การวางแผนทดลองทางการเกษตร

Experimental Designs for Agriculture

 เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 มีความรู้ ทักษะปฏิบัติ และสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลองทางพืชศาสตร์ การวางแผนการทดลอง โดยใช้แผนการทดลองต่างๆ เช่น แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แผนการทดลองแบบสุ่มภายในบล็อกสมบูรณ์ แผนการทดลองแบบลาตินสแควร์ การจัดแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล และแผนการทดลองประยุกต์ทางการเกษตร เป็นต้น การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ผลทางสถิติ
1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติตามแบบของแผนการทดลองต่าง ๆ เช่น แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แผนการทดลองแบบสุ่มภายในบล็อกสมบูรณ์ แผนการทดลองแบบลาตินสแควร์ การทดลองแบบแฟคทอเรียล และแผนการทดลองประยุกต์ทางการเกษตร เป็นต้น การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
1.3 สามารถนำความรู้และทักษะเกี่ยวกับการวางแผนการทดลองทางการเกษตรไปประยุกต์ใช้กับการทดลองทางการเกษตร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกร
1.4 มีความสามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
1.5 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.6 มีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาวิชาการวางแผนการทดลอง
ในการสอนได้ทำการปรับปรุงวิธีการสอน โดยการสอนการใช้โปรแกรม Excel โปรแกรม R และ โปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลอง หลักการวางแผนการทดลอง สมมติฐานของการทดลอง แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แผนการทดลองแบบสุ่มภายในบล็อกสมบูรณ์ แผนการทดลองแบบลาตินสแควร์ การจัดแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล แผนการทดลองประยุกต์ทางการเกษตร การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย สหสัมพันธ์ สมการถดถอย การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ผลทางสถิติ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
    3.1 วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 15.00 – 17.00  น. อาคารพืชศาสตร์ 1   โทร 09-07539051
     3.2  e-mail;  janruangsaw@gmail.com  ทุกวัน
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การสอนโดยการกำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติตนของนักศึกษาในการเรียน และปลูกฝังให้นักศึกษามีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1. ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกลุ่ม 2. ประเมินจากความซื่อสัตย์ในการสอบ 3. ประเมินจากการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 4. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ด้วยการดับไฟหรือปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกเรียน
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. การสอนแบบบรรยายเชิงสาธิต 2. การมอบหมายแบบฝึกหัดให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติตามหัวข้อที่เรียน 3. การมอบหมายให้นักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือในห้องสมุดและ/หรือความรู้ทางอินเตอร์เน็ตและจัดทำรายงาน
1. การสังเกตความสนใจ 2. การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค 3. ประเมินจากการทำแบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย 4. ประเมินผลจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
การสอนโดยมอบหมายงานให้ฝึกวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติจากตัวอย่าง และผลการทดลองปัญหาพิเศษ
ประเมินจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
1.  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
การมอบหมายงานให้จัดทำรายงานด้วยการสัมภาษณ์เกษตรกรเพื่อหาหัวเรื่องการทดลอง
1. ประเมินจากรายงานและการนำเสนอ 2. ประเมินจากความตั้งใจ
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล 2. การมอบหมายงานให้จัดทำรายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดและการสืบค้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ประเมินจากทักษะการเขียนรายงานตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย จากการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดและการสืบค้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านทางอินเตอร์เน็ตการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย 2. การรายงานผลการทดลอง
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2
1 BSCAG008 การวางแผนทดลองทางการเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) 1) ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกลุ่ม 2) ประเมินจากความซื่อสัตย์ในการสอบ 3) ประเมินจากการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 4) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ด้วยการดับไฟหรือปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกเรียน ทุกสัปดาห์ 10 %
2 ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 1) การสังเกตความสนใจ 2) การทดสอบย่อย 3)การสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน สัปดาห์ที่ 9 และสัปดาห์ที่ 17 50 %
3 ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills) ประเมินจากผลงานการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติจากข้อมูลที่มอบให้ ประเมินจากการทำแบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย แบบฝึกหัดย่อย ทุกสัปดาห์ 20 %
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) 1) ประเมินจากรายงานและการนำเสนอ 2) ประเมินจากความตั้งใจ สัปดาห์ที่ 16 10 %
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 1 ประเมินจากทักษะการเขียนรายงานตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย และการสืบค้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต 2. การนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายและ การรายงานผลการทดลอง ทุกสัปดาห์ 10 %
พิชัย สุรพรไพบูลย์. 2558. เอกสารประกอบการสอนวิชาการวางแผนการทดลองทางการเกษตร. คณะวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, น่าน.
ชูศักดิ์ จอมพุก. 2555. สถิติ : การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชด้วย "R". สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ. 335 น.
พิศมัย หาญมงคลพิพัฒน์. 2557. สถิติและการวางแผนการทดลองทางเกษตร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 314 น.
สายชล สินสมบูรณ์ทอง. 2549. การวางแผนการทดลองทางการเกษตร. จามจุรี โปรดักท์, กรุงเทพฯ. 554 น.
อนันต์ชัย เขื่อนธรรม. 2542. หลักการวางแผนการทดลอง. ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ. 348 น.
Gomez, K.A. and A.A. Gomez. 1984. Statistical procedures for agricultural research. Wiley, New York. 680 p.
เอกสารประกอบการสอน  (power point ประกอบการสอน)
[On-line] Available :http://books.irri.org/9711040492_content.pdf
[On-line] Available :http://books.irri.org/9711040069_content.pdf
[On-line] Available :http://bbi.irri.org/products
ให้ผู้เรียนประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้ และมีระบบการประเมินรายวิชาโดยให้ผู้เรียนประเมินและแสดงความเห็นผ่านการประเมินรายวิชาทางระบบอินเตอร์เน็ต
อาจารย์ผู้สอนดำเนินการ โดยการสังเกต การตรวจรายงาน และการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค โดยพิจารณาจากความสนใจ ความเข้าใจ และผลการเรียนของนักศึกษา
อาจารย์ผู้สอนวิชาประเมินการสอนด้วยตนเอง ด้วยการสังเกต การพิจารณาผลการเรียนและการสอบของนักศึกษา จัดทำรายงานประเมินตนเองเมื่อสิ้นภาคการศึกษาเสนอหัวหน้าสาขา
สาขาวิชามีคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินการสอน ข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และผลการประเมินโดยคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษามาพิจารณาร่วมกันในที่ประชุมคณะกรรมการหลักสูตร