โครงงานนวัตกรรมวิศวกรรมอาหาร 2

Food Innovation Engineering Practice 2

 มุ่งเน้นการสร้างให้เกิดการออกแบบ เพื่อให้นักศึกษาสามารถจัดการปัญหาและหาทางเลือก ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมการผลิตอาหารได้ โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีเป็นฐาน 
 The phase of designing which the student should be able to approach a problem and outline possible solutions in food industry with ability to apply knowledge-based of science, engineering and technology
เพื่อให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ของหลักสูตรและปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยมีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองควบคู่ไปกับการเรียนในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนตลอดจนให้นักศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
นักศึกษาสามารถจัดการปัญหาและหาทางเลือก ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมการผลิตอาหารได้ โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีเป็นฐาน ผ่านการออกแบบวิธีการแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับทฤษฎีในเนื้อหาวิชา โครงงานนวัตกรรมวิศวกรรมอาหาร 2 (ENGFI114)
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการในทุกวันอังคาร 10.00-12.00 น.)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย ตรงต่อเวลา รู้จักหน้าที่และบทบาทของตน  มีความซื่อสัตย์ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเคารพต่อกฎระเบียบข้อปฏิบัติต่าง
1.2.1      ให้ความรู้โดยการสอดแทรกเนื้อหาในการปฏิบัติการต่างๆ
1.2.2      ให้ผู้เรียนทำปฏิบัติการเป็นกลุ่มๆละ 2-3 คน และมีการอภิปรายกลุ่มและนำเสนอผลงาน
1.2.3       การประพฤติตนที่เหมาะสมไม่เบียดเบียนผู้เรียนคนอื่นในขณะที่ทำปฏิบัติการ
1.2.4       การตรงเวลา การแต่งกาย การมีวินัยในห้องปฏิบัติการ การรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.1       พฤติกรรมในขณะทำปฏิบัติการและการส่งงานที่ตรงตามเวลาที่กำหนด
1.3.2       ประเมินผลจากงานของนักศึกษา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3       ประเมินผลการนำเสนองานที่มอบหมาย
1.3.4       การตรงต่อเวลาและการแต่งกายที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการ
การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจแก้ไขปัญหา คือกระบวนการขจัดสิ่งที่ผิดปกติโดยการอาศัยหลักการตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ เท็จจริง โดยมีการแก้ปัญหาเชิงตรรกะ ( Logical Problem Solving ) แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ( Systematic Problem Solving ) แก้ปัญหาแบบรวบรวมความคิดเห็น ( Lateral Problem Solving ) การแก้ปัญหาร่วมกันเป็นทีม ( Team-Based Problem Solving ) เพื่อให้ได้แนวทางแก้ไขที่ดีที่สุดและการแก้ไขปัญหาที่บรรลุเป้าหมาย โดยหลักการนี้ต้องมีการบวนการตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนเพื่อทำให้เกิดการ ดำเนินการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพและปัญหานั้นไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก
2.2.1      มีการบรรยายแนะนําขั้นตอนที่สำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาตามโจทย์ ที่ผู้สอนมอบให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ซักถามก่อนเข้าร่วมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำปฏิบัติงานด้วยความเข้าใจและมีความผิดพลาดน้อยที่สุด
2.2.1      หลังจากทำการวิเคราะห์ปัญหาและส่งงานแก่อาจารย์ผู้สอนแล้ว จะมีการนำเสนองานที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ที่ทำในวันนั้น เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจยิ่งขึ้นและสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเองได้จากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่
2.3.1       มีการสอบย่อยก่อนเนื้อหาที่ได้เรียนในสัปดาห์ก่อนหน้า เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินตนเองได้ในด้านการเตรียมตัวเข้าเรียน และการสอบปากเปล่าหลังเนื้อหาที่ผู้สอนได้ถ่ายทอดในคาบเรียนนั้นๆ เพื่อประเมินว่าผู้เรียนมีความเข้าใจในลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์งานนั้นๆ
2.3.2      รายงานในการนำเสนอผลงานของกลุ่ม
2.3.3      การนำเสนองาน และส่งงาน Mini Project (Prototype) ของการแก้ปัญหาจากโจทย์ที่
นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ได้รับมอบหมาย
2.3.4      การสอบกลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นการประเมินวิธีการคิดตามขั้นตอนของ
              การวิเคราะห์งานที่เป็นระบบ
พัฒนาความสามารถในการนำความรู้มาคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ หรือวิชาชีพและสามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.2.1      ทำการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นระเบียบ
3.2.2      การเขียนรายงาน นำเสนองานด้วยตนเองและงานกลุ่ม
3.2.3      เน้นให้ผู้เรียนคิดด้วยตนเองและรู้จักวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการวิเคราะห์ ปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหา จากโจทย์ที่ผู้สอนได้มอบหมายให้วิเคราะห์
3.2.5      ให้ทำงานกลุ่มช่วยกันแก้ไขโจทย์ปัญหาตามกรณีที่กำหนด
3.3.1       เน้นการทดสอบแบบการปฏิบัติ โดยมีโจทย์ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และเลือกใช้วิธีการหรือแนวทางปฏิบัติต่างๆในการหาคำตอบอย่างเหมาะสม
3.3.2      การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา
ทางอุตสาหกรรมอาหาร 
3.3.3      วัดผลจากการนำเสนอผลการแก้ปัญหาโดยใช้ Prototype ชิ้นงานในการนำเสนอ และ รูปแบบรายงานต่างๆ
4.1          ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1      พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนด้วยกัน 
4.1.2      พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3      พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
4.2.1      การทำปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม การแบ่งงานกันภายในกลุ่ม
4.2.2      การใช้และรับผิดชอบอุปกรณ์ในการทำ Prototype ชิ้นงาน ร่วมกับผู้อื่น
4.2.3      ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลบางส่วน เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา
4.2.4       มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มในการวิเคราะห์ปัญหาตามโจทย์ที่ผู้สอนมอบหมาย เพื่อให้ทำงานกับบุคคลที่หลากหลายมากขึ้น
4.3.1       พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมในระหว่างการทำงานกลุ่ม
4.3.2       ประเมินจากการนำเสนอผลการวิเคราะห์และแก้ปัญหา ตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1      ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการแก้โจทย์ปัญหา
5.1.2      พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน โดยการทำรายงานนำเสนอ
5.1.3      ทักษะในการนำเสนอรายงาน โดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1      มีการวิเคราะห์และคำนวณที่ฝึกทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
5.2.2      นำข้อมูล/ผลการทดลองบางส่วนมาอภิปรายร่วมกันกับผู้เรียนและผู้สอน
5.2.3      มีการเลือกใช้รูปแบบสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการนำเสนอ
5.3.1      ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2      ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ทดสอบย่อย 9 18 1-18 15% 15% 10%
2 1-5 การส่งงานตามที่มอบหมาย การทำงานกลุ่มและผลงาน Mini Project 1-18 1-18 15-17 10% 20% 20%
3 1-5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-18 10%
· Barkley, Cross, & Major. Collaborative learning techniques.
·  John Dewey. How we think.
· Michael George. The lean six sigma pocket toolbook.
· Kurt Lewin. Field theory in social science. 
· G. Dean Witman, CFPIM, C.P.M., CLSSBB Adjunct Instructor Madison Area Technical College
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1          การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2          แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3          ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1          การสังเกตพฤติกรรมจากการทำปฏิบัติงานของนักศึกษา
2.2          การสรุปผลการปฏิบัติงาน
2.3          การส่งงาน Prototype ชิ้นงาน และการนำเสนอผลงาน
2.4          ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1          ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษา โดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
3.2          การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจสอบรายงานผลปฏิบัติการ เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1          ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2          ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย
5.3          ปรับปรุง หรือเพิ่มเติมอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในห้องเรียน
5.4          นำข้อคิดเห็นจากการประเมินโดยผู้เรียนมาประมวล เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม
ผลจากการประมวลจะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป