การเตรียมโครงงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

Environmental Engineering Pre-Project

เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างสรรค์และเตรียมผลิตผลงานทางวิชาการในเบื้องต้น โดยบูรณาการองค์ความรู้ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการเตรียมโครงงานปริญญานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง (การค้นคว้า ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนและแผนการ ดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำรายงาน และการนำเสนอหัวข้อโครงงานฯ) ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานฯ
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงโดยเน้นการนำไปในใช้ในการทำงานอย่างเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ อีกทั้งให้สอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานการอุดมศึกษา (2552) และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม หรืองานทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมการตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนและแผนการ ดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอโครงงาน
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และการติดต่อทาง e-mail 
1.1.1    มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ
ต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2    มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง
และลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพใน
คุณค่าและศักด์ิศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.3    มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบ
วิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่
อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1    ตรวจเช็คการเข้าเรียนทุกครั้งและให้มีการส่งงานที่มอบหมายตรงเวลา
1.2.2    ส่งเสริมให้มีความเป็นผู้นำกลุ่มและผู้ตามที่ดี มีความสามัคคีในการทำงาน
1.2.3    สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร
1.3.1    ให้คะแนนการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
1.3.2    สังเกตการทำงานในกลุ่ม การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
1.3.3    สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ
2.1.1    มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรม
พื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่
เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2    มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติใน
เนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3    สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้
เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.2.1    มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อหาหัวข้อโครงงาน
2.2.2    ใช้การสอนโดยเน้นหลักทางทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อให้สามารถเรียบเรียงทฤษฎี
และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานและ มีการอ้างอิงเอกสารได้อย่างถูกต้อง
2.2.3    จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการทดลองหรือสำรวจข้อมูล เพื่อให้
สามารถรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลชั้นต้นได้
2.3.1    ประเมินผลงานที่มอบหมายเป็นระยะ
2.3.2    ประเมินจากโครงงาน โดยพิจารณาจากความถูกต้อง ความน่าสนใจและนำไปใช้งาน
ได้จริงของโครงงาน
2.3.3    ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอโครงงาน
3.1.1    มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2    สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้
ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.3    มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.4    สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอด
ชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1    ส่งเสริมการอ่านเพื่อให้มีแนวคิด วิเคราะห์ เพื่อให้สามารถหาหัวข้อโครงงานได้
3.2.2    ให้มีการเรียนรู้โดยการใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ
3.2.3    ให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง เพื่อให้มีจินตนาการในการปรับใช้ผลที่ได้
จากการศึกษาไปต่อยอดองค์ความรู้ และใช้งานได้จริง
3.2.4    มอบหมายให้ค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นแบบอย่างใน
การสืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่
3.3.1    วัดผลจากหัวข้อของโครงงาน
3.3.2    วัดผลจากความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล
3.3.3    สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
3.3.4    วัดผลจากความถูกต้องของงานที่มอบหมาย
4.1.1    สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2    สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้อง
กับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.3    รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงาน
บุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งในฐานะผู้นำและ
ผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1    ให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็น เพื่อให้นำเสนอโครงงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
4.2.2    ให้นักศึกษามีการวางแผนการทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด
4.2.3    ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
ตามที่ได้รับมอบหมาย
4.3.1    ประเมินจากการมีส่วนร่วม กล้าแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
4.3.2    ประเมินจากการส่งงานตามกำหนด
4.3.3    สังเกตจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1    มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติ
ประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.2    สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่าง
เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.3    มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้
สัญญลักษณ์
5.2.1    ฝึกให้มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่
เกี่ยวข้องมาใช้ในการแปลความหมาย รวมทั้งการเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา
5.2.2    มอบหมายการนำเสนอโครงงานโดยมีรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3    อธิบายวิธีการจัดทำรายงานที่ถูกต้อง ให้มีการอ้างอิงเอกสารอย่างถูกต้อง
5.3.1    ประเมินจากความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล
5.3.2    ประเมินจากการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.3    ประเมินจากความสมบูรณ์ ถูกต้องของรายงาน
6.1.1    มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
6.1.2    มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือ
กันเป็นอย่างดี
6.2.1    ให้นักศึกษาทำงานตามแผนที่ได้วางไว้ และให้ส่งงานที่มอบหมายเป็นระยะ
6.2.2    มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม ให้ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ
6.3.1    ประเมินจากการส่งงานที่มอบหมายตรงเวลา
6.3.2    ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอโครงงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 , 2.1, 2.2 พิจารณาจากงานที่มอบหมาย ความ เป็นไปได้ของโครงงาน การนำไปใช้งานได้จริง ความถูกต้อง ครบถ้วน สัปดาห์ที่ 4, 7, 8 20%
2 2.3, 3.4, 4.2, 5.1, 5.2, 5.3, 6.1 การนำเสนอรายงานความก้าวหน้า และรายงานประกอบการนำเสนอ สัปดาห์ที่ 13 30%
3 3.2, 5.2, 6.2 การสอบโครงงานปริญญานิพนธ์พร้อมเอกสารรายงาน 17 40%
4 1.1 , 4.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมอภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารและสื่อประกอบการสอนรายวิชาการเตรียมโครงงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และรายละเอียดการจัดทำปริญญานิพนธ์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่
ตัวอย่างปริญญานิพนธ์สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา ตัวอย่างเช่น
http://dcms.thailis.or.th/dcms/index.php
http://www.pcd.go.th
http://www.eeat.or.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน   แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  ข้อเสนอแนะผ่านการให้คำปรึกษานอกชั้นเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ สอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกสาขา หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ