สัมมนาการตลาด

Seminar in Marketing

                ศึกษาและอภิปรายเพื่อนำความรู้ทางวิชาการด้านการตลาด และการศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ แก้ปัญหา ตลอดจนการตัดสินใจด้านการตลาดอย่างมีระบบและสามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงได้  เน้นการศึกษาประเด็นทางการตลาดที่ทันสมัยและการนำเอาทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ ตลอดจนการสร้างความเข้าใจในบทบาทของการตลาดต่อองค์การธุรกิจและความสัมพันธ์กับหน้าที่ทางธุรกิจอื่น ๆ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการนำความรู้ความเข้าใจและการนำไปใช้ในเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ  ด้านการตลาด   การวิเคราะห์สถานการณ์และข้อมูล   ต่าง ๆ  เพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างมีระบบ  และเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการตลาดและบริหารธุรกิจต่อไป
ศึกษาและอภิปรายเพื่อนำความรู้ทางวิชาการด้านการตลาด และการศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ แก้ปัญหา ตลอดจนการตัดสินใจด้านการตลาดอย่างมีระบบและสามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงได้  เน้นการศึกษาประเด็นทางการตลาดที่ทันสมัยและการนำเอาทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ ตลอดจนการสร้างความเข้าใจในบทบาทของการตลาดต่อองค์การธุรกิจและความสัมพันธ์กับหน้าที่ทางธุรกิจอื่น ๆ
อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านบอร์ดของสาขาวิชา สื่อออนไลน์ และผ่านการเรียนประจำสัปดาห์ อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่มและเป็นห้องเรียน  อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
1.1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเอง และต่อผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวคิดความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ  ขององค์กร และสังคม มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
1.2.1   บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
1.2.2   ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลและอภิปรายกลุ่ม
1.2.3   ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพจากกรณีศึกษาทางด้านการบรรจุภัณฑ์
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน  และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่กำหนด
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารหรือข้อมูลที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าอย่างถูกต้องและชัดเจน

  ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย

 
2.1.1 มีความรู้และเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2.1.2 มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์
2.1.3 มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผนการปฏิบัติการ ควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและกระทบอย่างเท่าทัน
ใช้การสอนภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติ การอภิปราย การมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่
เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอรายงานกลุ่ม การทบทวนความรู้ความเข้าใจด้วย การฝึกปฏิบัติและออกแบบบรรจุภัณฑ์พร้อมการนำเสนอ การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ ความเข้าใจ  การวิเคราะห์ และการนำไปใช้
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าข้อมูล และกรณีศึกษา
2.3.3 ประเมินชิ้นงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการนำเสนอผลงาน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารยุคใหม่ๆ สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลมาจากทางเลือกรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ มีความกล้าตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
มอบหมายให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการ หรือทำโครงงานพิเศษ ที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลหรือกรณีศึกษา และอภิปรายกลุ่ม
3.3.1 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค โดยเน้นการวัดความรู้ ความเข้าใจ การวิเคราะห์ และการนำไปใช้
3.3.2 ผลจากการประเมินชิ้นงาน หรือโครงงานพิเศษ และการนำเสนอผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล และพฤติกรรมกลุ่ม
มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
4.2.1 กิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือกรณีศึกษา
4.2.2  มอบหมายการทำงานกลุ่ม และงานรายบุคคล  เช่น การศึกษาค้นคว้าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินผลจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมและงานรายบุคคล
4.3.2 ประเมินจากการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากแบบฝึกหัด และรายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
                5.1.1 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                5.1.2 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
                                5.1.3 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียน เทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากฐานข้อมูลทางการตลาดผ่านสื่อ    ต่าง ๆ
5.2.2 นำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบของสื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากการเขียนรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.3.3 ประเมินจากการจัดโครงการสัมมนา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 ุุ6 1 2 3 4 5 ุุ6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 ุุ6 7 1 2 3 4 5 ุุ6 3 4 5 1 2
1 BBABA613 สัมมนาการตลาด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.1, 2.4 และ 2.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 30% 30%
2 1.1, 1.4, 1.5, 2.1, 2.2, 2.4, 4.2, 4.3, 4.4 และ 5.4 ศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์กรณีศึกษาอภิปรายกลุ่ม การทำงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน การส่งงานตามมอบหมาย การจัดโครงการสัมมนา ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1 – 1.5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมการถาม – ตอบระหว่างเรียน คิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ศศิวิมล สุขบท (2550).การตลาดระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
 
รศ.ดร. เสรี วงษ์มณฑา. กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์, 2547.
สุวิมล  แม้นจริง, ผศ., การจัดการตลาด. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2546
รศ.ศิริวรรณ  เสรีรัตน์ และคณะ. กลยุทธ์การตลาด  การบริหารการตลาด และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์, 2541.
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาดังนี้

การถาม – ตอบระหว่างเรียนการสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผลการเรียนของนักศึกษา ข้อเสนอแนะผ่านการประเมินการสอนของอาจารย์ประจำวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

การสังเกตการสอน ความร่วมมือของนักศึกษา ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง  และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ที่ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือตรวจผลงานของนักศึกษา  รวมถึง พิจารณาจากผลการนำเสนอผลงาน และหลังผลการเรียนของรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่นหรือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจข้อสอบ  รายงาน  วิธีการให้คะแนนสอบ  และการให้คะแนนพฤติกรรม
ผลการประเมินและการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิผลรายวิชาโดยมีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3  ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมอง ในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ผู้สอนต้องมีความกระตือรือร้นในการค้นหาข้อมูล หรือกรณีศึกษาใหม่ ๆ ให้แก่นักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ