ออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน 3

Interior Architectural Design 3

1. เพื่อให้นักศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน พื้นที่เพื่อการพาณิชย์ กรรมและสำนักงาน การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประกอบการจริง
2. เพื่อให้นักศึกษาทราบถึง องค์ประกอบในการออกแบบ งานระบบที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบในการออกแบบ งานระบบที่เกี่ยวข้องของอาคารเพื่อการพาณิชยกรรมและสำนักงาน
3. เพื่อให้นักศึกษาทำการวิเคราะห์โครงการ ศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษาจริง และศึกษาดูงานจริง
4. เพื่อให้นักศึกษามีทักษะด้านแนวคิดในการออกแบบ สามารถจัดวางผังเครื่องเรือน และออกแบบตกแต่งภายในอาคารเพื่อการพาณิชยกรรมและสำนักงาน
1. ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้ทันสมัย
2. ปรับปรุงกิจกรรมการเรียนเน้นศึกษาข้อมูลเฉพาะของพื้นที่เพื่อการพาณิชย์กรรมและสำนักงานก่อนทำการออกแบบ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน พื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรมและสำนักงาน การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประกอบการจริง โดยใช้กระบวนการออกแบบ หลักการและองค์ประกอบในการออกแบบ แนวความคิด หน้าที่ใช้สอย ความสัมพันธ์ของพื้นที่ภายใน และงานระบบที่เกี่ยวข้อง ทำการวิเคราะห์โครงการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษาจริง และศึกษาดูงาน
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลตามความต้องการ 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1.1 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.2 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ฝึกให้นักศึกษาออกแบบด้วยการพัฒนาแนวคิดของตนเองเท่านั้น สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน ตรวจรายชื่อนักศึกษาก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง กำหนดระยะเวลาการส่งงานให้นักศึกษาทราบอย่างชัดเจน ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.3.1 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.2 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.3 ประเมินผลจากความรับผิดชอบในปฏิบัติงาน ภายในห้องเรียน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.2.1 มีการบรรยาย การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างด้วยภาพถ่ายงานตกแต่งภายใน และภาพผลงาน การออกแบบ มอบหมายให้สืบค้นข้อมูลและจัดทำรายงาน
2.2.2 เน้นหลักการทางทฤษฎีและการ ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
2.2.3 ฝึกให้นักศึกษามีการพัฒนาแนวความคิดในการออกแบบอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการให้เทคโนโลยีในการนำเสนอผลงาน
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอ รายงาน และ การนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียน
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 การบรรยาย และใช้กรณีศึกษา หลักการในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้งาน และข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบ พร้อมยกตัวอย่างในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในพื้นที่ต่างๆ
3.2.2 การมอบให้นักศึกษาค้นคว้าอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น หาองค์ประกอบและงานระบบที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ
3.2.3 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติการจัดวางผัง และออกแบบพื้นที่ต่างๆภายในที่พักอาศัย
3.3.1 วัดผลจากการประเมินผลงานรายงาน และ การนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียน ดังนี้
- รายงานการศึกษาองค์ประกอบและงานระบบที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ
- การนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ออกแบบ
3.3.2 สังเกตจากกระบวนการทำงาน และการแก้ปัญหาในการทำงาน ของนักศึกษา
4.1.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2.1 มอบหมายงานกลุ่ม โดยให้นักศึกษาหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม
4.2.2 ฝึกให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ งานของผู้อื่น
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน
4.3.2 ประเมินจากผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออก
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไข ปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1มอบหมายงานทำรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
5.2.2 รายงานนำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูล
5.3.2 ประเมินจากการเลือกใช้เครื่องมือ ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
5.3.3 ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
6.2.1 มอบหมายงานให้ทำตามตัวอย่าง หรือใบงาน
6.2.2 ศึกษาจากการใช้กรณีศึกษา เป็นตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์และสามารถปฏิบัติงานของตนเองได้อย่างถูกต้อง
6.2.3 ฝึกให้ออกแบบผลงานสร้างสรรค์ผลงานที่ถูกต้องด้วยตนเอง
6.3.1 ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARIA103 ออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน 3
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม -มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม -พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา -ประเมินผลจากความรับผิดชอบในปฏิบัติงาน ภายในห้องเรียน ตลอดหลักสูตร 10
2 ความรู้ - สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี - ประเมินจากการนำเสนอ รายงาน และ การนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียน 9-17 1,11 30%
3 ทักษะทางปัญญา - วัดผลจากการประเมินผลงานรายงาน และ การนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียน ดังนี้ - รายงานการศึกษาองค์ประกอบและงานระบบที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ - การนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ออกแบบ - สังเกตจากกระบวนการทำงาน และการแก้ปัญหาในการทำงาน ของนักศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ -ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน -ประเมินจากผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออก ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ -ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูล -ประเมินจากการเลือกใช้เครื่องมือ ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม -ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 10%
6 ด้านทักษะพิสัย ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- การออกแบบและจัดพื้นที่SHOP
- Architects’ Data Shop Spaces
1.จันทนี เพชรานนท์. การทำรายละเอียดประกอบโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน. กรุงเทพฯ :สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2542
2. นภาพรรณ สุทธะพินท . การออกแบบและจัดพื้นที่สำนักงาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. พิมพ์ครั้งที่1,2548
3.พิบูลย์ ดิษฐอุดม. การออกแบบระบบแสงสว่าง. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น ,2545
4.นันทนี เนียมทรัพย์ การออกแบบสำนักงานแนวใหม่เพื่อสุขภาวะของมนุษย์ (มีนาคม 2553)
5.วิวัตน์ ลิ้มสวนทรัพย์ การออกแบบ เอกลักษณ์องค์กรและสภาพแวดล้อมภายในโถงต้อนรับอาคารสำนักงานในธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธกส) .กรุงเทพ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2549
6. CRANE DIXON. ARCHITECTS’ DATA SHEETS OFFICE SPACES .uk :Architecture Design and Technology press Firstpublished, 1991
7. Cl Littlefield. Frank M.Rachel and Donald L Caruth. Office and Administrative Management. new Delhi : Prentive-Hall of india, 1974
8. การนำเสนอโดยการเขียนโครงการ : www.vcharkarn .com /iesson / 1615
9. การจัดห้องทำงาน STUDY & OFFICE : www.decorreport.com
10. จิรพัฒน์ อุ้มมนุษยชาติ. การจัดพื้นที่และการจัดสภาพแวดล้อมในสำนักงาน : www.pdsci-low.buu.ac.th , 14 พฤศจิกายน 2553
11. บทความ การออกแบบ. การออกแบบสำนักงาน NOBIC : www.npsfurnitures.com
12. นิรวรรณ จันทรวงค์. ความหมายและความสำคัญของสำนักงาน: www.l3nr.org.th ,2010
13. สำนักงาน (Office Chapter1) :www.wbi.mus.ac.th
14. สำนักงาน (Office Chapter2) :www.wbi.mus.ac.th
15. อนัญญา อดำคา. หลักการจัดสำนักงานที่เลขานุการควรรู้ : www.13nr.org
16. เอกพงษ์ ตรีตรง. การจัดพื้นที่สำนักงาน : www.indesign.th.com : InDesign and Consultant Co.ltd
17. เอกพงษ์ ตรีตรง. การออกแบบสำนักงานแนวใหม่ : www.indesign-consultant.com : InDesign and Consultant Co.ltd
18. อเนกพงศ์ ลิ่มศิลา. ขั้นตอนการวางแผนและเขียนโครงการ: site.google.com /prchid tinna butr / akegapong 49-1
19. การออกแบบสถานที่ทำงานในสำนักงาน. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน : Kanchanappisek.or.th.
20. สภาพแวดล้อมในการทำงาน .เอกสารประกอบการเรียนวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ จิตวิทยาอุตสาหกรรม : http://elearning.aru.ac.th/2512704/soc05/topic4/linkfile/print5.htm
21. “บอดี้ โกลฟ” สำนักงานใหม่ กระตุ้นให้พนักงานทำงานสร้างสรรค์ และกระตือรือร้น. ศุนย์รวมความรู้เรื่องงานดีไซน์. 12 กุมภาพันธ์ 2556. Permalink : http://www.oknation.net/blog/u-sabuy )
22. ความหมายของลักษณะสภาพแวดล้อมในการทำงาน. https://www.facebook.com/ EnergyAndEnvironmentphlangnganLaeaSingWaedlxm/ posts/458014314217702
- การออกแบบแสงสว่างภายในร้านค้า
- หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ ( Principle of Business System
- สว่างไสวด้วยแสงไฟ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับการจัดวางผัง และ การตกแต่งร้านค้า
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับการจัดวางผัง และ การตกแต่งสำนักงาน
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้ กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ