การจัดการผลิตภัณฑ์และตราสินค้า

Product and Brand Management

ศึกษาบทบาทของผลิตภัณฑ์ แนวคิดการจัดการส่วนผสมผลิตภัณฑ์ การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายผลิตภัณฑ์ ความหมายความสำคัญของตราสินค้า การรับรู้ของผู้บริโภคต่อภาพลักษณ์ตราสินค้า องค์ประกอบของตราินค้าในมิติต่าง ๆ คุณค่าโดยรวมของตราสินค้า
เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้จัดการผลิตภัณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับกรจัดการกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์และตราสินค้า และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานการบริหารตราสินค้า การกำหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์การสร้างตรา โดยมุ่งเน้นให้ผุ้เรียนได้มองเห็นแนวทางการนำหลักการไปประยุกต์ใช้กับการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้
ศึกษาบทบาทของผลิตภัณฑ์ แนวความคิดการจัดการส่วนผสมผลิตภัณฑ์ การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายผลิตภัณฑ์ ควาหมาย ความสำคัญของตราสินค้าในมิติต่าง ๆ คุณค่าโดยรวมของตราสินค้า
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล และรายกลุ่มตามความต้องการอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาย สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
4. เคารพในสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
 
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างสอดแทรกในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้อง แล้วให้นักศึกษาร่วมอภิปรายแนวปฏิบัติที่ดี และเหมาะสม
2. อภิปรายกลุ่ม
3. กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
4. ศึกษากรณีตัวอย่างจากการนำเสนอ
 
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
5. ประเมินจากการสอบ / แบบทดสอบ
6. ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรม / โครงการของนักศึกษา
มีความรู้ในหลักการ และความเข้าใจในสารถสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจทางการตลาด การเงิน การผลิต และการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผนการปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มอบหมายให้ทำรายงาน โครงงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน นักศึกษาทุกคนศึกษาประสบการณ์ตรงจากสถานประกอบการโดยผ่านการฝึกประสบการณ์สหกิจศึกษา หรือการฝึกงานด้านบริหารธุรกิจ
1. ประเมินผลจากแบบทดสอบด้านทฤษฎี สำหรับการปฏิบัติ ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติการ
2. ประเมินจากการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ ๆ 
2. สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3. สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
4. มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
1. การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
2. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3. การสอบแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียนและมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4. ให้นักศึกษาปฏิบัติจากสถานการณ์จริง
 
1. สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบ นำทฤษฎีความรู้มาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษาหรือกรณีตัวอย่างที่มอบให้
2. ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
3. ประเมินจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
 
1. มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้งสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยข้องอย่างมีจิตวิทยาที่ช่วยพัฒนาทักษะในการสร้างความสัมภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำ
3. มีความกระตือรือร้น พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วยตามกำหนดเวลา
4. มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
1. กำหนดการทำงานกลุ่ม โดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2. ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
3. ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นแบบระดมสมอง (Bainstoming) เพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
 
1. ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
2. ประเมินพฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ติดตามที่ดี
3. สังเกตพฤติกรรมการะดมสมอง (Bainstorming)
4. ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะตามลักษณะงาน
1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในกาวิเคราะห์และตัดสินใจทางธรกิจ
2. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.  สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
4. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงนและการนำเสนอด้วยวาจา
5. สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิค วิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย
6. ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
7. ความสามารถนำเทคโนโลยการสื่อสารแบบเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
1. ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนพื้นฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
2. การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการงานที่ได้รับมอบหมาย
3. ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1. ประเมินจากผลงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
2. ประเมินผลงานจากการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายแต่ลบุคคล
3. ประเมินทักษะการสื่อสารด้วยภาษา จากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 ุุ6 1 2 3 4 5 ุุ6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 ุุ6 7 1 2 3 4 5 ุุ6 1 2 3 4 5
1 BBABA603 การจัดการผลิตภัณฑ์และตราสินค้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 30% 30%
2 การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ผศ.ดร.นภวรรณ คณานุรักษ์ . การจัดการผลิตภัณฑ์และราคา กรุงเทพมหานคร : บริษัท ซีวีแอลการพิมพ์ จำกัด กรุงเทพฯ         
สุดาดวง เรืองรุจิระ. นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพมหานคร
การจัดการตราสินค้า
1. สุดาดวง เรืองรุจิระ, นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพมหานคร . สำนัก พิมพ์ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์, 2540
           2. สุดาดวง เรืองรุจิระ, หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร . สำนัก พิมพ์ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์, 2540
           3. บทความทางการตลาด นิตยสาร วารสารทางการตลาด เช่น BRANDAGE, MARKETEER, MBA
      4. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ประชาชาติธุรกิจ สยามธุรกิจ เป็นต้น
 
เว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
www.matichon.co.th,
www.brandagemag.com,
www.marketingthai.or.th,
www.manager.com,
www.4ponline.com,
www.position.com,
www.businessthai.co.th,
www.manager.co.th,
www.marketeer.co.th,
www.positioningmag.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   จัดเวลานอกเวลาเรียนเพื่อให้คำปรึกษาเพิ่มเติม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการให้อาจารย์ในสาขาวิชาร่วมตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ