สัมมนาพืชศาสตร์

Seminar in Plant Science

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่างๆ ดังนี้ 1.1 เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจเกี่ยวกับการสัมมนาและองค์ประกอบของการสัมมนา 1.2 เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสัมมนา การศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ การสังเคราะห์และเรียบเรียงข้อมูล การจัดทำรายงานสัมมนาฉบับสมบูรณ์ และการนำเสนอผลงานทางวิชาการ การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ
เพื่อประยุกต์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องกับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าต่างๆ ในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสัมมนาและองค์ประกอบของการสัมมนา นำเสนองานอภิปรายปัญหาและให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ในการสัมมนาหรือการประชุมวิชาการ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
   3.1 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.00 – 17.00 น. อาคารพืชศาสตร์ 1   โทร 09-07539051
   3.2  e-mail;  janruangsaw@gmail.com, pattama_ja@rmutl.ac.th  ทุกวัน
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย ประกอบสื่อ power point (ข้อปฏิบัติในวิชาเรียนสัมมนาฯ เช่น มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและเพื่อนสมาชิก ให้ความเคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของคณาจารย์และเพื่อนสมาชิกที่เข้าร่วมรับฟังสัมมนาฯ ในรายวิชา ฯลฯ)
2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ยกตัวอย่างผลงานทางวิชาการ/บทความวิชาการ เช่น เมื่อนำผลงานผู้อื่นมาใช้อ้างอิงในผลงานของตน จะต้องมีการอ้างอิง เพื่อให้เกียรติเจ้าของผลงานฯ อย่างมีจรรยาบรรณ
3. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ให้ผู้เรียนเสนอหัวข้อสัมมนา การค้นคว้า และกำหนดการส่งผลงานทางวิชาการรายบุคคลและ/หรือกลุ่ม ทั้งผลงานทางวิชาการ และสื่อ power point และร่วมอภิปรายการนำเสนอของเพื่อนสมาชิกในรายวิชาฯ อย่างเคารพและให้เกียรติบุคคล/สถานที่
1. การสังเกต/การบันทึก การเข้าชั้นเรียนของผู้เรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตามกำหนดเวลา 2. การสังเกต/การบันทึก ความพร้อมเพรียง การมีจิตสำนึกสาธารณะ การมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรฯ 3. การสังเกต/การบันทึก การมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ความขยัน ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ในการทำงานมอบหมายและการจัดการประชุมวิชาการ
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย ประกอบสื่อ power point       - บรรยายด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาทางวิชาการของงานทางสาขาวิชาเกษตรศาสตร์/พืชศาสตร์       - การสืบค้นผลงานวิจัย/ผลงานทางวิชาการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาเกษตรศาสตร์/พืชศาสตร์   2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies)         - ให้นักศึกษาค้นหาเอกสารงานวิจัย/ผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี          - ฝึกปฏิบัติการอ่านรายงานผลงานวิจัย/ผลงานทางวิชาการ และจดบันทึกประเด็นสำคัญ (งานกลุ่ม)         - ฝึกอ่านรายงานปัญหาพิเศษฯ แล้วฝึกสรุปประเด็นหลักๆ ของงานนั้น (งานรายบุคคล)
1. การสังเกต/การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 2. คุณภาพงานที่ให้ฝึกปฏิบัติตามสภาพจริง (Power Point และผลงานทางวิชาการ)
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปรายประกอบสื่อ power point 2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ให้ผู้เรียนเขียนและเรียบเรียงผลงานทางวิชาการ โดยการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพที่สืบค้นมาจากแหล่งข้อมูลทั้งหนังสือ ตำรา และทางอินเตอร์เน็ตที่เชื่อถือได้ 3. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ให้ผู้เรียนได้นำผลงานมานำเสนอประกอบสื่อ power point  แล้วให้คณาจารย์และเพื่อนสมาชิกในรายวิชาได้ถาม-ตอบ เพื่อฝึกให้มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. การสังเกต/ให้ข้อเสนอแนะ 2. งานมอบหมาย (Power Point และเอกสารบทความทางวิชาการ) 3. การนำเสนอผลงานแบบปากเปล่า
4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย 2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) โดยการมอบหมายงาน การสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และส่งงานผ่านระบบออนไลน์ 3. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) โดยให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานฯ ในชั้นเรียนและเปิดให้อภิปราย ถาม-ตอบ โดยใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและมีศัพท์เฉพาะภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม
ตรวจเช็คผลงานและการส่งงานผ่านระบบออนไลน์ ประเมินผ่านคุณภาพผลงานฯ และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และห้องประชุมสัมมนา สังเกตการติดตามการดำเนินงานแต่ละฝ่าย
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปรายในการนำเสนอผลงานแบบปากเปล่าประกอบสื่อ powerpoint 2. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ผู้เรียนสามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสมในการนำเสนอผลงานฯ 3. กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม และสามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. การสังเกต/การบันทึก และติดตามการดำเนินงาน/ความรับผิดชอบแต่ละฝ่ายฯ ในการจัดประชุมวิชาการพืชศาสตร์ 2. ประเมินจากงานมอบหมาย (Power Point และเอกสารบทความทางวิชาการ) ตรวจเช็คผลงานและการส่งงานผ่านระบบออนไลน์ 3. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน โดยวิธีรายงาน/วาจา และ/หรือ Power point
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2
1 BSCAG114 สัมมนาพืชศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) 1) ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ การส่งงานตรงต่อเวลา และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกลุ่ม 2) ประเมินจากการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 3) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ด้วยการดับไฟหรือปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกเรียน ทุกสัปดาห์ 10 %
2 ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) การฝึกซ้อมการนำเสนอ พิจารณาจากพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงในแง่บวก ทุกสัปดาห์ 50 %
3 ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills) 1) การนำเสนอจริง 2. การตอบคำถาม สัปดาห์ที่ 16 20 %
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) 1) การนำเสนอจริง 2) ประเมินจากความตั้งใจ การจัดเตรียมงาน ความพร้อมของงาน สัปดาห์ที่ 16 10 %
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี 1. การนำเสนอจริง 2. การใช้สื่อในการนำเสนอ สัปดาห์ที่ 16 10 %
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร. มปป. คู่มือปัญหาพิเศษ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้าน. 46 น.
วารสารภาษาไทย เช่น วารสารวิชาการเกษตร, แก่นเกษตร, วารสารทางการเกษตรและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มก., มช., มข., มอ., มน., มจ., มวล., ม.สุรนารีฯ มจธ., สจล. ฯลฯ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) https://www.nrct.go.th/ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) https://www.nstda.or.th/
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
ประเมินโดยสาขาวิชา/หลักสูตร แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหรือจากการสังเกตการสอนโดยอาจารย์ในสาขาวิชา/หลักสูตร
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน นอกจากนี้ ควรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียน การสอน ควรมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาและความเหมาะสมของการให้คะแนน โดยการสุ่มรายวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขาฯ มีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาและผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินหรือทวนสอบรายวิชาของหลักสูตรฯ และแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในรายวิชาดำเนินการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์ที่ใช้ในการสอน และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรฯ พิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขาวิชา / คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป