กระบวนการคิดและการแก้ปัญหา

Process of Thinking and Problem Solving

1.1 เข้าใจแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการคิด 1.2 วิเคราะห์ให้เหตุผลในการนำกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 1.3 มีความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ 1.4 ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่
เพื่อปรับกระบวนการรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ศึกษาแนวคิด ทฤษฏี เทคนิคและกระบวนการพัฒนาการฝึกคิดแบบต่างๆ หลักการใช้เหตุผล แรงบันดาลใจ ส่งเสริมความคิดโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นกรณีศึกษา Study concepts, theories, techniques and development processes for thinking and reasoning; inspiration for encouraging ideas; Lanna and Thai wisdom; innovation and modern technologies are employed as a case study.
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
ยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับอาจารย์ อภิปรายกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยด้านการเน้นคุณธรรมจริยธรรมในการเข้าชั้นเรียนให้ตรงต่อเวลา ลงมือปฏิบัติจริง มีวินัย ขยัน อดทนในงานที่ได้รับมอบหมาย
เข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 Design Thinking กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 การคิดอย่างเป็นระบบ (System thinking) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 การคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative thinking) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical thinking) การฝึกปฏิบัติการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดวิพากษ์ และการคิดแบบมีวิจารณญาณผ่านการทำกิจกรรมกระดานเกมส์ (Board Games) กลุ่มละ 4-7 คน ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ (reflection) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 5 การคิดแก้ปัญหา ฝึกคิดด้วยเกมส์ (Problem solving) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 6 การส่งเสริมความคิดโดยใช้ภูมิปัญญาไทย การส่งเสริมความคิดโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี
1. ฝึกปฏิบัติ 2. ฝึกปฏิบัติ 3. ฝึกปฏิบัติ 4. มีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดวิพากษ์ และการคิดแบบมีวิจารณญาณผ่านการทำกิจกรรมกระดานเกมส์ (Board Games) กลุ่มละ 4-7 คน ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ (reflection) 5. ฝึกปฏิบัติ 6. ฝึกปฏิบัติ
มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ฝึกปฏิบัติการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบผ่านกิจกรรมต่อไปนี้ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 Design Thinking กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 การคิดอย่างเป็นระบบ (System thinking) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 การคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative thinking) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical thinking) การฝึกปฏิบัติการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดวิพากษ์ และการคิดแบบมีวิจารณญาณผ่านการทำกิจกรรมกระดานเกมส์ (Board Games) กลุ่มละ 4-7 คน ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ (reflection) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 5 การคิดแก้ปัญหา ฝึกคิดด้วยเกมส์ (Problem solving) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 6 การส่งเสริมความคิดโดยใช้ภูมิปัญญาไทย การส่งเสริมความคิดโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 7 การคิดแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ การสำรวจชุมชน
-วิเคราะห์โจทย์ปัญหาจากสถานการณ์ในชุมชนผ่านกิจกรรม Community Learning การคิดแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ การออกชุมชน คิด และนำเสนอผลงาน มีผลงานต้นแบบ (Prototype) การแก้ไขปัญหาชุมชนที่แสดงถึงการบรรลุเป้าหมายในการทำงาน มีการนำเสนอผลงานที่ระบุขั้นตอนของการใช้การคิดวิเคราะห์ (มีเหตุมีผล) การคิดสังเคราะห์ (มีการประมวลผล การสรุปผล) การคิดวิพากษ์ (การตัดสิน) -วิเคราะห์โจทย์ปัญหาจากสถานการณ์ กรณีศึกษาที่กำหนดให้ โดยใช้ทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ฝึกปฏิบัติการร่วมมือการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) การมีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ในการลงพื้นที่สำรวจชุมชน การจัดทำข้อมูลการแก้ไขปัญหาชุมชน การสร้างต้นแบบ (prototype) การจัดทำโปสเตอร์และการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงาน
ความร่วมมือและความพร้อมของการจัดทำข้อมูลการแก้ไขปัญหาชุมชน การสร้างต้นแบบ (prototype) การจัดทำโปสเตอร์และการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงาน
สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดทำข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่ชุมชน การสร้างต้นแบบ (prototype)การแก้ไขปัญหาชุมชน การจัดทำโปสเตอร์และการนำเสนอผลงาน
ผลงานต้นแบบ (prototype) และการนำเสนอผลงานต้นแบบการแก้ไขปัญหาชุมชนของกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 GEBIN101 กระบวนการคิดและการแก้ปัญหา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม เข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ส่งงานที่ได้รับมอบหมาย 1-8, 10-16 ร้อยละ 10
2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลสะท้อนกลับ ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ 1-6 -ผลงานจากการทำกิจกรรม ได้แก่ แผนที่ความคิด (Mind Mapping) การนำเสนอผลงานการออกแบบชิ้นงาน การอภิปรายกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับอาจารย -แบบทดสอบปลายภาค 1-6, 17 ร้อยละ 40
3 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ -ผลงานต้นแบบการแก้ไขปัญหาชุมชน -แบบทดสอบปลายภาค 9, 14-15, 17 ร้อยละ 35
4 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม ใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม -ผลงานต้นแบบ (prototype) และการนำเสนอผลงานต้นแบบการแก้ไขปัญหาชุมชนของกลุ่มย่อย 13 ร้อยละ5
5 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ -การนำเสนอผลงานต้นแบบ (prototype) การแก้ไขปัญหาชุมชนในกลุ่มใหญ่ -โปสเตอร์ 14-15 ร้อยละ10
-นักศึกษาทุกคนประเมินผลรายวิชาจากคำถามที่อาจารย์ผู้สอนจัดทำขึ้นในระบบออนไลน์ ตลอดจนแสดงผลให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหา -นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
-เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในระหว่างการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้  -มีการกำหนดแผนการสอนให้มีการสะท้อนคิด (Reflection) ในการวางแผนการสอน
-นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และประมวลผลเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงระหว่างการจัดการเรียนการสอนและในภาคเรียนต่อไป
-การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายบุคคลโดยใช้แบบทดสอบปลายภาคเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการนำความรู้ไปใช้อย่างมีระบบผ่านคำถาม 3 ข้อใหญ่ 6 ประเด็นย่อย
-นำผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ภาพรวมไปปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลรายวิชาในปีการศึกษาต่อไป