จิตวิทยาสำหรับครูวิชาชีพ

Psychology for Vocational Teacher

          เพื่อให้นักศึกษา
      1.มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติการเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด และความสำคัญของจิตวิทยากับครูวิชาชีพ 
      2.มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติการเกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ  จิตวิทยาในชั้นเรียนการจูงใจผู้เรียน การใช้จิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้  จิตวิทยาวัยรุ่นในสถานศึกษา และจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและการแนะแนวอาชีพ
     3. สามารถประยุกต์ความรู้ด้านจิตวิทยาเพื่อการจัดการเรียนการสอนและช่วยเหลือผู้เรียนตามศักยภาพ
     4. มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติการเกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่  คุณลักษณะที่ดี ของครูอาชีวศึกษา
     5. มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติการเกี่ยวกับ มาตรฐานวิชาชีพครูอาชีวศึกษา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูอาชีวศึกษา
    6.มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษาและใช้จิตวิทยาในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาผู้เรียนในมิติต่าง ๆ
          เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับคุณลักษณะของผู้เรียนที่เข้าศึกษาในรายวิชานี้  โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัย  พัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรและผู้เรียน 
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะด้านจิตวิทยาและความเป็นครูวิชาชีพ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ที่เน้นให้มีทั้งการเรียนภาคทฤษฎีและปฏิบัติด้านจิตวิทยา รวมทั้งความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครูวิชาชีพ
3. เพื่อให้การวัดประเมินผลการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน หลักจากสิ้นสุดการเรียนการสอน
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีจิตวิทยาพื้นฐาน  จิตวิทยาพัฒนาการ  จิตวิทยาในชั้นเรียน  การจูงใจผู้เรียน  จิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้  จิตวิทยาวัยรุ่นในสถานศึกษา  จิตวิทยาการให้คำปรึกษาและการแนะแนวอาชีพ  บทบาทของครูอาชีวศึกษา  คุณลักษณะและมาตรฐานวิชาชีพครูอาชีวศึกษา  คุณธรรม จริยธรรม  จรรยาบรรณวิชาชีพครู   กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูวิชาชีพ
 - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง    (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 -  แจ้งตารางสอนส่วนตัวให้นักศึกษาทราบวัน เวลาว่างของอาจารย์ผู้สอน
 -  แจ้งช่องทางในการติดต่อระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ทางหมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัวและอีเมลล์  ไลน์กลุ่ม  Facebook และ ระบบ Microsoft Team ของรายวิชา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล   โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร และความเป็นครูวิชาชีพ ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม รัก ศรัทธา ภูมิใจ ในวิชาชีพครู มีจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของความเป็นครู ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูอาชีวศึกษา มีจิตอาสา จิตสาธารณะ ความเสียสละ ความกล้าหาญทางจริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  และมีคุณลักษณะที่ดีของความเป็นครูวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมของวิชาชีพครู สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณครูวิชาชีพในทุกเนื้อหาที่สอน ให้ความสำคัญต่อการรักษาระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น เน้นการแต่งกาย บุคลิกภาพ  กิริยามารยาทที่เหมาะสมสำหรับความเป็นครูวิชาชีพ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม จิตอาสาบริการสังคม การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ใช้วิธีการสอนโดยยกตัวอย่างกรณีศึกษา เหตุการณ์ปัจจุบัน ข่าวประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยกรรมของความเป็นครู
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา ประเมินจากพฤติกรรม การแต่งกาย บุคลิกภาพ กิริยามารยาท ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา  ประเมินจากความรับผิดชอบในการทำงานที่มอบหมาย ประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรม จิตอาสาบริการสังคม การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
.1. มีความรอบรู้และสามารถปฏิบัติการเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีจิตวิทยาพื้นฐาน  จิตวิทยาพัฒนาการ  จิตวิทยาในชั้นเรียน  การจูงใจผู้เรียน  จิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้  จิตวิทยาวัยรุ่นในสถานศึกษา  จิตวิทยาการให้คำปรึกษาและการแนะแนวอาชีพ  บทบาทของครูอาชีวศึกษา  คุณลักษณะและมาตรฐานวิชาชีพครูอาชีวศึกษา  คุณธรรม จริยธรรม  จรรยาบรรณวิชาชีพครู   กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูวิชาชีพ
2. ตระหนักรู้หลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาและความเป็นครูวิชาชีพ มาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างแท้จริง
3. มีความสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าองค์ความรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาและครูวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
         2.2.1 จัดให้มีการสอนที่หลากหลาย โดยวิธี บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา การทำแบบฝึกหัด งานมอบหมาย  ร่วมกับการสอนภาคปฏิบัติ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา
          2.2.2  จัดให้มีการสอนโดยให้ปฏิบัติจริงในด้านจิตวิทยาและความเป็นครูวิชาชีพ
          2.2.3  ฝึกทักษะกระบวนการแสวงหาความความรู้ และให้ผู้เรียนสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษาด้วยตนเอง
ประเมินจากแบบฝึกหัด งานมอบหมาย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดทฤษฎีและปฏิบัติ ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา การวิเคราะห์หลักจิตวิทยาในการเรียนการสอน ประเมินจากทักษะการปฏิบัติจริงในการประยุกต์ใช้จิตวิทยาในการเรียนการสอน และทักษะด้านความเป็นครูวิชาชีพ
3.3.1 พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน สามารถประยุกต์ใช้จิตวิทยาในการเรียนการสอนตลอดถึง ช่วยเหลือพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.3.2 มีทักษะการปฏิบัติด้านจิตวิทยาและความเป็นครูวิชาชีพ
3.3.3 มีทักษะในการนำความรู้มาคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาในการเรียนการสอน การปฏิบัติตนในด้านความเป็นครูวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน อภิปรายกลุ่ม ที่ส่งเสริมการวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา การถอดองค์ความรู้ การมอบหมายงานวิเคราะห์กรณีศึกษาในการใช้จิตวิทยากับการเรียนการสอนและความเป็นครูวิชาชีพ การสะท้อนแนวคิดจากการศึกษา และการฝึกปฏิบัติทักษะ ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์กรณีศึกษา การเรียนการสอนที่ใช้หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้จิตวิทยาในการเรียนการสอนและความเป็นครูวิชาชีพ วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน  การฝึกปฏิบัติด้านจิตวิทยาและความเป็นครูวิชาชีพ สังเกตพฤติกรรมการวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามงานที่มอบหมาย
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การศึกษาทฤษฎีของนักจิตวิทยาการศึกษาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพครู และ การศึกษาคุณสมบัติที่ดีของความเป็นครูวิชาชีพ เป็นต้น การนำเสนอรายงาน/การทดลองปฏิบัติจริง บทบาทสมมติ
ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยมีการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีในการนำเสนอที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย ประเมินจากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงทักษะการสื่อสารที่เหมาะสม
มีทักษะในการใช้จิตวิทยาในการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน การช่วยเหลือแนะแนวผู้เรียน และทักษะการเป็นครูวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภา มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่มีรูปแบบหลากหลาย ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ(Formal) รูปแบบกึ่งทางการ (Non-formal) และรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ (Informal)  อย่างสร้างสรรค   มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในวิชาเอกที่จะสอนอย่างบูรณาการ
สร้างทักษะในการใช้จิตวิทยาการเรียนการสอนและความเป็นครูวิชาชีพ ทดลองปฏิบัติการใช้จิตวิทยาในการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล ทดลองปฏิบัติการสอนความเป็นความเป็นครูวิชาชีพเป็นรายบุคคล มอบหมายงานรายบุคคล และรายกลุ่ม  สาธิตการปฏิบัติโดยวิทยากรพิเศษ
ประเมินพฤติกรรมการใช้จิตวิทยาในการเรียนการสอนและความเป็นครูวิชาชีพ สังเกตทักษะที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเรียนรู้ มีการประเมินผลการทำงานรายบุคคลและรายกลุ่ม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 ,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 17 10% 25% 10% 25%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 

กุญชรี  ค้าขาย. (2540). จิตวิทยาการเรียนการสอน.  คณะครุศาสตร์  สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
ทวีพร  วิรัชชัยและสงวนศรี  วิรัชชัย. (2541). จิตวิทยาการเรียนการสอน. คณะครุศาสตร์   
              สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์
ทวีพร  วิรัชชัยและสงงนศรี วิรัชชัย. (2545).การประยุกต์จิตวิทยาสำหรับครู.คณะครุศาสตร์
             มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ธีระวัฒน์ วรรณนุช. (2561). วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน
               2565, จาก http://teerawat.secondary3.go.th/wp-content/uploads/2018/คู่มือการ
              พัฒนาวินัยnew.pd
นุชลี  อุปภัย.(2558). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
เบญจวรรณ  กี่สุขพันธ์ และคณะ. (2557). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา1011202 วิชาชีพครูและ
             ความเป็นครู  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์. (2546).จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
ลักขณา  สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
วันทนี  อนุพันธ์และฤทธิไกร ตุลวรรธนะ. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม มาตรฐานความรู้
              วิชาชีพครูของคุรุสภา  9 มาตรฐาน ปีการศึกษา 2558 หลักสูตรความเป็นครู. คณะครุศาสตร์
               มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และวรวรรณ นิมิตรพงษ์กุล. (2562). สอนสร้างสรรค์ เรียนสนุกยุค 4.0+. (พิมพ์ครั้งที่
               1). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น
สุรางค์  โคว้ตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
              จุฬาลงกรณ์      มหาวิทยาลัย
Sheffer R. David and Kipp Katherine. (2002). Developmental Psychology : Childhood and
             Adolescence.  Wadsworth Thomson  Learning: C.A.
Miller H. Patricia (2011). Theories of Developmental Psychology. Worth Publishers : C.A.
 
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
1.2  การประเมินผลการสอนตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย  และการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชา
1.3  การรับข้อมูลเสนอแนะจากนักศึกษา  เพื่อพิจารณาพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและ กิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้

การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ การพิจารณาจากผลการประเมินผู้สอนโดยผู้เรียน
การปรับปรุงการสอน  มีการนำผลการประเมินจากข้อ ๒-๓  มาใช้พิจารณาโดยใช้การระดมสมองจากผู้สอนในรายวิชานี้ร่วมกัน  หาแนวทางและปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ทั้งด้านการจัดกระบวนการการเรียนการสอนกิจกรรม  และสื่อประกอบที่ทันสมัย  ตลอดจนเอกสารประกอบ
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนน
สอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินการสอน  การปรับปรุงการสอน  และทดสอบการสอนผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาได้มีการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลรายวิชา  โดยมีการวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชา  โดยมีการปรับปรุงรายวิชา  ตามข้อเสนอแนะของผู้สอนและผู้เรียนหรือตามการทดสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์  โดยมีการวางแผนปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง