ฝึกฝีมือเบื้องต้น
Basic Skills Practice
1. เพื่อให้มีความเข้าใจในการบำรุงรักษาเครื่องมือและเครื่องกลเบื้องต้น 2. เพื่อให้มีความสามารถในการใช้การบำรุงรักษาเครื่องมือและเครื่องกลเบื้องต้น 3. เพื่อให้มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามขั้นตอน
4. เพื่อให้ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย ผลงานประณีตเรียบร้อย รู้จักแก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้
5. เพื่อให้มีคุณธรรม จริยธรรมที่พึ่งประสงค์ซึ้งได้แก่การตรงต่อเวลา มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ขยันและอดทน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือถ่ายแบบ เครื่องมือวัดพื้นฐาน เครื่องมือขนาดเล็ก การปฏิบัติงานปรับแต่ง การทำเกลียวด้วยต๊าปและดาย คุณสมบัติและการใช้งานของโลหะทั่วไป เครื่องมือปรับแต่งพื้นฐานอื่น ๆ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ การบำรุงรักษาเครื่องมือและเครื่องกลเบื้องต้น ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน งานวัดและงานตรวจสอบ งานร่างแบบ งานตัด งานตะไบ งานเจาะ งานลับคมตัด งานทำเกลียว งานประกอบ
อาจารย์ผู้สอนประจำวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1-2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | การฝึกปฏิบัติตาม ใบงานและงานที่ได้รับมอบหมาย | การฝึกปฏิบัติ การศึกษาค้าคว้า งานที่ได้รับมอบหมาย | ตลอดภาคการศึกษา | 80% 10% |
2 | การมีส่วนร่วมในการเรียน | การเข้าฝึกปฏิบัติและความประพฤติ การมีส่วนร่วม การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน | ตลอดภาคการศึกษา | 10% |
ใบงานปฏิบัติเบื้องต้นทางวิศวกรรม
ใบงานปฏิบัติเบื้องต้นทางวิศวกรรม
3.1 เอกสารประกอบการสอนการปฏิบัติเบื้องต้นทางวิศวกรรม
3.2 รศ.อำพล ซื่อตรง, รศ.วันชัย จัทรวงศ์, งานเครื่องมือกลเบื้องต้น บรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ, สำนักพิมพ์ศูนย์สงเสริมวิชาการ, 2545
3.3 อนันต์ วงศ์กระจ่าง, ทฤษฎีงานฝึกฝีมือ, คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยี, โรงพิมพ์ศรีสยาม, 2529
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้แจ้งให้กับนักศึกษาเพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 ชิ้นงานที่ได้จากการฝึกปฏิบัติ
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อที่ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนด้วยการทำการวิจัยในชั้นเรียน การจัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบรายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อที่ 4 ดำเนินการปรับปรุงกิจกรรมการสอนและแผนการสอนให้มีความเหมาะสมกับปัจจุบัน