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับการนำเอา ทักษะการเขียนภาพร่างทางสถาปัตยกรรมไปปรับใช้ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งได้ทำการพัฒนาปรับปรุงจากรายวิชา 42002101 เทคนิคแสดงแบบ 1 (Presentation technique) ในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555/ 
2.2 พัฒนา/ ปรับปรุง รูปแบบการเรียนการสอน ตลอดจนแนวทางการประเมินผล (เฉพาะอย่างยิ่ง งานปฏิบัติรายสัปดาห์) ในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อ covid-19  
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเขียนภาพร่างด้วยดินสอ ปากกา และสี เน้นการเขียนภาพ รูปทรง หุ่นนิ่ง และทัศนียภาพอาคาร
Study and practice of pictorial drawing with pencils, pens and colors emphasizing drawing of shapes, forms, still-life models, scenery and architecture.
- อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะฯ และสาขาฯ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/ สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบมีวินัย เป็นสถาปนิกนักปฏิบัติที่มีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีคุณธรรม  จริยธรรม จรรยาบรรณตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ผู้เรียน มีวินัย ขยันอดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์การสอน : สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 เช็คชื่อเข้าเรียน และอบรมเรื่องคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาก่อนการเรียนสอน เป็นเวลา 5 นาทีทุกสัปดาห์
1.2.2 จัดกลุ่มนักศึกษาช่วยงานอาจารย์ ในแต่ละสัปดาห์ เช่น เตรียมและเก็บหุ่นนิ่ง ตัดแบ่งและแจกกระดาษเขียนรูป จัดกลุ่มนักศึกษาเพื่อดูแลเรื่องความสะอาดก่อนเรียนและหลังเลิกเรียน เป็นต้น
1.2.3 จัดให้นักศึกษาส่งงานที่ทำเสร็จแล้วด้วยตัวเอง ณ ชั้นส่งผลงานที่ผู้สอนจัดไว้ให้ ตามเวลาที่กำหนด
1.3.1 ประเมิน ผลการเข้าเรียนตรงเวลา มาสาย และขาดเรียนของนักศึกษา (โดยพิจารณาร่วมกับ ระบบการศึกษาตามความในข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ที่ระบุไว้ว่า นักศึกษาต้องมีเวลาศึกษาในแต่ละรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
1.3.2 ประเมินจากสภาพห้องเรียนก่อนและหลังการเรียนการสอน ตลอดจน การช่วยเหลืออาจารย์ในการจัดเตรียมอุปกรณ์การสอนของนักศึกษาในแต่ละสัปดาห์
1.3.3 ประเมินผลจากการส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด ความซื่อสัตย์สุจริตในการทางานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
2.1.1 ผู้เรียน มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมศาสตร์
กลยุทธ์การสอน : ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของราย
วิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
2.2.1 บรรยายตามบทเรียนที่กำหนดให้ในแต่ละสัปดาห์
2.2.2 บรรยายภาคทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ เป็นลำดับขั้นตอน ของการเขียนภาพร่างทางสถาปัตยกรรมทั้งเทคนิคการ drawing และ painting
2.2.3 กำหนดให้นักศึกษา ฝึกปฏิบัติการเขียนภาพร่างทางสถาปัตยกรรมด้วยเทคนิค drawing และ painting ทั้งในระหว่างชั่วโมงการเรียนและมอบหมายให้เป็นการบ้าน (ในบางสัปดาห์) เพื่อการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนอเวลาเรียน
2.3.1 ตรวจให้คะแนนจาก ชิ้นผลงานสอบวัดผล ทั้งการสอบกลางภาคและปลายภาค โดยใช้เกณฑ์พิจารณาคะแนนจากความสมบูรณ์ของเทคนิคที่ใช้
2.3.2 ตรวจให้คะแนนจาก ชิ้นผลงานที่ให้ฝึกปฏิบัติในชั่วโมงเรียนแต่ละสัปดาห์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากเนื้อหาทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติด้วยเทคนิคการนำเสนอที่บรรยายไปในสัปดาห์นั้นๆ ตลอดจนการส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
3.1.1 ผู้เรียน มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
กลยุทธ์การสอน : ใช้กรณีศึกษา การออกแบบสถาปัตยกรรมหรือการจัดทำวิทยานิพนธ์ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
3.2.1 ฝึกปฏิบัติตามบทเรียนที่กำหนดให้ในแต่ละสัปดาห์
3.2.2 กำหนดเนื้อหาของงานที่ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ อยู่ในขอบเขตของงานสถาปัตยกรรมและสิ่งเกี่ยวเนื่อง เช่น มอบหมายให้นักศึกษา เขียนภาพอาคารขนาดใหญ่, ศูนย์ประชุม ด้วย ทัศนมิติ 2 จุด แบบ Normal eye view/ เทคนิค Painting เป็นต้น
3.2.3 สอดแทรกการบรรยายเชิงยกตัวอย่างประกอบ ถึงการจะนำเอาองค์ความรู้จากการเขียนภาพร่างทางสถาปัตยกรรม ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพได้อย่างไร
3.3.1 ตรวจให้คะแนนจาก ชิ้นผลงานสอบวัดผล ทั้งการสอบกลางภาคและปลายภาค โดยใช้เกณฑ์พิจารณาคะแนนจากความสมบูรณ์ของเนื้อหาของภาพที่เขียนแสดง
3.3.2 ประเมินผลจากคะแนนเก็บตลอดทุกสัปดาห์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาคะแนนจากความสมบูรณ์ของเนื้อหาของภาพที่เขียนแสดง
4.1.1 ผู้เรียน มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดี
กลยุทธ์การสอน : สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษย์สัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคมมอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทาหน้าที่ผู้นาและผู้ตาม การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
4.2.1 พัฒนาทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนด้วยกันเอง โดยการวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของนักศึกษาแต่ละคนให้ทราบขณะตรวจให้คะแนน พร้อมเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยในการตรวจงานแต่ละสัปดาห์ เพื่อให้นำแนวทางไปปรับปรุงพัฒนางานปฏิบัติของตนเอง โดยเทียบกับระดับงานปฏิบัติของเพื่อนร่วมชั้นเรียน
4.2.2 ฝึกให้นักศึกษาปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับกาละเทสะ เมื่ออยู่ภายในสถานศึกษา หรือเมื่อมีการออกไปเขียนภาพร่างนอกสถานศึกษา
4.3.1 ประเมินพัฒนาการของผลงานนักศึกษา แต่ละคนว่ามีทิศทางเป็นอย่างไร โดยดูได้จากแนวโน้มคะแนนซึ่งเป็นตัวชี้วัดความตั้งใจเรียนที่มีต่อผู้สอน การมีส่วนร่วมกับเพื่อนภายในห้องเรียน และการศึกษาด้วยตนเองนอกเวลาเรียน
4.3.2 ประเมินจากการสังเกต การปฏิบัติตนของนักศึกษาให้ถูกกาละเทสะ ทั้งในและนอกสถานศึกษาในระหว่างการเรียนการสอน
5.1.1 ผู้เรียน สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
กลยุทธ์การสอน : จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จาลองและสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนาเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล การนำเสนอที่เหมาะสมกับเนื้อหาข้อมูลและสภาพของผู้สื่อสาร
5.2.1 กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา ทางระบบ Internet ผ่านช่องทาง platform และ website ต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาทักษะฝีมือตนเอง โดย ผู้สอนอาจสั่งงานฝึกปฏิบัติเป็นการบ้านที่ทำนอกเวลาเรียน
5.3.1 คะแนนและแนวโน้มคะแนน ของงานฝึกปฏิบัติการบ้านของนักศึกษาแต่ละคน ที่ทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ผ่านช่องทางเครื่องมือสื่อสารที่กำหนด
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบ และปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
กลยุทธ์การสอน : ใช้วิธีการสอนด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษาการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.2.1 แจกเอกสารประกอบคำสอน (ในบางสัปดาห์) และเขียนบรรยายประกอบ/ whiteboard หรือเขียนบรรยาย/ Power Point
6.2.2 ให้คำแนะนำหรือสาธิตวิธีการปฏิบัติขณะมีการเขียนภาพร่างในชั่วโมงเรียน
6.2.3 ตรวจผลงานของนักศึกษาทุกสัปดาห์ ด้วยการมีส่วนร่วมของนักศึกษาทุกคนในการช่วยจัดกลุ่มและจำแนกลำดับผลงานของเพื่อนในชั้นเรียน โดยการเห็นข้อเปรียบต่าง และการวิพากษ์งานของผู้สอน จะทำให้เกิดทักษะทางปัญญาด้านการเรียนรู้ สังเกตและจดจำ
6.3.1 กำหนดเป็นระดับคะแนน ค่าระดับคะแนนต่อหน่วยกิต และผลการศึกษาตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 หมวดที่ 8 เรื่อง การวัดผลและประเมินผลการศึกษา
6.3.2 ผู้เรียนประเมินผู้สอน ในภาพรวมของการเรียนการสอน เพื่อนำผลการประเมินดังกล่าวหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาทักษะพิสัยที่ควรมีต่อไป
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARCC401 ภาพร่างทางสถาปัตยกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้/ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สอบกลางภาค /สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 /สัปดาห์ที่ 17 15% / 15%
2 ทักษะทางปัญญา / ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การทำงานเดี่ยวและการบ้าน ในแต่ละสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา / ทักษะพิสัย จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
- โกศล พิณกุล. 2546 ภาพเส้นระบายสี Line And Wash
- โกศล พิณกุล. 2546 เทคนิคระบายสี ดอกไม้ หุ่นนิ่ง ทิวทัศน์
- รศ. สุชาติ เถาทอง. 2536 การเขียนภาพสีน้ำ
- วิศิษฐ พิมพิมล. 2546 การวาดเส้น Drawing
- นิธิ สถาปิตานนท์. 2532 ลายเส้น RENDERINGS IN INK AND PERSPECTIVES
- 20 Best small gardens โดย Tim Newbury
- 25 Best Planting plants ของ Noel Kingsbury
- 20 Best garden designs โดย Tim Newbury
- Thurgau gezeiehnet von Jacques scheduler ของ Von Regierungsrat Rudolf Schumperli
- ไม่มี -
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 สังเกตและวิเคราะห์จากผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานของอาจารย์