การบัญชีชั้นต้น

Introduction to Accounting

1. เข้าใจความหมาย วัตถุประสงค์ วิวัฒนาการของการบัญชี และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน
2. เข้าใจหลักการ วิธีการบัญชี และรายงานทางการเงินสำหรับสำหรับธุรกิจประเภทกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า กิจการอุตสาหกรรม ตลอดจนเข้าใจวิธีการบันทึกบัญชีส่วนของเจ้าของ และการบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. สามารถบันทึกบัญชีและจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับธุรกิจประเภทกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า กิจการอุตสาหกรรม ตลอดจนสามารถบันทึกบัญชีส่วนของเจ้าของ และการบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. ตระหนักในความสำคัญของการบัญชี และจรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี
เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เป็นปัจจุบันเฉพาะฉบับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษาจะมีการทำรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา (มคอ5) และนำข้อมูลในประเด็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงไปใช้ในภาคการศึกษาต่อไป ทั้งนี้เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับความหมาย วัตถุประสงค์ วิวัฒนาการของการบัญชี และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงิน วงจรการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะ การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท การปรับปรุงและปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการ ตลอดจนการจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการและกิจการซื้อขายสินค้า การบัญชีส่วนของเจ้าของ การบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม
 นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฎิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม   1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
- ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างในเรื่องการแต่งกาย การตรงเวลา
- การแจ้งนโยบายในการเรียนหาข้อตกลงร่วมกันในเรื่อง

การแต่งกาย การตรงเวลา ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ สอนแทรกคุณธธรรม กฎกติกาการอยู่ร่วมในกันสังคม การทำงานกลุ่ม

- สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในเนื้อหารายวิชาและในชั่วโมงเรียน อันได้แก่ คุณธรรมจริยธรรมประพฤติอันมีผลต่อสังคม จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
- ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และปลูกจิตสำนักขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และความมีส่วนร่วมในการพัฒนาคณะและมหาวิทยาลัย
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการแต่งกายที่ถูกระเบียบ การมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ การแสดงออกในชั้นเรียน ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การส่งงานตรงเวลาที่กำหมด การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม

ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ และการคัดลอกงานเพื่อน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี 2.2 มีความรู้และความเข้าใจองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฎิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
- การบรรยาย เนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
- การสาธิตและยกตัวอย่างประกอบ
- การตั้งคำถามทางวิชาการในชั้นเรียนที่ทำให้เกิดความคิดและแก้ปัญหา
- มอบหมายใบงานและแบบฝึกหัด
- มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การบัญชี และ พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชีที่ประกาศใช้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิชาชีพบัญชี
- ประเมินผลจากการทดสอบย่อย งานที่มอบหมายให้ค้นคว้า  การสอบกลางภาคเรียน และการสอบปลายภาคเรียน
- ประเมินคุณภาพผลงานที่มอบหมาย
- ประเมินผลจากใบงานและแบบฝึกหัดทั้งงานเดี่ยว และงานกลุ่ม
3. ทักษะทางปัญญา 3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุ และวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 3.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
- ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบโดยใช้โจทย์ตัวอย่าง ใบงานและแบบฝึกหัด จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับหัวข้อ/เนื้อหาของรายวิชา
- สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านวิชาชีพบัญชีโดยรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
- ประเมินผลการแก้ไขโจทย์ใบงาน และแบบฝึกหัด การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
- ประเมินผลจากการสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
- ประเมินผลจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้ารายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียนรวมทั้งผลการแสดงความคิดเห็น
4.1 สามารถปฎิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 4.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4.4 มีความรับผิดชอบพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อย (ใบงาน แบบฝึกหัด รายงาน) โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
- มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
- ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เวลาว่างในการพัฒนาตนเอง และการรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมตามที่ มหาวิทยาลัย คณะ สาขากำหนด
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกลุ่ม พฤติกรรมจากการทำงานทีม
- ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
- ประเมินคุณภาพจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อการติดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง   5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟ้งที่แตกต่างกัน   5.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสนเทศ
 มอบหมายงาน(ใบงานและแบบฝึกหัด) ที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
- มอบหมายงานที่ต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการทำใบงานและแบบฝึกหัด เช่น การใช้โปรแกรมExcel ในการจัดทำกระดาษทำการ และงบการเงิน เป็นต้น
- มอบหมายงาน(รายงาน) ที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน
- ประเมินผลจากใบงาน แบบฝึกหัด การสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
- ประเมินผลจากการใช้โปรแกรม Excel มาช่วยในการทำใบงานและแบบฝึกหัด
- ประเมินคุณภาพรายงานที่ให้สืบค้นข้อมูล และทักษะการใช้ภาษาเขียน และภาษาพูดในการนำเสนอรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.ด้านการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีความรู้และเข้าใจคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวิจัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม 1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม 2.1 มีความรู้และความเข้าใจแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี 2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 3.2 สามารถประยุกต์และบรูณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดจากการตัดสินใจ 3.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน 4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมองหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 4.3 มีความคิดริเร่ิม สร้างสรรค์ สามารถใช้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทผู้ร่วมงาน 4.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง 5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แยัง 5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขีียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน 5.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
1 BACAC110 การบัญชีชั้นต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1/2.3/3.1/3.3/5.1 สอบย่อยครั้งที่ 1 บทที่ 1 , 2 และ 3 5 10
2 2.2/2.3/3.1/3.3/5.1 สอบกลางภาคเรียน บทที่ 4 และบทที่ 5 9 30
3 2.1/2.3/3/1/3.3/5.1 สอบย่อยครั้งที่ 2 12 15
4 2.1/2.3/3.1/3.3/5.1 สอบปลายภาค 18 30
5 1.2/1.3/2.1/2.2/2.3/3.1/3.2/3.3 การมอบหมายงานสืบค้น การจัดทำรายงาน 3-7 5
6 1.1/1.2/2.1/2.3/4.1/4.2/5.1/5.3 ใบงานและแบบฝึกหัด 1-17 5
7 1.1/1.2/1.4/4.2 พฤติกรรมในชั้นเรียน การแต่งกายถูกระเบียบ การเข้าเรียนตรงเวลา การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ไม่กระทำทุจริตในการสอบ และไม่คัดลอกงานเพื่อน 1-17 5
เพราพิลาส ประสิทธิ์บุรีรักษ์, (2562).เอกสารประกอบการสอนวิชาการบัญชีขั้นต้น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้าน.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, และสมเดช โรจน์คุรีเสถียร. การบัญชีขั้นต้น. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล. 2552. ธารี หิรัญรัศมี, พลพธู ปียวรรณ วรศักดิ์ ทุมมานนท์, ภาวิณี มะโนวรรณ และวศธร ชุติภิญโญ. การบัญชีขั้นต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด. 2559. ธารี หิรัญรัศมี, พลพธู ปียวรรณ วรศักดิ์ ทุมมานนท์, ภาวิณี มะโนวรรณ และวศธร ชุติภิญโญ. การบัญชีขั้นต้น ฉบับเสริมประสบการณ์. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด. 2559. ศศิวิมล มีอำพล. หลักการบัญชีขั้นต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บริษัท อินโพไมนิ่ง จำกัด. 2558. สุกัลยา ปรีชา. หลักการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด. 2559. อัญชลี พิพัฒนเสริญ. การบัญชีขั้นต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด. 2559. กฤติยา ยงวณิชย์. การบัญชีการเงิน IFRS. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล. 2556. วันชัย ประเสริฐศรี และคณะ. การบัญชีชั้นต้น 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส. 2549. ดวงสมร อรพินท์, กรชร เฉลิมกาญจนา, แพร กีระสุนทรพงษ์, ปริญดา มณีโรจน์ และสมพงษ์ พรอุปถัมภ์. การบัญชีการเงิน. พิมครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เว๊ปไซต์ ต่อไปนี้
www.fap.or.th
www.dbd.go.th
www.set.or.th
1) ให้นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ตามแบบประเมินของมหาวิทยาลัย
1) พิจารณาจากผลคะแนนการสอบ (สอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค)
2) พิจารณาจากงานที่มอบหมายให้ (ใบงาน แบบฝึกหัด รายงาน)
3) พิจารณาจากพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
3.  การปรับปรุงการสอน
1) นำผลการประเมินประสิทธิผลรายวิชาโดยนักศึกษาและผลประเมินการสอน มาพิจารณาการปรับปรุงการสอน
 
            1) การทวนข้อสอบและเกณฑ์ที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้
    1) นำเอาผลการประเมินข้อ1 ข้อ2 และข้อ4 มาวิเคราะห์และหาแนวพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้