ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์

Innovative Industrial Product Design

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ มโนทัศน์ จินตนาการต่อการออกแบบ กระบวนการสร้างสรรค์
2. นักศึกษามีทักษะและเทคนิคในวิธีการสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ และแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์
3. เพื่อใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสารรค์ให้มีรูปแบบและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม สามารถผลิตได้
4. ฝึกปฏิบัติการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้
         เพื่อให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของรายวิชา มีเนื้อหาในการเรียนการสอนที่ปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม ตามยุคสมัย
ฝึกปฏิบัติ ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้นแบบ โดยเน้นความคิดรวบยอดตามกระบวนการและขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งให้นักศึกษาทราบเกี่ยวกับห้องทำงาน  ตารางสอนเวลาว่างในแต่ละสัปดาห์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
  พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
      1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูและเที่ยงธรรม
      2. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบหน้าที่  มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ
      3. สุภาพอ่อนน้อม ถ่อมตน รู้จักกาละเทศะ ใจกว้าง เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
      4. มีน้ำใจ มีจิตอาสา จิตสาธารณะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
      5. มีความพอเพียง
      6. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
      7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
   1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และ จริยธรรม
   1.2.2 อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
   1.2.3 สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับด้านคุณธรรม จริยธรรมเกี่ยวกับวิชาชีพในการครองตนและการศึกษาระหว่างสอน
   1.2.4 สอดแทรกประสบการณ์ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพและผลกระทบของการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาที่อาจเกิดขึ้นโดยนักออกแบบที่ไร้จรรยาบรรณ
   1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
   1.3.2   พฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและกิจกรรมที่สาขาฯจัดขึ้น
   1.3.3   สังเกตพฤติกรรมการทำงานเดี่ยวและกลุ่ม ร่วมกัน การแก้ปัญหา การเสียสละการบริหารจัดการงานส่วนรวม
   1.3.4   มีการตกลงกับนักศีกษาในครั้งแรกของการเรียน เรื่องระเบียบการเข้าชั้นเรียน โดยหากว่ามาช้ากว่าที่กำหนด 15 นาที ถือว่ามาสาย เข้าชั้นเรียนสาย 3 ครั้งถือว่าขาด 1 ครั้ง หากขาดเกิน 3 ครั้ง หมดสิทธิ์สอบ
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจหลักการเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
2.1.2 มีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากโจทย์ที่ได้รับมอบหมายได้
2.1.3 นำความรู้เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์มาทำหุ่นจำลอง    
2.1.4 นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบมาทำการออกแบบและผลิตจริง เลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยในงานออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์และนำเสนอผลงาน
      
         1. เน้นการเรียนการสอนที่เป็น active learning
         2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
         3. สาธิตการผลิตผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์
         4. นักศึกษาฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
         5. บรรยายในชั้นเรียน ยกตัวอย่างและให้ปฏิบัติงาน
        2.3.1  การนําเสนอหน้าชั้นเรียนการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
        2.3.2  ประเมินจากรายงานการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา
        2.3.3  ประเมินจากการวิเคราะห์กรณีศึกษา
        2.3.4  ประเมินจากพฤติกรรมการทํางานอื่นๆ
พัฒนาความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ พร้อมไปกับการคิดวิเคราะห์ตามหลักการและเหตุผล เพื่อให้การสร้างสรรค์นั้นตอบสนองการใช้งานจริง เทคนิคในการพูดในการอธิบายการนำเสนองานออกแบบ
   3.2.1  บรรยาย และการให้นักศึกษาปฏิบัติโครงงานที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
   3.2.2  ฝึกตอบคำถามในชั้นเรียนแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา ระดมสมองในการแก้ปัญหา
   3.2.3  มอบหมายงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
   3.2.4  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
    3.3.1  ผลงานตลอดภาคเรียน
    3.3.2  การนําเสนอผลงาน
    3.3.3  การใช้ข้อสอบหรือแบบฝึกหัดที่ให้นักศึกษาคิดแก้ปัญหา
   4.1.1  พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
   4.1.2  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
   4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาได้ทำงานกับผู้อื่น และรายงานรายบุคคล
   4.2.2   กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนให้ชัดเจน
   4.2.3   การนำเสนอรายงาน
   4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
   4.3.2  ประเมินจากงานที่มอบหมาย  
   5.1.1  ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
   5.1.2  พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียน โดยทำรายงานการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
   5.1.3  พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
   5.1.4  ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
   5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
   5.2.2  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
   5.2.3  ใช้ Power Piont บรรยาย
            -  ฝึกทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในกรณีเหตุการณ์สมมติ
            -  การแนะนำเทคนิคการสืบค้นและคัดเลือกแหล่งข้อมูล
   5.3.1  ตรวจสอบความถูกต้องของแนวคิด และวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้พื้นฐานความรู้ที่เรียนมา
   5.3.2  จากผลการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
   5.3.3  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
   5.3.4  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
   6.1.1 มีทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ สุนทรียศาสตร์ ภาพลักษณ์ อัตลักษณ์ สิ่งแวดล้อมและนวัตกรรม
   6.1.2 มีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ในการนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
   6.1.3  มีทักษะในการวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการในผลงานของตนเองและผู้อื่นเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ในงานออกแบบได้
   6.2.1 บรรยายประกอบการยกตัวอย่างด้วยสื่อการสอนมัลติมีเดีย สาธิต การคิดวิเคราะห์ ถาม ตอบในชั้นเรียน
   6.2.2 มอบหมายงานให้ไปปฏิบัติงานในการออกแบบเพื่อฝึกทักษะ
   6.2.3 วิเคราะห์ วิพากษ์ผลงานของนักศึกษาแต่ละชิ้น เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน
    ประเมินจากผลงานที่ได้ปฏิบัติงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ตามกระบวนการออกแบบ การปฏิบัติงานและการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BAAID129 ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ - มีความรู้ ทักษะความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1 - 17 60 %
2 ทักษะทางปัญญา - มีความสามารถในการใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ และวิพากษ์ได้ - มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น - มีความสามารถในการประเมินและสรุปประเด็น - มีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1 - 17 20%
3 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - มีจิตสำนึกต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย - มีความสามารถในการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม - มีความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ 1. คะแนนส่วนร่วมในชั้นเรียน 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1-7,9-16 10%
4 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - มีความสามารถเลือกทักษะทางภาษาและรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม - มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูล ติดต่อสื่อสาร การจัดการและนำเสนอข้อมูลได้ - มีความสารถในการสืบค้นความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวกับออกแบบ 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 1-7,9-16 10 %
นิรัช  สุดสังข์. ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ  :โอเดียนสโตร์, 2548.
ตระกูลพันธ์  พัชรเมธา. การนำเสนองานออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2548.
พรทิพย์  เรืองธรรม. ทฤษฎีการออกแบบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อิทนิล, 
นวลน้อย  บุญวงศ์. หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
อุดมศักดิ์  สาริบุตร. เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2549.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
  1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
  1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาตามแบบประเมินการสอนโดยมหาวิทยาลัยฯ
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
  2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอนร่วม
  2.2   การประเมินผลการเรียนของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน
  2.3   การประเมินผลการเรียนและการปฏิบัติการของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
   3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
   3.2 การนำผลงานวิจัยและงานบริการวิชาการ  งานสร้างสรรค์ มาบูรณาการกับการเรียนการสอน
   3.3 การนำผลประเมินจาก มคอ.5 และ มคอ.7 มาปรับปรุงในการเรียนการสอน
   3.4 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลกาทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
   4.1  ตรวจสอบความรู้ของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยการสอบถามนักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นระหว่างเรียน
   4.2   กลุ่มอาจารย์ผู้สอน ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ ผลงานของนักศึกษา การให้คะแนนพฤติกรรมในการเรียนและการส่งงานของนักศึกษา
   4.3  อาจารย์ในสาขามีการประชุมหารือร่วมกันเพื่อทวนสอบการให้คะแนนของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
   5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
   5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์
   5.3   อาจารย์ผู้สอนดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดวิชา (มคอ.3) ตามแนวทางที่ได้จากการประเมินผล และนำผลการประเมิน ข้อคิดเห็นต่างๆ มาพัฒนาเนื้อหาสาระ ปรับปรุงสื่อการสอน รายละเอียดการสอนให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยอยู่เสมอ