ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต

Sufficiency Economy and Wisdom of Living

1. เพื่อให้เข้าใจหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เพื่อให้เข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่า เห็นความสำคัญ ร่วมส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต
4. เพื่อให้เข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต
5. เพื่อให้เข้าใจหลักธรรมาภิบาล และการนำไปใช้เพื่อบริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
3. เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง
         ศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตรหรือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) แห่งราชวงศ์จักรี โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักธรรมาภิบาล ภูมิปัญญา การคิดและการบริหารจัดการชีวิตอย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและกระแสสังคมโลก การบูรณาการวัฒนธรรมที่หลากหลายสู่การดำเนินชีวิต การมีจิตสาธารณะและรักษ์สิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขบนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม และหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง
1. นักศึกษาติดต่อโดยตรง วันพุธ เวลา 15.00-16.30 น.
2. นักศึกษาติดต่อผ่านทาง e-mail : aj.Peravit@gmail.com
3. นักศึกษาติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook ; AjPeerawit Chaimala
       เพื่อให้คำปรึกษาในการเรียนการสอน ติดต่อสอบถามงานที่มอบหมาย และแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ โดยเฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
 1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
 1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
 1.1.4 เคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง หลักเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
1.2.2 อภิปรายกลุ่มเรื่องโครงการตามแนวพระราชดำริ หมู่บ้านพอเพียง ชุมชนพอเพียง โดยให้ผู้เรียนยกกรณีตัวอย่างหมู่บ้าน หรือชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ โดยให้ผู้เรียนวิเคราะห์ความแตกต่างในชุมชนก่อนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้หมู่บ้าน หรือชุมชนได้อย่างไร และหลังนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้แล้วหมู่บ้าน หรือชุมชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
1.2.3 แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ และลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน และแสดงนิทรรศการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเผยแพร่ผลงานที่ได้ลงพื้นที่ศึกษารวมถึงการได้รับประสบการณ์และองค์ความรู้ในด้านต่างๆ
1.2.4 ดำเนินการทำการวิจัยในชั้นเรียน และการวิจัยเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.2.5 ใช้สื่อการสอน เช่น power-point, clip วีดีโอ , วีดีทัศน์ , โฆษณา, สารคดี และอื่น ๆ
1.2.6 การบรรยายประกอบสื่อการสอน ผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Teams) และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนออนไลน์
1.3.1 การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตรงเวลาตามที่กำหนด
1.3.2 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.3 ประเมินผลจากการวิเคราะห์งานบุคคลต้นแบบพอเพียง และชุมชนพอเพียง
1.3.4 ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยใช้สื่อที่เหมาะสม เช่นโปรแกรม Power point วีดีทัศน์ และอื่น ๆ
1.3.5 ประเมินจากคะแนนสอบกลางภาคและปลายภาค
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพ กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.2.1. บรรยายครอบคลุมเนื้อหาตามคำอธิบายรายวิชา เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถามหรือแสดงความเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ
2.2.2. มอบหมายให้มีการทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม หรือการปฏิบัติจริง ฝึกการคิดและวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าว สารคดี เศรษฐกิจพอเพียงตามหัวข้อที่เรียนการใช้ชีวิตในยุคโลกาภิวัติ โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
2.2.3. การบรรยายประกอบสื่อการสอน ผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Teams) และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนออนไลน์
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี และการประยุกต์ใช้
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
3.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 ฝึกทักษะการบรรยายประกอบสื่อ ผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Teams) และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนการประยุกต์ความรู้และความคิดสร้างสรรค์
3.2.2 ฝึกทักษะการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ในการลงไปศึกษาในสถานที่จริงแล้วถอดบทเรียนและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point 
3.2.3 ฝึกทักษะในการถอดบทเรียนจากคลิปวีดีโอและร่วมวิพากษ์วิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์
 
3.3.1 ประเมินผลจากผลงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย และการส่งงานตรงเวลาที่กำหนด
3.3.2 ประเมินผลจากเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน
3.3.3 ประเมินจากการสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 การมอบหมายงานกลุ่ม
4.2.2 ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยการยกตัวอย่างศาสตร์อื่นๆมาประกอบ เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม
4.3.1 ประเมินจากความรับผิดชอบของงานกลุ่มที่มอบหมาย
4.3.2 ประเมินจากการนำเสนองาน สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
5.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
5.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD, วีดีทัศน์, เทปเสียง และสารคดี
5.2.2 การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip
 
ประเมินจากผลงานและการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 , 1.3 , 2.1 , 2.3 , 3.1 , 3.2 , 4.4 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 9,18 50%
2 1.3 , 2.1 , 2.3 , 3.1 , 3.2 , 4.3 , 4.4 , 5.2 ประเมินจากรายงาน ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายและกิจกรรมในชั้นเรียน ประเมินจากความรับผิดชอบของกลุ่ม ประเมินจากการนำเสนองาน ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.3 การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานตรงเวลา การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการร่วมกิจกรรมกลุ่ม หรือกิจกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.1. เอกสารประกอบการสอน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” เรียบเรียงโดย อ.ภีราวิชญ์ ชัยมาลา สาขาศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย 2560
1.2. หนังสือเศรษฐกิจพอเพียง เรียบเรียงโดย ดร.สิริยะ เจียมประชานรากร
1.3. (Sufficiency Economy for Sustainable Development) เรียบเรียงโดย แผนกวิชาสังคมศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่
1.4 หนังสือพลังของจิตอาสากับการเปลี่ยนผ่านพุทธเศรษฐศาสตร์ เรียบเรียงโดย ภีราวิชญ์ ชัยมาลา สาขาศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
2.1 ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. เศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:อาร์ทลี่ย์ เพรส, 2550.
2.2 พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง อะไร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์, 2550.
2.3 รงค์ ประพันธ์พงศ์. เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
สถาพรบุ๊คส์, 2553.
2.4 สมพร เทพสิทธา. การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนและแนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทของศาสนาและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมชายการพิมพ์,2550. 2.5 สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. แนวทางปฏิบัติ 7 ขั้นสู่วิถี เศรษฐกิจพอเพียง จากแนวปฏิบัติสู่แนวคิดทางทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 2550.
3.1 เอกสารที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภูมิพลอดุลยเดช. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา. คำพ่อสอน : ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ, 2551.
3.2 ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. เศรษฐกิจพอเพียง : ความพอเพียงมวลรวมในประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:G.P. CYBERPRINT CO., LTD, 2550.
3.3 เสรี พงศ์พิศ.เศรษฐกิจพอเพียง:(สำหรับวิทยากร).พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:เจริญวิทย์การพิมพ์, 2550.
- เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมและเว็บไซด์อื่น ๆ
เศรษฐกิจพอเพียง(Online). แหล่งที่มา: http://longlivetheking.kpmax.com/
เศรษฐกิจพอเพียง(Online). แหล่งที่มา: http://www.doae.go.th/report/SE/
เศรษฐกิจพอเพียง(Online).แหล่งที่มา:http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html
โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง(Online). แหล่งที่มา: http://www.sufficiencyeconomy.org/
 
1.1 ผลการประเมินผู้สอนออนไลน์
1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วม
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 ติดตามงานที่มอบหมายและการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนจากผลการประเมินของนักศึกษา แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันยุคสมัยให้มีความน่าสนใจ
3.2 จัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน สื่อการสอน รวมถึงการวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก้นักสึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้
4.2 บันทึกหลังการสอน
5.1 นำผลที่ได้จากการประเมินของนักศึกษา คะแนนสอบ นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป