กลศาสตร์ของแข็ง

Mechanics of Solids

1. เข้าใจพื้นฐานความแข็งแรงของวัสดุ
2.คำนวณเกี่ยวกับความเค้นและความเครียด
3. คำนวณการบิดตัวของเพลา การเขียนไดอะแกรมแรงเฉือนและระยะแอ่นในคาน
4. คำนวณหาระยะแอ่นในคาน การกดโก่งของเสา วงกลมมอห์ร ความเค้นรวม
5. เห็นความสำคัญของความแข็งแรงของวัสดุ
เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางกลศาสตร์ของแข็งแก้ปัญหากับงานทางวิศวกรรมได้
 
ศึกษาเกี่ยวกับนิยามความเค้นและความเครียด การวิเคราะห์ความเค้นและความเครียดของชิ้นส่วนที่รับภาระ แนวแกนเดียว ภาระบิด ภาระดัด และภาระผสม การแอ่นของคาน ทฤษฎีการเสียหาย การล้า การโก่ง วิธีพลังงาน
อาจารย์ผู้สอน ให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียน โดยจัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพ
1.2.1 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากสถานประกอบการที่กี่ยวข้องกับงานในอนคตของนักศึกษา เช่น การนำโจทย์จากสถานประกอบการจริงมาใช้สอนนักศึกษา ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ กิจกรรมนำไปส่เนื้อหา (Activities before concept)
1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความซื่อสัตย์และเคารพต่อตนเอง โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การลอกการบ้าน การลอกกันระหว่างการทดสอบย่อย เป็นต้น 
1.2.3 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.3.1   คะแนนการทำโจทย์ปัญหาวิจัย การเข้าชั้นเรียน และการส่งงานตรงเวลา
1.3.2   การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
1.3.3   สังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการใช้วิธีการสอนในข้อข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายก็อาจเปลี่ยนสถานการณให้เหมาะสมมากขึ้น
 ความรู้ที่จะได้รับครอบคลุมตามวัตถุประสงค์รายวิชา ประกอบไปด้วย ความรู้พื้นฐาน กลศาสตร์ของแข็ง  ความเค้น ความเครียด การแอ่น การโก่ง โดยมีความรู้และความเข้าใจทางกลศาสตร์ของแข็ง เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีในเนื้อหาที่ศึกษาของสาขาวิชาเฉพาะด้านเมคาทรอนิค สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
บรรยายโดยใช้การแก้โจทย์ปัญหา (problem base learning)
Power point และกระดานไวท์บอร์ดให้แบบฝึกหัดทำในห้อง
การบ้าน และการทดสอบย่อย
2.3.1   ประเมินจาก การบ้าน แบบทดสอบย่อย การแก้ปัญหาวิจัย การทำงานเป็นกลุ่ม สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
2.3.2   พิจารณาจากงานที่มอบหมาย
พัฒนาความสามารถในการนำความรู้มาคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ หรือวิชาชีพและสามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านการออกเเบบกลไกสำหรับการใช้งานมางเมคคาทรอนิกส์ได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ใช้ตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยตนเอง และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา มอบหมายการบ้านและแบบฝึกหัดให้นักศึกษาทำประจำสัปดาห์ตามหัวข้อต่างๆและยกตัวอย่างการใช้วิชาที่เรียนกับงานวิจัย
ทดสอบย่อย ดูพฤติกรรมการเรียนรู้ สอบกลางภาคและปลายภาค โ
ดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำงานทั้งกลุ่มและเดี่ยว ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์กำหนดบทบาทในการทำงาน และให้นำเสนอผลงาน รวมทั้งให้นักศึกษามีบทบาทในการให้ความเห็นกับผลงานของคนอื่น หรือกลุ่มอื่น
4.3.1 ประเมินพฤติกรรม ภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
4.3.4 ประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบ power point และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3   เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งจากสถานะการณ์จำลองและในห้องแลบ
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย การนำเสนอผลงานด้วยสื่อเทคโนโลยีและพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ
6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอด
6.2.1 สาธิตตัวอย่างทางด้านวิศวกรรมเมคาทรอนิกส์
6.2.2 ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
6.3.3 พิจารณาจากแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในโครงงานที่ได้รับมอบหมาย ในรูปแบบของรายงาน ชิ้นงาน และสื่อต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGCC504 กลศาสตร์ของแข็ง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน/ การส่งงานตามที่มอบหมาย/ การมีส่วนร่วมในห้องเรียน ทุกสัปดาห์ 10
2 ด้านความรู้ 1. สอบกลางภาค 2. สอบปลายภาค 8,17 65
3 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ประเมินจากคะแนนจากงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 25
Mechanics of Materials, Tenth Edition in SI Units,  R.C. Hibbeler. ISBN 10: 1-292-17820-5 ISBN 13: 978-1-292-17820-2  
กลศาสตร์ของแข็ง,ศุภชัย ตระกูลทรัพย์ทวี
ISBN: 9748326993
 
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชาสามารถทำได้โดยจัดทำแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ผลการเรียนของนักศึกษา  และการสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 แล้ว ผู้สอนสามารถปรับปรุงการสอนจากคำแนะนำของผู้สังเกตการสอน และผลประเมินการสอนจากนักศึกษา
สามารถตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาตามหัวข้อและความคาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ซึ่งสามารถทำได้โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น