ปรัชญาและหลักการอาชีวศึกษา

Philosophy and Principles of Vocational Education

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
          1 เข้าใจความหมายปรัชญาและทฤษฎีทางด้านการศึกษา
          2 การประยุกต์และการพัฒนาระบบการศึกษา
          3 ศึกษาผลกระทบด้านศาสนา เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม         
          4 อธิบายระบบการศึกษาและอาชีพครูในสังคมโลกแนวคิด   
          5 กลวิธีการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
          6 เปรียบเทียบการสื่อสาร ภาษาและวัฒนธรรมไทยเพื่อการเป็นครู
           7 การใช้ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อการ
              สื่อความหมายอย่างถูกต้อง
           8 ประยุกต์ใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู
           9 มีทักษะการใช้ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจปรัชญาและหลักการอาชีวศึกษา มาใช้ในการเรียนการสอนและการฝึกอบรม เป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
1. คำอธิบายรายวิชา
            ศึกษาเกี่ยวกับความหมายขอบข่ายและความสำคัญของอาชีวะและเทคนิคศึกษา ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางการศึกษา ศาสนา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม  ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาวิวัฒนาการและแนวโน้มของการอาชีวะและเทคนิคศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศนโยบายการจัดการศึกษา แนวคิด และกลวิธีการจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของชาติและของอาชีวะและเทคนิคศึกษาประยุกต์ใช้แนวคิดเพื่อพัฒนาสถานศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการเรียนการสอนในอาชีวศึกษา
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ของสาขาวิชาและหน้าห้องพัก
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1    มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1   สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
          1.2.2   สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
          1.2.3   เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
          1.2.4   ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
          1.2.5   เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
          1.2.6   ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
            1.2.7   ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
          1.3.2   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
          1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
          1.3.4   ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
          1.3.5   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจหลักปรัชญาและทฤษฎีทางด้านการศึกษา การประยุกต์ในการพัฒนาระบบการศึกษา
              2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและแนวทางการประยุกต์ปรัชญาและทฤษฎีทางด้านการศึกษา การประยุกต์ในการพัฒนาระบบการศึกษา
              2.1.3 สามารถ บูรณาการความรู้ด้านปรัชญาและทฤษฎีทางด้านการศึกษา กับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาในการพัฒนาระบบการศึกษา
บรรยาย  อภิปราย การทำรายงานการนำเสนอรายงาน ฝึกปฏิบัติและมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความเข้าใจและทักษะปฏิบัติ
2.3.2   ประเมินจากการรายงาน การนำเสนอรายงาน และงานที่มอบหมาย
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
             3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1  การมอบหมายงาน/การบ้านที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์
        3.2.2 การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร
3.2.3   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และวิเคราะห์ บรูณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชาปรัชญาและหลักการอาชีวศึกษา
3.3.2   ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน และงานที่รับมอบหมาย
3.3.3   วัดผลจากการประเมินจากรายงาน  การนำเสนอผลงาน
3.3.4   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การวิเคราะห์กระบวนการสอน แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ รวมทั้งการอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.2   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2   ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
             5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
6.1.1  สามารถปฏิบัติงานมอบหมายครบตามวัตถุประสงค์
          6.1.2  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          6.1.3  มีกิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติจัดเรียนการสอน
                   6.1.4  มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การวิเคราะห์กระบวนการสอน แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ รวมทั้งการอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
6.2.2   การนำเสนอรายงาน
6.3.1   ประเมินพฤติกรรมการสอนชั่วโมงปฏิบัติการโดยนักศึกษา
          6.3.2   สร้างแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
          6.3.3   พิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3.1, 5.1,5.2 สอบกลางภาค ทดสอบย่อย สอบปลายภาค 9 18 20% 20% 20%
2 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.1,5.2 การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.3, 4.1,4.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
ชนะ กสิภาร์. “หลักสูตรกับครูอาชีวะและเทคนิคศึกษาในอนาคต.” ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงหลักสูตร สาขาวิชาช่างกลเกษตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและ
อาชีวศึกษา, 2530. (เอกสารอัดสำเนา)
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ. การบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2536.
บรรเลง ศรนิล และคณะ. รายงานการวิจัยเส้นทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี.
กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ, 2548.
จำเริญรัตน์ เจือจันทร์. จริยศาสตร์ : ทฤษฎีจริยธรรมสำหรับนักบริหารการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นตัง เฮ้าส์, 2548.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมกับพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการไทย. มมป :
เอกสารอัดสำเนา, 2538.
ประภาศรี สีหอำไพ. พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
พระเทวินทร์ เทวินโท. พุทธจริยศาสตร์. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, 2544.
วริยา ชินวรรโณ. บทนำ : จริยธรรมในวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2546.
วิชา มหาคุณ. บทนำ : จริยธรรมในวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2546.
สุภัททา ปิณฑะแพทย์. จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร : หอรัตนชัยการพิมพ์, 2527.
3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา http://www.Supatta.haysamy.com/learn 2_1.html
http://www.oae.go.th/zone/zone5/Kunnatham.doc
http://winterwaltz.exteen.com/20070601/entry
http://www.psdb.ku.ac.th/government/essay/standard.pdf
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4