เตรียมโครงงานวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ

Electronics Engineering and Automation Control Systems Preproject

 ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นหาและศึกษาบทความ  การเขียนและเสนอหัวข้อโครงงาน วิเคราะห์ปัญหาเพื่อทำโครงงาน  การนำเสนอหัวข้อโครงงาน การเขียนและนำเสนอบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง 
 
เพื่อให้เนื้อหารายวิชามีความเหมาะสม เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ครอบคลุมเนื้อหา ของหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษามึความรู้ และความเข้าใจในเนื้อหาตามจุดมุ่งหมาย    
ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นหาและศึกษาบทความ  การเขียนและเสนอหัวข้อโครงงาน วิเคราะห์ปัญหาเพื่อทำโครงงาน  การนำเสนอหัวข้อโครงงาน การเขียนและนำเสนอบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง 
 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)  แก้ไข
 
มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 
 
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของรายวิชาเพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 
 
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา  1.3.2   ประเมินผลจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย
 
2.1.1  มีความรู้และสามารถค้นหาและศึกษาบทความต่าง ๆ  2.1.2  มีความรู้และสามารถเขียนและเสนอหัวข้อโครงงาน  2.1.3  มีความรู้และสามารถวิเคราะห์ปัญหาเพื่อทำโครงงาน  2.1.4  มีความรู้และสามารถเขียนและนำเสนอบทความทางวิชาการ  2.1.5  มีความรู้ในเรื่องที่นักศึกษาสนใจที่จะนำไปเป็นหัวข้อโครงงานวิศศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 
 
ปฏิบัติการในรูปแบบการสัมมนา การนำเสนองานที่ได้ศึกษามา 
 
2.3.1  ทดสอบจากการตั้งคำถามในงานสัมมนา งานนำเสนอ  2.3.2  ดูรูปแบบการนำเสนอ การเขียนเอกสารวิชาการ 
 
3.1.1  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ    3.1.2  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
 
    บรรยาย การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์กรณีศึกษา กำหนดโจทย์การบ้าน  แก้ไข
 
ประเมินจาก การพัฒนาการเรียน การตอบคำถามและการแก้ปัญหาโจทย์ในห้องเรียน 
 
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน  4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นกลุ่ม  4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
 
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา  4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา  4.2.3   การนำเสนอรายงาน
 
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด  4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม  4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
 
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข  5.1.2   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา  5.1.3   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต          5.1.4   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 
 
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning          5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 
 
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี  5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ ดังข้อต่อไปนี้   มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี 
 
         จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้   สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานภายในและภายนอก จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา สนับสนุนการทำโครงงาน สหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรมในสถานประกอบการ 
 
          มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา มีการประเมินนักศึกษาในวิชาสหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรม  แก้ไข
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 ENGEL102 เตรียมโครงงานวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 .1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 10% 10%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2, 4.1 – 4.6, 5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย 3-16 70%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
รัตนะ บัวสนธ์, ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research) กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์         มหาวิทยาลัย  
 
2.1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา คณะวิศวกรรมศาสตร์, คู่มือการทำปริญญานิพนธ์ 
 
3.1 http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=1001  3.2 www.vcharkarn.com/uploads/152/152788.doc‎ 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  ย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ 
 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้  2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา  2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้มุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ 
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้  3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน  
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้  5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ