มนุษยสัมพันธ์

Human Relations

1. เข้าใจเนื้อหาและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชามนุษยสัมพันธ์
2. เข้าใจและสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น รวมถึงมีสามารถในการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นได้
3. เข้าใจสถานการณ์ในการปฏิบัติงาน และมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน ทั้งในบทบาทของผู้นำและผู้ตาม 
4. เข้าใจการสื่อสารเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
5. นำหลักและวิธีการในวิชามนุษยสัมพันธ์ไปใช้ในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน
6. เห็นคุณค่า และตระหนักในความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์  เป็นการเตรียมความพร้อมในการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นในสังคม ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและทำงานเป็นทีมได้ดียิ่งขึ้น
ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ การศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันและการทำงาน มนุษยสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำ การบริหารความขัดแย้ง การติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรง และสามารถนัดหมายวัน เวลา เข้าพบผ่าน e-mail และ Line เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และมีเวลาให้นักศึกษานัดหมายงานต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่น และทราบหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีพื้นฐานวัฒนธรรมไทยและแนวคิดตามหลักพุทธศาสนา ทำให้สามารถปรับตน ปรับใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เป็นที่ชื่นชอบและชื่นชมของบุคคลทั่วไป โดยมีคุณสมบัติดังนี้               1. ตระหนักและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
              2. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมอย่างสมานฉันท์
              3. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
              4. ตระหนักในความสำคัญและความจำเป็นของคุณธรรม จริยธรรม การเสียสละ ความซื่อสัตย์สุจริต การมีวินัย เคารพกฎระเบียบกติกาของสังคม
              5. มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี 
 - บรรยายพร้อมซักถาม
 - อภิปรายกลุ่ม
- รายงานกลุ่ม/นำเสนอผลงาน
- วิพากษ์
- กรณีศึกษา
-  ฝึกปฏิบัติ
-  ใช้สื่อการสอน เช่น power-point , Clip , วีดีทัศน์ และอื่น ๆ 
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์
มีความสามารถในการนำความรู้ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงาน
มีความสามารถในการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น ทั้งในฐานะของผู้นำและผู้ตาม
มีความสามารถในการบริหารความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในการทำงานร่วมกันได้ 
มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
บรรยายการเรียนรู้จากการทำงาน การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม  การวิเคราะห์  การฝึกปฏิบัติ   ตามหัวข้อที่เรียน พร้อมทั้งใช้สื่อจาก  www ,  Clips  และสื่อ IT  อื่น ๆ โดยเน้นการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
-  ทดสอบย่อยเป็นรายหน่วย
-  การนำเสนอในชั้นเรียน
-  การวิเคราะห์แนวคิดจากกรณีศึกษา
-  การตอบคำถามในชั้นเรียน
 การสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจตนเอง   เข้าใจผู้อื่น   รู้จักคิดวิเคราะห์แบบโยนิโสนมสิการ  หรืออย่างแยบคาย  มีความคิดเชิงวิพากษ์ หาข้อมูลและฟังแนวคิดของคนอื่น ๆ ก่อนที่จะเชื่อหรือปฏิบัติสิ่งใด  มีการฝึกเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม  โดยเฉพาะในบริบทของสังคมไทย                 3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ  3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ  
-  ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงาน โดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point
-  ให้นักศึกษาดู Clip แล้วร่วมวิพากษ์ วิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์
-  กรณีศึกษา
-  การสะท้อนแนวคิดจากความประพฤติและการเปลี่ยนแปลงเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์
-  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
-  วัดผลจากการประเมินการนำเสนอรายงานการศึกษาด้วยตนเองในภาพรวม พร้อมข้อคิดเห็นที่ได้รับ
-  การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
- รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน
- สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค 
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
      4.1.1   มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
      4.1.2   มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      4.1.3   สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
      4.1.4   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
                    -  พัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตาม รวมทั้งการทำงานเป็นทีม
                    -  พัฒนาทักษะการเคารพสิทธิของผู้อื่น
                    -  พัฒนาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  การให้เกียรติซึ่งกันและกัน
4.2.1   จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
4.2.2   กำหนดปฎิทินเวลานำเสนอ
4.2.3   ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ Power point ของผู้สอนสรุปเพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม
4.2.4  ประเมินตนเอง ประเมินผู้อื่น ตามแบบสอบถามที่ผู้สอนกำหนด พร้อมนำข้อบกพร่องมาปรับแก้
4.2.5  วิเคราะห์แนวคิดจากกรณีศึกษา 
4.3.1  ให้เพื่อนนักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
4.3.2  ครูประเมินตามแบบการนำเสนอ
4.3.3  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
4.3.4  แบบฝึกหัด
5.1.1  พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูลจาก website, clips, งานวิจัย, บทความวิชาการ
5.1.2  พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ  โดยเฉพาะการใช้สื่อจาก Internet
5.2.1  ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจากเว็บไซค์ หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD, วีดีทัศน์, เทปเสียง, โทรทัศน์    
5.2.2   การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point  และ/หรือ clips
5.3.1   พิจารณาจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน   
5.3.2   พิจารณาจากการใช้ Internet สืบค้นข้อมูล 
5.3.3   พิจารณาจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย เทคนิคการนำเสนอ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 GEBSO503 มนุษยสัมพันธ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม 1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ ได้รับมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด 2. ประเมินผลจากการปฏิบัติตาม กฎระเบียบ และความมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมชั้นในการทำกิจกรรมกลุ่ม สัปดาห์ที่ 1 - 16 10%
2 ความรู้ (พุทธิพิสัย) เก็บคะแนนครั้งที่ 1 - สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 9 30%
3 ความรู้ (พุทะิพิสัย) เก็บคะแนนครั้งที่ 2 - สอบปลายภาค สีปดาห์ที่ 16 30%
4 ทักษะทางปัญญา ระเมินผลจากการมีส่วนร่วมอภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน - ประเมินผลจากแบบฝึกหัดที่มอบหมาย สัปดาห์ที่ 1 - 16 15%
5 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การใช้เทคโนโลยี สาระสนเทศ การประเมินผล การนำเสนอ - ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่ผู้เรียนต้อง ใช้วิธีอภิปราย เสนอความคิดเห็น - ประเมินผลจากการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผ่านการทำรายงานรายบุคคล - ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่ผู้เรียนต้อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การนำเสนอรายงานโดยใช้ Power point สัปดาห์ที่ 1 - 16 15%
 วิมล  เหมือนคิด.  มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2543.  นพมาศ  ธีรเวคิน.  ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.  
สุจิตรา  พรมนุชาธิป.  มนุษยสัมพันธ์.  กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2543.   
การประเมินผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา
            1.1  นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินการนำเสนอ
            1.2  นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ ดังนี้
   2.1  สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายกลุ่มใหญ่
   2.2  สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
   2.3  ประเมินจากผลการนำเสนอ
   2.4  ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
การปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ
    3.1  แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัยโดยเฉพาะข่าวสารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
    3.2  ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
    3.3  ทำวิจัยนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคน และแจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
5.1  วิชามนุษยสัมพันธ์ ต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 4 ปี
5.2  เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้
5.3  ให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย พัฒนาชุมชนและสังคม