วัชพืชและการควบคุม

Weeds and Their Controls

ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การจำแนกชนิดชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืชหลัก วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช ประเภทและสรีรวิทยาการทำงายของสารเคมีกำจัดวัชพืชและความปลอดภัยในการใช้งาน
เพื่อให้มีความทันสมัยต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ การจำแนกชนิดชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืชหลัก วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช ประเภทและสรีรวิทยา การทำงายของสารเคมีกำจัดวัชพืชและความปลอดภัยในการใช้
1 ชั่วโมง
- มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ - มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย - การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) โดยมีการสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมการยกย่องนักศึกษา/บุคคลที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและเสียสละ - กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนสม่ำเสมอ - ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายและมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
    - ร้อยละ 95 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา     - ร้อยละ 95 ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย และที่อาจารย์กำหนด     - ร้อยละ 99 นักศึกษาส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด     - ร้อยละ100 นักศึกษาไม่มีการทุจริตในการสอบ
-  มีความรู้สามารถบอกความหมายของวัชพืช ลักษณะของวัชพืชร้ายแรง การจำแนกประเภทของวัชพืช ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืช การแก่งแย่งแข่งขันระหว่างวัชพืชกับพืชปลูก   ความเสียหายที่เกิดจากวัชพืชได้ -  มีความรู้เรื่องวิธีการควบคุมวัชพืชแบบต่างๆ ทั้งในพื้นที่ทำการเกษตรและนอกพื้นที่ทำการเกษตร -  มีความรู้เรื่องการจำแนกประเภทสารกำจัดวัชพืช ข้อดีและข้อเสียของการใช้สารกำจัดวัชพืช คุณสมบัติของสารกำจัดวัชพืช การเลือกทำลายของสารกำจัดวัชพืช      อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการพ่นสารกำจัดวัชพืช และวิธีการใช้สารกำจัดวัชพืชที่ถูกต้อง - มีความเข้าใจสามารถอธิบายตลอดจนประยุกต์ใช้วิธีการควบคุมกำจัดวัชพืชแบบผสมผสานได้อย่างเหมาะสม
- การบรรยาย อธิบาย ยกตัวอย่าง เรื่องความสำคัญของวัชพืช การจำแนกประเภทและชนิดของวัชพืช ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืช การขยสยพันธุ์และการแพร่กระจายพันธุ์ของวัชพืช การแก่งแย่งแข่งขันระหว่างวัชพืชกับพืชปลูก ความเสียหายที่เกิดจากวัชพืช วิธีการควบคุมวัชพืช การจำแนกประเภทสารกำจัดวัชพืช ข้อดีและข้อเสียของการใช้สารกำจัดวัชพืชคุณสมบัติของสารกำจัดวัชพืช การเลือกทำลายของสารกำจัดวัชพืช อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการพ่นสารกำจัดวัชพืช และวิธีการใช้สารกำจัดวัชพืช โดยใช้ powerpoint ให้นักศึกษาได้ชมคลิปวิดีทัศน์จากสื่อออนไลน์ และการถาม-ตอบในชั้นเรียน - การปฏิบัติ ให้นักศึกษาดูตัวอย่างต้นวัชพืชชนิดต่างๆ ลักษณะส่วนขยายพันธุ์ของวัชพืชแบบต่างๆ ศึกษาวิธีการประเมินความหนาแน่นของวัชพืชและความเสียหายในแปลงปลูกพืช ศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดวัชพืชแบบต่างๆในแปลงปลูกพืชเศรษฐกิจ ทดลองใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายและเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืช การล้างทำความสะอาดและการดูแลรักษาเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืช ทดลองการคำนวณปริมาณสารกำจัดวัชพืช ทดลองใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชประเภทใช้พ่นทางใบและพ่นทางดิน - กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process) ให้นักศึกษาค้นคว้าเรื่อง วัชพืชและการป้องกันกำจัดวัชพืช จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ทางวิชาการ - การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ให้งานมอบหมายรายบุคคล - การสอนแบบ (Brain Storming Group) ให้งานมอบหมายกลุ่ม
- โดยการสอบย่อย ภายหลังการเรียนในแต่ละบทจบ - โดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค - โดยการประเมินผลการปฏิบัติในห้องทดลอง และในแปลงทดลอง - โดยการตรวจงานมอบหมาย การทำรายงาน แบบฝึกหัด การนำเสนอ - โดยประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และในแปลงทดลอง
- สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม - สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ - ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
- ฝึกทักษะการวิเคราะห์ข้อดีและข้อจำกัดของควบคุมวัชพืช รวมทั้งวิธีการใช้สารกำจัดวัชพืชและการผสมผสานวิธีการอื่นที่ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืช โดยการไปศึกษาจากสภาพจริงในแปลงเกษตรกรหรือในแปลงทดลอง
- รายงาน/ผลงาน ที่นักศึกษาจัดทำ - การนำเสนอรายงาน/ผลงานในชั้นเรียน - การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ - ประเมินจากความสนใจตั้งใจในการศึกษาและการปฏิบัติในแปลง การซักถามปัญหาและการเสนอความคิดเห็น
- มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มและนำเสนอหน้าชั้นเรียน - มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ - สามารถทำงานเป็นกลุ่มและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างมีระบบ - สามารถนำความรู้ในศาสตร์มาเสนอแนวทางช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- แบ่งกลุ่มในการศึกษาความหนาแน่นของวัชพืช การพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชในแปลงทดลอง การทดลองใช้อุปกรณ์ การทำความสะอาดและการบำรุงรักษาเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืช
- การสังเกตจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษา - การนำเสนอรายงาน/ผลงานในชั้นเรียน - การประเมินโดยนักศึกษาร่วมชั้นเรียน
- การประเมินความหนาแน่นของวัชพืช โดยการประเมินด้วยสายตาเป็นร้อยละของปริมาณวัชพืชที่งอกอยู้ในพื้นที่ การนับจำนวนวัชพืชต่อพื้นที่แล้วหาค่าเฉลี่ย การชั่งนำ้หนักสดของวัชพืชต่อพื้นที่และหาค่าเฉลี่ย นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางการประเมินความหนาแน่นวัชพืชที่ทำได้ง่าย ประหยัดเวลาและแรงงาน - การคำนวณปริมาณสารกำจัดวัชพืชประเภทใช้พ่นทางใบ และประเภทที่ใช้พ่นทางดิน ที่จะต้องใช้ต่อหน่วยพื้นที่หรือต่อถังพ่น ให้ถูกต้องตามอัตราแนะนำ
- อธิบายหลักการ และวิธีการคำนวณในกรณีต่างๆ ให้ฝึกปฏิบัติจริงในสภาพแปลง ให้ทำรายงาน และทำแบบฝึกหัดคำนวณ
- ประเมินความเข้าใจในหลักคิดวิเคราะห์ และความถูกต้องของผลการคำนวณ
- การรับรู้ เข้าใจ การทำตามแบบหรือคำแนะนำได้อย่างถูกต้อง การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
- การอธิบายประกอบการสาธิตการศึกษาหาชื่อท้องถิ่นและชื่อวิทยาศาสตร์ของวัชพืชจากเว็บไซต์ต่าง ๆ การอ่านฉลากและทำความเข้าใจคำแนะนำต่างๆที่ภาชนะบรรจุสารกำจัดวัชพืช การผสมสารกำจัดวัชพืชกับนำ้ก่อนเทลงถังพ่น  การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย การทำความสะอาด ดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือกำจัดวัชพืชและเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืชที่ถูกต้อง
- ประเมินจากความถูกต้องของชื่อท้องถิ่น ชื่อวิทยาศาตร์ และภาพชนิดวัชพืชที่อยู่ในรายงาน หรืองานที่มอบหมาย - ประเมินความรู้ความเข้าใจการอ่านฉลากบรรจุภัณฑ์สารกำจัดวัชพืชจากการฝึกให้แนะนำการใช้สารกำจัดวัชพืชแต่ละชนิดหน้าชั้นเรียน - ประเมินความถูกต้องของการฝึกผสมสารกำจัดวัชพืช การทำความสะอาด และการดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือกำจัดวัชพืช
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา (Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ 1.2 มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ใน การดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม 3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม 3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ 3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม 4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม 4.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม 5.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน 5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม 6.1 มีทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
1 BSCAG109 วัชพืชและการควบคุม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ความเข้าใจแต่ละบทเรียน สอบย่อยก่อนการเรียนแต่ละสัปดาห์ 2,3,4,5,7,10,11,12,13,14 10
2 ทักษะทางปัญญา ความรับผิดชอบ ผลการปฏิบัติ รายงานผลการทดลอง การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 2,3,5,7,9,10,11,12,14,16 20
3 ความรู้ความเข้าใจ ทักษะทางปัญญา สอบกลางภาค 8 25
4 ทักษะเชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ งานมอบหมาย ตัวอย่างแห้งวัชพืช แบบฝึกหัดการคำนวณ 8 และ 15 10
5 ทักษะพิสัย สอบปฏิบัติ การตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือ การทำความสะอาดและการดูแลรักษาเครื่องพ่นสารกำจัดวัชืพช 16 10
6 ความรู้ความเข้าใจ ทักษะทางปัญญา ทักษะเชิงตัวเลข สอบปลายภาค 17 25
ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช; พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตร-ศาสตร์ : กรุงเทพฯ. ธวัชชัย รัตนชเลศ. J.F. Maxwell 2535. รายชื่อวัชพืชที่มีรายงานพบในประเทศไทย. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เชียงใหม่. ประเสริฐ ชิตพงศ์ 2540. วัชพืชและการจัดการ. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : หาดใหญ่. พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. สำนักพิมพ์รั้วเขียว : กรุงเทพฯ. พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2542. วัชพืชและการป้องกันกำจัด. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัย-เชียงใหม่ : เชียงใหม่. รังสิต สุวรรณเขตนิคม. 2531. สารกำจัดวัชพืชกับผลทางสรีรวิทยาของพืช. เล่ม 1 พื้นฐานการเลือกทำลาย. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : กรุงเทพฯ. อัมพร สุวรรณเมฆ. 2525. วิทยาการวัชพืช. สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย : กรุงเทพฯ.
ข้อมูลข่าวสาร คำแนะนำ ระเบียบ ประกาศ กฏหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียน การจำหน่าย การใช้สารกำจัดวัชพืช
เว็ปไซต์ของหน่วยงาน องค์กร ภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัทผู้ผลิตจำหน่ายสารกำจัดวัชพืช และเครื่องมืออุปกรณ์กำจัดวัชพืช  คลิปวีดีโอ เกี่ยวกับวิธีการควบคุมวัชพืชในพื้นที่ทำการเกษตร และนอกพื้นที่ทำการเกษตร โดยวิธีต่างๆ  การใช้สารกำจัดวัชพืช การใช้เครื่องมือกำจัดวัชพืช ในเว็ปไซต์และช่อง YOUTUBE https://research.ku.ac.th/forest/Search.aspx?keyword/สารเคมีกำจัดวัชพืช https://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/weed/index.htm/วัชพืชและการจัดการ
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอนแบบออนไลน์และแบบผสมผสาน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุง
ประเมินโดยสาขาวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหรือจากการสังเกตการณ์สอนโดยอาจารย์ในสาขาวิชาพืชศาสตร์
มหาวิทยาลัยจัดอบรมวิธีการเตรียมการสอนแบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม RMUTL EDUCATION และ MICROSOFT TEAMS สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาแล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียนนอกจากนี้ควรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมการประเมินผลการสอนแแบออนไลน์หรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ควรมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนโดยการสุ่มรายวิชาภายในรอบเวลาของหลักสูตร
โดยพิจารณาจากผลประเมินการสอนแบบออนไลน์ และแบบผสมผสาน โดยนักศึกษา,ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของสาขาวิชา,การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอนหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชาอาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชาเสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอ สาขาวิชา/คณะเพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป