การบริหารงานอุตสาหกรรม

Industrial Management

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
เพื่อที่ต้องการให้ผู้ที่ศึกษาวิชานี้ได้เรียนรู้การการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ในงานอุตสาหกรรม เช่น การจัดการ การเงิน การบัญชี การตลาด การวางแผนด้านสินค้า โดยศึกษาโดยการบรรยาย และการศึกษาจากสถานที่จริง
 
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการด้านองค์กร หลักการจัดการ การตลาด พื้นฐานด้านงบประมาณ การเงินและบัญชี ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณ การทำงานเป็นทีม จัดการด้านวิศวกรรม และการศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารอุตสาหกรรม


 
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการด้านองค์กร หลักการจัดการ การตลาด พื้นฐานด้านงบประมาณ การเงินและบัญชี ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณ การทำงานเป็นทีม จัดการด้านวิศวกรรม และการศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารอุตสาหกรรม
20
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ วิธีการสอน
สอดแทรกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงภาระ ความรับผิดชอบของอาชีพครู และผลกระทบที่เกิดขึ้นหากครูไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียนตรงต่อเวลา มารยาทการใช้อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความซื่อสัตย์ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การลอกการบ้าน การลอกกันระหว่างการทดสอบย่อย เป็นต้น กำหนดบทลงโทษและชี้ให้เห็นถึงผลของพฤติกรรมดังกล่าวที่จะส่งผลกระทบต่อสังคมในอนาคต 1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 สังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการทดลองใช้วิธีการสอนในข้อข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายก็อาจเปลี่ยนสถานการณ์ให้เหมาะสมมากขึ้น
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
ความรู้ที่จะได้รับครอบคลุมตามวัตถุประสงค์รายวิชา ประกอบไปหลักการจัดการ การตลาด พื้นฐานด้านงบประมาณ การเงินและบัญชี ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณ การทำงานเป็นทีม จัดการด้านวิศวกรรม และการศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารอุตสาหกรรม การคำนวณค่าแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งต้องมีความรู้เพียงพอในการประยุกต์ในงานจริงได้
2.2 วิธีการสอน
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
2.3.2 ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
2.3.3 พิจารณาจากกิจนิสัย ความตั้งใจและการเข้าร่วมกิจกรรม
 
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.2 วิธีการสอน
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ 3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้
3.3.2 วัดผลจากการประเมินผลงานที่มอบหมาย
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
 
 
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา 4.2 วิธีการสอน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเกี่ยวกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน การเมืองที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และสภาวะการณ์โลก หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3 การนำเสนอรายงาน 4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.2 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room
5.1.6 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2 วิธีการสอน
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้ กิจกรรมที่ ผลการ เรียนรู้ วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของ การประเมินผล 1 บทที่ 1,2,3,4,5,6 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 7 9 14 17 10% 25% 10% 25% 2 บทที่ 1,2,3,4,5 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20% 3 ทุกบทเรียน การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก และ เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
 
หลักการตลาด การจัดการอุตสาหกรรม การบัญชีเพื่อการบริหาร การบริหารงานอุตสาหกรรม การคำนวณค่าแรงทางประมวลกฎหมายแรงงาน สภาวการณ์ปัจจุบันกับสังคมโลก และสังคมไทย