การออกแบบปรับปรุงอาคาร

Building Renovation Design

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติการออกแบบปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร โดยต้องเข้าใจขั้นตอนการออกแบบปรับปรุงอาคาร มีความรู้ โครงสร้างทางวิศวกรรม และข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงอาคาร เข้าใจหลักการอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่า การเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานภายในอาคาร และการออกแบบอารยสถาปัตยกรรม
เมื่อนำข้อมูลจากการประเมินการสอนโดยนศ มาปรับปรุงเพื่อพัฒนาลำดับเนื้อหาการสอน รายละเอียดเนื้อหาการสอน ให้ครบถ้วนและทันสมัย ปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหา และ สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบปรับปรุงการใช้สอยภายในอาคาร
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการใช้สอยอาคาร หลักการและขั้นตอนการออกแบบปรับปรุง โครงสร้างทางวิศวกรรม ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึง การอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่า ประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน และอารยสถาปัตยกรรม
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนในชั่วโมงแรก
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบต่อการศึกษาเรื่องเกี่ยวสิ่งแวดล้อมที่นำมาใช้ในการออกแบบ สถาปัตยกรรม โดยผู้เรียนจะต้องมีวินัย ซื่อตรงต่อเวลา โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 มีวินัย ขบัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
วิธีการสอน


บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม อภิปรายกลุ่ม (Group Discussion)

กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่าง(Case Study) ที่เกี่ยวข้อง
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีผลต่อมนุษย์ การออกแบบโดยวิธีธรรมชาติ เพื่อควบคุม การพัดผ่านของกระแสลม ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิและความชื้นแสงธรรมชาติ และการควบคุมเสียง การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน เพื่อเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย การประหยัดพลังงาน และ เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 บรรยาย
2.2.2 อภิปราย
2.2.3 ทำเป็นรายงานเป็นรายบุคคล โดยการนำเสนอวิธีคิด การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา
3. ทักษะทางปัญญา 3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม เพื่อแสดงออกถึงความเข้าใจในเนื้อหาที่ศึกษา
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2 วิธีการสอน
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำรายงานที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา โดยนำเสนอด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 สังเกตพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงต่อเวลา
3.3.2 สอบกลางภาคและปลายภาค
3.3.2 วัดผลจากการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.2 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2 วิธีการสอน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายบุคคล เช่น การค้นคว้าการนำพลังงานธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ทางสถาปัตยกรรม
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากการส่งงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด
5.1 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2 วิธีการสอน
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สาธารณะที่แนะนำให้ และมีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาได้ถูกต้อง
5.2.2 นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6. ทักษะพิสัย
6.1 ทักษะพิสัย ที่ต้องพัฒนา

มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองสังคมและ สิ่งแวดล้อม 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา 3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 1) มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 2) มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
1 BARIA505 การออกแบบปรับปรุงอาคาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม 1 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาในชั้นเรียน 2 พฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงาน การดูแลห้องเรียนและสภาพแวดล้อม 3 การเสนอที่มาของข้อมูลจากรายงาน และสถานที่จริง ตลอดภาคศึกษา 11,13,16 10%
2 ความรู้ 1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบวัดความรู้ ความเข้าใจในหลักการและทฤษฏี 2 การอภิปราย รายงานในชั้นเรียน และการนำเสนอผลงานสามารถบูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 9,18 10,12,14, 16 15% 15% 10%
3 ทักษะทางปัญญา 1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่วัดความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผล .2 ผลงานที่นำเสนอมีองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ 9,18 14, 16 10% 25%
4 ทักษะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 1 สังเกตพฤติกรรมการศึกษาและการอยู่ร่วมกันของนักศึกษาในชั้นเรียน 2 ประเมินภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามจากการทำงานกลุ่มที่มอบหมาย 3 ประเมินการทำงานเป็นทีมจากงานกลุ่มที่มอบหมาย 8,11,13, 15 5%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิง การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเลือกใช้เครื่องมือสื่อสารได้อย่างเหมาะสม วิธีการจัดทำสื่อและการนำเสนอ 10,12,14 ,16 10%
1]กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, แนวทางการ
ประหยัดพลังงานในบ้านอยู่อาศัย, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
2540.
 
[6]ตรึงใจ บูรณสมภพ, การออกแบบอาคารที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน, พิมพ์ครั้งที่ 1,กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์พริ้นติงแอนด์พับลิชชิง จำกัด(มหาชน) , 2539.
 
[7]ธนิต จินดาวณิค, สถาปัตยกรรมและเทคโนโลยี, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
กรุงเทพมหานคร, 2540.
 
[14]สมสิทธิ์ นิตยะ รศ., การออกแบบอาคารสำหรับภูมิอากาศเขตร้อนชื้น, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
 
[15]สุนทร บุญญาธิการ, เทคนิคการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า,
พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านห้องสนทนา ที่อาจารย์ผู้สอนได้แนะนำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การศึกษาดูงานนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ สอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกสาขา หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เรียนเชิญอาจารย์ผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือประสบการณ์การทำงานของวิทยากร