การบัญชีชั้นสูง 2

Advanced Accounting 2

1. รู้เกี่ยวกับการรวมธุรกิจ การลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า งบการเงินรวมและงบกระแสเงินสดรวม
2. เข้าใจหลักและวิธีการลงบัญชีเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ การลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อยทั้งในประเทศและต่างประเทศ การบัญชีสำหรับส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า การทำงบการเงินรวม และงบกระแสเงินสดรวม
3. ทำบัญชีเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ การลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อยทั้งในประเทศและต่างประเทศ กิจการร่วมค้า งบการเงินรวมและงบกระแสเงินสดรวมได้อย่างถูกต้อง
4. แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำบัญชีการรวมธุรกิจ การลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อยทั้งในและต่างประเทศกิจการร่วมค้า งบการเงินรวมและงบกระแสเงินสดรวมได้
5. ตระหนักถึงความสำคัญของการบัญชีเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ การลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อยทั้งในประเทศและต่างประเทศ กิจการร่วมค้า งบการเงินรวมและงบกระแสเงินสดรวม
 
 
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ความเข้าใจไปปรับประยุกต์ในการประกอบอาชีพและในชีวิตประจำวันได้
2. อธิบายหลักการปฏิบัติและบันทึกบัญชีการรวมกิจการได้
3. อธิบายหลักการปฏิบัติและบันทึกบัญชีเกี่ยวกับบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยได้
4. อธิบายหลักการปฏิบัติและการบันทึกบัญชีการร่วมค้าและการร่วมการงานได้
5. จัดทำงบการเงินรวมภายใต้ลักษณะต่างๆได้อย่างถูกต้อง
6. จัดทำงบกระแสเงินสดรวมได้อย่างถูกต้อง
7. จัดทำงบการเงินรวมและการแปลงค่าเงินตราของบริษัทที่อยู่ต่างประเทศได้
ศึกษาและฝึกปฎิบัติ เกี่ยวกับการบัญชีเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ การลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อยทั้งในประเทศและต่างประเทศ การบัญชีสำหรับส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า การทำงบการเงินรวมและงบกระแสเงินสดรวม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือเฉพาะกลุ่ม ตามความต้องการ 1-5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทุกวันพุธ ณ ห้องพักอาจารย์ ฺBLA ชั้น 4 อาคาร 60 ปีครองราชย์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ตาก
นักศึกษามีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฏระเบียของสถาบันและสังคม
นักศึกษาให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
ประเมินนักศึกษาว่ามีพฤติกรรมการกระทำทุจริตในการสอบหรือไม่
2.1.1 นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติทางบัญชีในการรวมธุรกิจและการจัดทำงบการเงินรวมและการร่วมการงาน
2.1.2 นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรุ้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีของการรวมธุรกิจและการจัดทำงบการเงินรวม โดยสามารถนำมาบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.1.3 นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับเทคคิการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ผ่านการทำแบบฝึกหัดและกรณีศึกษา
2.1.4 นักศึกษาสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในส่วนของการรวมธุรกิจ การจัดทำงบการเงินรวม และการร่วมการงาน อย่างต่อเนื่อง
2.2.1 ใช้เอกสารคำสอนการบัญชีชั้นสูง 2 ของ ผศ.ดร.สินีนาฏ วงค์เทียนชัย ในการเรียนการสอนตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ โดยการสอนแบบบรรยายและอภิปราย แสดงการคำนวณและการบันทึกบัญชีการจัดทำงบการเงินรวมและการร่วมการงาน และสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2.2.2 ให้มีการถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ งบการเงินรวม การร่วมการงาน ในชั่วโมงเรียน
2.2.3 มีการมอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการจากงบการเงินรวมจากบริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและของต่างประเทศ
2.2.4 ใช้กรณีศึกษาจากตัวอย่างจริงประกอบการสอน
2.3.1 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน ด้วยการทำแบบทดสอบย่อย การมอบหมายงานและการนำเสนอจากงานที่ค้นคว้าแบบกลุ่ม
2.3.2 ประเมินผลจากการข้อเขียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ในการสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
3.1.1 นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ งบการเงินรวมและการร่วมการงาน และด้านอื่นๆ ที่สัมพันธ์กัน
3.1.2 นักศึกษาสามารถใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.2.1 ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกให้มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา
3.3.1 ประเมินผลจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา ตามที่ผู้สอนได้มอบหมาย
4.1.1 นักศึกษาสามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 นักศึกษามีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์
4.1.3 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชี การรวมธุรกิจ งบการเงินรวม โดยให้มีการอภิปรายแสดงความเห็น
4.2.2 ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากแบบฝึกหัดหรือกรณีศึกษาต่างๆ
4.3.1 มอบหมายการทำงานเป็นกลุ่มย่อย
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
5.1.1   นักศึกษามีทักษณะในการวิเคราะห์ เพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับการรวมธุรกิจ งบการเงินรวม และการร่วมการงาน การแปลความหมาย และแนวทางแก้ไขปัญหา
5.1.2   นักศึกษาสามารถสื่อสารทั้งการพูดและเขึยนอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฝัง
5.1.3   นักศึกษารู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมกับโจทย์ปัญหาที่มอบหมาย  
5.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข ผ่านแบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา หรือกรณีศึกษา เกี่ยวกับการรวมธุรกิจ หรืองบการเงินรวม หรือการร่วมการงาน
5.2.2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการรวมธุรกิจ หรืองบการเงินรวม หรือการร่วมการงาน ที่สืบค้นผ่านเวปไซต์ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
5.2.3 มีการอภิปรายหรือนำเสนอเป็นกลุ่มงาน 3-5 คนต่อกลุ่มในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5.3.1 ประเมินผลจากการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย หรือจากการนำเสนอเป็นรายกลุ่ม
5.3.2 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายกลุ่ม
-ไม่มี-
-ไม่มี-
-ไม่มี-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2
1 BACAC140 การบัญชีชั้นสูง 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1, หน่วยที่ 2 และหน่วยที่ 3 ทดสอบย่อย 2, 5, 8 25%
2 หน่วยที่ 4 สอบกลางภาค 9 15%
3 หน่วยที่ 5, หน่วยที่ 6, หน่วยที่ 7 ทดสอบย่อย 12, 15, 16 25%
4 หน่วยที่ 8 และหน่วยที่ 9 สอบปลายภาค 17 หรือ 18 20%
5 หน่วยที่ 1 - 9 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การส่งแบบฝึกหัด การทำโจทย์ปัญหา การถาม – ตอบ การจัดทำกรณีศึกษา ทุกสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา 15%
เอกสารคำสอน "การบัญชีชั้นสูง 2" รหัสรายวิชา BACAC 140 ของ ผศ.ดร.สินีนาฏ วงค์เทียนชัย สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
เวปไซต์สภาวิชาชีพบัญชี https://acpro-std.tfac.or.th/

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 7, 21, 27, 28 และ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 3 , 10 , 11
เอกสาร หนังสือ ตำรา สำหรับศึกษานอกเวลา
1. ดุษฎี สงวนชาติ และคณะ. การบัญชีขั้นสูง 1. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2. ธาริณี พงศ์สุพัฒน์. การบัญชีขั้นสูง. บริษัท อินโฟไมนิ่ง จำกัด.
3. วรศักดิ์ ทุมมานนท์. การจัดทำงบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดรวม. บริษัท สำนักพัฒนาการบริหารธรรมนิติ จำกัด.
4. วรศักดิ์ ทุมมานนท์. งบการเงินรวมและปัญหาการจัดทำงบการเงินรวม. บริษัทสำนักพัฒนาการบริหารธรรมนิติ จำกัด.
5. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชา การบัญชีขั้นสูง 1 และการบัญชีขั้นสูง 2. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
6. Beams A. Floyd, et al. Advanced Accounting. New Jersey: Pearson Education.
7. Hoyle B. Joe, Schaefer F. Thomas, and Doupnik S. Timothy. Advanced Accounting. New York: McGraw-Hill/Irwin.
8. Pahler J. Arnold, and Mori E Joseph. Advanced Accounting: Concepts and Practice. Orando.
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาจัดทำข้อตกลงร่วมกัน โดยการสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ทุกภาคการศึกษา
2.1 ประเมินการสอนจากผลการสอบจากทดสอบย่อยของแต่ละหน่วยเรียน สอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
2.2 การทบทวนผลการประเมินการสอน จากการทดสอบย่อยแต่ละหน่วยเรียน
2.3 จากการสุ่มตรวจแบบฝึกหัดท้ายบทเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนต่างๆ ให้เหมาะสมกับบริบทของนักศึกษาตามสถานการณ์ เช่น
3.1 การทดสอบย่อยที่ผ่านไปแต่ละหน่วยเรียน อาจมีการปรับการสอนให้ละเอียดมากขึ้นในกรณีที่ผลการสอบนักศึกษาไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
3.2 จัดกิจกรรมกลุ่มในการทำแบบฝึกหัดร่วมกันและผู้สอนเข้าอธิบายตามกลุ่ม เพื่อปรับปรุงจุดบกพร่องของนักศึกษาและผู้สอนตามผลการประเมิน
3.3 ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบและการวิเคราะห์ปัญหา
3.4 เพิ่มการทำกรณีศึกษาจากข้อมูลจริงของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเรื่องงบการเงินรวมให้มากยิ่งขึ้น
4.1 ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
4.2 ตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชาของหลักสูตร
ในกรณีที่ผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาของนักศึกษาไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผู้สอนอาจดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา ดังต่อไปนี้
5.1 ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้นำไปใช้ในการเรียน การทำแบบฝึกหัดหรือในการประกอบอาชีพต่อไป
5.3 ปรับเปลี่ยนตารางสอน เพิ่มการสอนเสริม ตามที่นักศึกษาต้องการ