การบัญชีชั้นต้น

Introduction to Accounting

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความหมาย  วัตถุประสงค์ วิวัฒนาการของการบัญชี  และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี  จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี  มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ  กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน  รายงานทางการเงิน  วงจรการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่  การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะ  การผ่ายรายการไปยังบัญชีแยกประเภท  การปรับปรุงและปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด  การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการ ตลอดจนการจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการและซื้อขายสินค้า การบัญชีส่วนของเจ้าของ  การบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มการบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับความหมายและประเภทของการบัญชี ประโยชน์ ความสำคัญของการบัญชีที่มีต่อสังคม แม่บทบัญชี หลักเกณฑ์ วิธีการขั้นพื้นฐานในการบันทึกบัญชี รายการปรับปรุง และการจัดทำรายงานทางการเงินของธุรกิจบริการ ซื้อมาขายไป และธุรกิจผลิตกรรม
ศึกษาและปฏิบัติ เกี่ยวกับความหมาย  วัตถุประสงค์ วิวัฒนาการของการบัญชี  และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี  จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี  มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ  กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน  รายงานทางการเงิน  วงจรการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่  การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะ  การผ่ายรายการไปยังบัญชีแยกประเภท  การปรับปรุงและปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด  การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการ ตลอดจนการจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการและซื้อขายสินค้า การบัญชีส่วนของเจ้าของ  การบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม
Study and practice of meanings, objectives, evolution of accounting and
Usefulness of accounting information, accounting professional ethics,
international accounting standards, conceptual framework for financial
report, financial statements, accounting cycle, transaction analysis, process
of recording journal based on double entry principle, recording of
transactions in general and specialized journals, recording of transactions in
general ledgers; adjusting of transactions and closing of accounts; preparing
trial balance, working paper and financial statements for service and
merchandising businesses, accounting for owner's equity, principle of value
added tax as well as accounting for manufacturing business.
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  บอกช่วงเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรก
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
-   ช่วงสถานการณ์โควิดระบาดอาจารย์ให้คำปรึกษาและตอบคำถามผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรมต่างๆตามที่ตกลงกันเพื่อสะดวกและงานต่อการให้คำปรึกษา
1.1    ผลการเรียนร้านคุณธรรมจริยธรรม
                   นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพี่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษามีควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหารายวิชา
2) ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
3) เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน
4) การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1) ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2) ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
3) ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
 
มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฏี หลักการ และวิธีการทางบัญชี มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1) ใช้วิธีการสอนหลักรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฏี
    และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบ
    สาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2) การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
4) การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม   
1) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทอสอบย่อย รายงาน การ
    ค้นคว้า และการนำเสนอ
2) การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
3) การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือการฝึกงานในองค์กรธุรกิจ
4) การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
 
สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง


สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทาง วิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ ในสถานการณ์ต่างๆ  อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ


สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
2) จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1)  ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
2)  ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
3)  ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปลายแสดงความคิดเห็น
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี


มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไข ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน


มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1) มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2) มอบหมายงานที่เกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3) ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
3) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย  และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง


สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน


สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวม ข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ   
1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
2) มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3) ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1) ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเขิงสถิติและคณิตศาสตร์
2) ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงาน เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
3) ประเมินจากการสอบข้อเขียน
4) ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 BACAC110 การบัญชีชั้นต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 12 18 10% 20% 10% 20%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 35%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน จิตพิสัย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
  เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการบัญชีชั้นต้น โดย ดารณี ใจวงค์
หนังสือการบัญชีขั้นต้น ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หนังสือหลักการบัญชี เสนีย์ (อ่ำเมือง) พวงยาณี บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่อง การนำเสนองบการเงิน เรื่อง สินค้าคงเหลือ เป็นต้น
 www.rd.go.th  www.fap.or.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ