การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

Cross Cultural Communication

1.1 เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการสื่อสาร และการสื่อสารระหว่างและข้ามวัฒนธรรม 1.2 เพื่อให้นักศึกษาได้นำแนวคิดและทฤษฎีการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในการในพื้นที่และประเทศต่างวัฒนธรรม ทั้งด้านการสื่อสารทางธุรกิจและมารยาทต่างวัฒนธรรม 1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์สความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและความคิดรพหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถนำเสนอในห้องเรียนและต่อสาธารณชนได้
 2.1 เพื่อให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรู้เท่าทันวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคดิจิทัล และยุค Technology disruption
2.2 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องได้
มโนทัศน์ของการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและข้ามวัฒนธรรม ทฤษฎีของการสื่อสารและการสื่อสารแบบวัจนะและอวัจนะ กลวิธีสื่อสารในประเทศต่างวัฒนธรรม มิติที่แตกต่างด้านวัฒนธรรมและความคิดระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตก การสื่อสารทางธุรกิจและมารยาทต่างวัฒนธรรม
หมายเหตุ :
          1. นักศึกษาต้องแบ่งกลุ่มเพื่อทำงานศึกษาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ไม่เกินกลุ่มละ 6 คน เท่านั้น หากมีจำนวนนักศึกษาเกินให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้สอน
          2. มีการนำเสนองานรายกลุ่มและการนำเสนอต่อสาธารณชน 1 ครั้งด้วยการจัดนิทรรศการด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม โดยแต่ละกลุ่มต้องจัดทำรายงานสรุป และในการเตรียมงานต้องผ่านการปรึกษาจากอาจารย์ผู้สอน อย่างน้อย 3 ครั้ง ก่อนการนำเสนอผลงานภายในสัปดาห์ที่ 15 และต้องมีหลักฐานการเข้าพบอาจารย์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
          3. วิชาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมมีการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี 10 สัปดาห์ และมีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยผ่านการให้คำปรึกษาของอาจารย์ผู้สอน 5 สัปดาห์ และการส่งรายงานในการนำเสนอผลงานต่อสาธารณชนรายกลุ่มโดยมีการนำเสนอผลงานในนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ (กรณีจัดกิจกรรมในมหาวิทยาลัย) หรือ การจัดนิทรรศการในรูปแบบ Virtual หรือการนำเสนอรูปแบบออนไลน์  พร้อมส่งรายงาน ภายในสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน ในวันศุกร์สุดท้ายและไม่เกินเวลา 12.00 น. (*หมายเหตุ: กิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ฯ)
          4. กรณีเรียนในห้องเรียน นักศึกษาต้องแต่งกายถูกต้องตามระเบียบมหาวิทยาลัยเท่านั้น สีผมธรรมชาติและไม่ไว้หนวดเครา ห้ามใช้โทรศัพท์หรือเปิดเสียงโทรศัพท์ในห้องเรียน หากพบผู้ฝ่าฝืนจะหักคะแนนต่อครั้งไม่เกิน 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 4 จะไม่อนุญาตให้เข้าห้องเรียนและส่งชื่อไม่มีสิทธิ์สอบ    กรณีเรียนออนไลน์ ให้นักศึกษาแต่งกายให้สุภาพ และเปิดกล้องตลอดระยะเวลาที่มีการเรียนการสอน
             5. การเข้าห้องเรียนหลังจากมีการเรียนการสอนสายเกิน 15 นาทีถือว่ามาสาย โดยการมาสาย 2 ครั้ง นับเป็น 1 การขาดเรียน ทั้งนี้ขาดเรียนเกิน 3 ครั้ง จะส่งชื่อไม่มีสิทธิ์สอบในรายวิชาทันที ทั้งนี้ กรณีลาป่วย ให้นักศึกษาส่งใบลาพร้อมแนบหลักฐานแสดงการลาป่วย เช่น ใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยโรงพยาบาล ฯลฯ กรณีลากิจนักศึกษาสามารถส่งใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ก่อนถึงวันลา 
-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาด้านจริยธรรม และความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ       
2. มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ       
3. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น และมีภาวะผู้นำ     
4. มีวินัย มีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
-สอนคุณธรรม จริยธรรมสอดแทรกในบทเรียนวิชาเฉพาะ  
-สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
-การแสดงออกอันเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สอน  
 
-สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน
-ทำงานเป็นกลุ่ม และรายงานผลงาน
1. มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก
2. มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. มีความรู้ในกระบวนการ และเทคนิคการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอด องค์ความรู้ในงานอาชีพ
 
-การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ
-ทำรายงานเปรียบเทียบความรู้จากห้องเรียนกับการทำงานจริงภาคปฏิบัติ
-อภิปรายเป็นกลุ่ม โดยให้ผู้สอนตั้งคำถามตามระบบการสอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
-การศึกษานอกสถานที่และทำรายงาน
 
-ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค 
-ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน
-ประเมินจากรายงานที่ให้ค้นคว้า  
1.  มีความสามารถประมวล และศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ข้อโต้แย้ง และสังเคราะห์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และตามขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก
2. มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนามและการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
3. มีสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจและศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องมาเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานให้เกิดประสิทธิผล
-การอภิปรายเป็นกลุ่ม
-การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าหรืองานเกี่ยวกับการพัฒนาเป็นทีม
 
-ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายให้ทำ
-การเขียนรายงาน  
 
1. มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม 
2. มีสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และตรงตามมาตรฐานสากล
3. มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้ร่วมวิชาชีพทุกระดับในสภาพสังคมการทำงานที่หลากหลายได้อย่างเหมาะสม
-มอบหมายงานเป็นกลุ่มย่อย และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยหมุนเวียนกันในกลุ่ม
-สอนโดยใช้กรณีศึกษา  
-ประเมินจากผลงานของกลุ่มและผลงานของผู้เรียนในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ทำงาน   
-สังเกตพฤติกรรมในการเรียน 
 
1. สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนและการสรุปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีความสามารถในการสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม
3.  มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-นำเสนอผลงานที่ค้นคว้าและอภิปรายด้วยตนเองหรือแบบกลุ่มในห้องเรียน
-บูรณาการการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟต์แวร์หรือสื่อต่าง ๆ 
-ประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน 
-ประเมินผลจากการสรุปหัวข้อที่มอบหมายให้ค้นคว้า  
1. มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและบริการ
2. มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานตามตำแหน่งงานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและบริการ
3. มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและบริการที่มีมาตรฐานและเป็นสากล 
-ทดสอบทักษะทางวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการโดยการสอบปฏิบัติ
 
ประเมินผลจากการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาด้านจริยธรรม และความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 2. มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการ ปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ 3. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อ การพัฒนาเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น และมีภาวะผู้นำ 4. มีวินัยในการทำงาน และปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม 1. มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก 2. มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. มีความรู้ในกระบวนการ และเทคนิคการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอด องค์ความรู้ในงานอาชีพ 1. มีความสามารถประมวล และศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ข้อโต้แย้ง และสังเคราะห์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และตามขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก 2. มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม 3. มีความสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ และจากศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมา เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานให้เกิดประสิทธิผล 1. มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตน ในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหาได้ 2. มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และตรงตามมาตรฐานสากล 3. มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้ร่วมวิชาชีพทุกระดับในสภาพสังคมการทำงานที่หลากหลายได้อย่างเหมาะสม 1. มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีความสามารถในการสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม 3. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการ 2. มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานตามตำแหน่งงานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการ 3. มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการที่มีมาตรฐานและเป็นสากล
1 BOACC102 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 4.1 สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียน ตลอดภาคการศึกษา 5
2 2.2 ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาค 9 25
3 2.1, 3.2,5.2,6.2 ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายในกิจกรรมการเรียนการสอน 10-12 15
4 1.1,2.2,3.2,4.1,5.1,6.1 ประเมินผลจากผลงานนำเสนอต่อสาธารณะชน 14-15 20
5 2.2,3.2,4.1,5.1,6.1 ประเมินผลจากรายงานการนำเสนอผลงาน 16 10
6 2.2,3.2 ข้อสอบปลายภาค 17 25
อรไท ครุธเวโช. (2562). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: มทร.ล้านนา. เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2559). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้ามและระหว่างวัฒนธรรม  ตลอดจนรายงานด้านวัฒนธรรมของหน่วยงานราชการ
วารสารด้านการวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในระบบฐานข้อมูลต่างๆที่นักศึกษาค้นคว้าหาอ่านได้ด้วยตนเอง เช่น http://www.tourism.go.th http://www.tourismthailand.org http://www.unwto.org/index.php http://www.mots.go.th
ให้นักศึกษาประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในประเด็นต่อไปนี้   1.1 ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้
ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เขาใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์ของหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
1.2 ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้
ความรู้ความสามารถโดยรวมและประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้ ความพึงพอใจต่อการเรียนวิชานี้ ข้อเสนอแนะอื่นๆ
ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหรืออาจารย์ประจำหลักสูตร ดำเนินการดังต่อไปนี้ 2.1 ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ 1 2.2 สุ่มสังเกตการสอนและการประเมินการจัดการเรียนการสอน (โดยเพื่อนอาจารย์) ในประเด็นต่อไปนี้
ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เขาใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์ของหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
2.3 ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเอง ในประเด็นต่อไปนี้
ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มีกลไกและวิธีการปรับปรุงการเรียนการสอน ดังนี้ 3.1 ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอให้พิจารณารวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละครั้ง 3.2 ประชุม/สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับปีการศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้
ผลการศึกษาของนักศึกษา ผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยใช้แบบประเมินของหลักสูตรต่อระดับผลการเรียนรู้ของนักศึกษา จัดให้ Pretest และ Post -test และหลักสูตรจัดให้มีคณะกรรมการทวนสอบของหลักสูตรดำเนินการทวนสอบตามเกณฑ์ของหลักสูตรและเกณฑ์การประกันคุณภาพของหลักสูตร
ปีการศึกษา 2563 ได้ปรับเนื้อหาการเรียนการสอน โดยเพิ่มการนำเสนอความเข้าใจด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการจัดนำเสนอให้กับสาธารณะชนเพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติให้นักศึกษา