การสื่อสารภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ

English Communication and Information Technology

เพื่อฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างภาษาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางเทคโนโลยีสารสนเทศตามสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงมารยาทในการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์และเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบันทั้งในการปฏิบัติงานและชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
การเรียนรู้คำศัพท์ สำนวน โครงสร้างภาษาที่เกี่ยวกับการสื่อสารทางเทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงมารยาทในการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์และเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่

ความมีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
          1.2.1    ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณของการใช้สื่อและเทคโนโลยีในเนื้อหาของบทเรียน
          1.2.2    ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
          1.2.3    กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
          1.2.3  บูรณาการร่วมกับโครงการครูช่วยคิด เด็กช่วยทำ  และโครงการบูรณการรายวิชากับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
1.3.1    การทดสอบความเข้าใจในการสอบกลางภาคและปลายภาค
          1.3.2    การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
          1.3.3    การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ความรู้ทางภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
          2.2.1    ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
          2.2.2    ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
          2.2.3    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในและนอกชั้นเรียน
       2.2.4  บูรณาการรายวิชาในการร่วมพัฒนาชุมชนในโครงการออมสินยุวพัฒน์
    2.3.1          การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
          2.3.2    การฝึกปฏิบัติทั้งในและนอกชั้นเรียน
          2.3.3    ผลงานจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
 
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
          3.2.1    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ
          3.2.3    ให้นักศึกษาวิเคราะห์ลักษณะของภาษาที่ใช้ในการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3.1    การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
          3.3.2    การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
          3.3.3    การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดีในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ทั้งระหว่างบุคคลในวัฒนธรรมเดียวกันและต่างวัฒนธรรม
4.2.1    สอดแทรกเนื้อหาในรายวิชาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมและมารยาทสากลในการสื่อสารภาษาในเครือข่ายออนไลน์
          4.2.2    ฝึกปฏิบัติการเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารให้เหมาะสมกับบริบท
4.3.1    สังเกตพฤติกรรมในระหว่างการฝึกปฏิบัติการสื่อสารภาษา
          4.3.2    การทดสอบการเลือกใช้ภาษาในสถานการณ์ที่กำหนด
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้น
          5.1.1    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล การนำเสนอและการเผยแพร่ผลงานในรายวิชา
          5.1.2    การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำรายงาน รวมทั้งนำเสนอและ/หรือเผยแพร่ผลงาน
          5.1.3    การใช้ภาษาในการสื่อสารผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามสถานการณ์ที่กำหนด
 
ประเมินจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา ได้แก่
          5.2.1    บรรยายแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม (interactive lecture)
          5.2.2    สาธิตและฝึกทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน รวมทั้งการนำเสนอและ/หรือเผยแพร่ผลงาน
          5.2.3    สาธิตและฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามสถานการณ์ที่กำหนด
          5.2.4    มอบหมายงานให้ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอผลงาน/เผยแพร่ผลงานผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1    การทดสอบความรู้ด้านภาษาในการสอบกลางภาคและปลายภาค
          5.3.2    สังเกตพฤติกรรมการฝึกปฏิบัติระหว่างเรียน
          5.3.3    ประเมินจากผลงานการนำเสนอและ/หรือเผยแพร่ผลงาน
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะในการปฎิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 ึ7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC118 การสื่อสารภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค 8 25%
2 สอบปลายภาค 17 25%
3 แบบฝึกหัด / กิจกรรม / งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
4 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
          2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
          5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
          5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์