เนื้อและผลิตภัณฑ์

Meat and Meat Products

1.1โครงสร้าง คุณสมบัติและองค์ประกอบของเนื้อสัตว์
1.2 เข้าใจการเตรียมสัตว์ก่อนฆ่า วิธีการฆ่า
1.3 เข้าใจการจำแนกเนื้อตามคุณภาพ
1.4 รู้และเข้าใจเข้าใจมาตรฐานโรงงานและอุปกรณ์ที่ใช้
1.5 เข้าใจการจัดการของเสียในโรงฆ่า
1.6 รู้และเข้าใจการเก็บรักษาเนื้อผลิตภัณฑ์ และการทำผลิตภัณฑ์ที่นิยม
1.7 เข้าใจการตลาดเนื้อและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ
1.8 มีคุณธรรมและซื่อตรงต่อจรรยาบรรณวิชาชีพในการนำเนื้อสัตว์มาทำผลิตภัณฑ์
-
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับโครงสร้าง คุณสมบัติและองค์ประกอบของเนื้อสัตว์ การเตรียมสัตว์ก่อนฆ่า วิธีการฆ่า การจำแนกคุณภาพเนื้อ มาตรฐานโรงงานและอุปกรณ์ การจัดการของสีย การเก็บรักษาเนื้อ ผลิตภัณฑ์และการทำผลิตภัณฑ์ที่นิยมในประเทศไทย การตลาดเนื้อสัตว์
1 ชม/สัปดาห์
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
- ตระหนักในคุณธรรม จริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตโดยไม่นำสิ่งปนเปื้อนที่เป็นพิษต่อผู้บริโภคมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ (1.1)
- มีวินัยต่อการเรียน เคารพกฎ ระเบียบ ตรงต่อเวลา (1.2)
- มีจิตสาธารณะ รับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม (1.3)
- มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ (1.5)
- ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ
- ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ
- อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพและให้เกียรติแก่อาจารย์อาวุโส เป็นต้น
- ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในโอกาสที่ภาควิชาฯ/คณะจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอาจารย์
- การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน
- ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา
- นักศึกษาประเมินตนเอง
- การเตรียมสัตว์ก่อนฆ่า วิธีการฆ่า การจำแนกเนื้อตามคุณภาพ การควบคุมโรงงานและอุปกรณ์ การเก็บรักษาเนื้อ การทำผลิตภัณฑ์จากเนื้อซึ่งนิยมในประเทศไทย การตัดสินประเมินคุณภาพของเนื้อและผลิตภัณฑ์ การตลาดเนื้อและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (2.1)
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์ และมาตรฐาน GAP (2.2) , (2.3) (2.4)
- ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนแบบ e-Learning เป็นต้น
- เพิ่มการศึกษานอกห้องเรียน โดยดูงานที่โรงฆ่าสัตว์ เทศบาลนครพิษณุโลก (สุกร) และโรงฆ่าสัตว์ เอกชน จังหวัดสุโขทัย (โค) เพื่อให้มีประสบการณ์จากการเห็นโรงเรือนที่มีมาตรฐาน ที่ในสถานศึกษาไม่มี
- สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
- ทำรายงานรายบุคคล และรายกลุ่ม
- สัมมนาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับขบวนการเตรียมเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ และการดูงานทุกครั้ง หน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล
- สามารถสืบค้นและประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างรอบคอบ (3.2)
- สามารถใช้ปัญญาพัฒนาตนเอง เพื่อนำไปใช้พัฒนาเป็นอาชีพ และช่วยพัฒนาสังคม (3.3)
- สามารถใช้ความรู้ทางทฤษฏีเพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหาที่ตั้งให้ในชั้นเรียนได้แบบสร้างสรรค์ (3.1)
- มีความพอเพียงต่อการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน (3.5)
- การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL)
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยการช่วยกันสืบค้นข้อมูลและนำข้อมูลมาสรุปและประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาตามโจทย์ที่กำหนดให้
- ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
- รายงานเป็นรายบุคคล และสัมมนาเป็นรายกลุ่มแต่แยกหัวข้อและรายงานทุกคนในกลุ่ม
- การสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ตามวัตถุประสงค์ (4.2)
- วางตัวและร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม (4.3)
- มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมสม่ำเสมอ (4.4)
- มีกิจกรรมในชั่วโมงปฏิบัติการเพื่อให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและอาจารย์พิเศษ
- มอบหมายงานกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้
- มอบหมายให้ดูแลความสะอาดและเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมในและนอกชั้นเรียน
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
- ประเมินจากสภาพแวดล้อมภายหลังการมอบหมายงาน
- ให้นักศึกษาประเมินนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- สามารถนำโจทย์ปัญหาที่ให้มาวิเคราะห์อย่างเป็นลำดับในกลุ่มงาน (5.1)
- สามารถใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย และสามารถใช้ภาษาไทยในการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูดได้อย่างเหมาะสม (5.4)
- สามารถคัดเลือกแหล่งข้อมูลมาประกอบการค้นคว้าได้ (5.3)
- สามารถค้นคว้าหาข้อมูล/งานวิจัยหรือการเปลี่ยนแปลงด้านกายวิภาคสัตว์ทางอินเตอร์เน็ตได้ (5.2)
- นักศึกษาสามารถใช้โปรแกรม PowerPoint เพื่อนำเสนองานมอบหมายได้อย่างชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจของเพื่อนร่วมชั้นเรียน
- ผู้สอนมีการนำเสนอข้อมูลหรือวิทยาการใหม่ ๆ เกี่ยวกับการผลิตไข่ หรือนวัตกรรมจากไข่ (egg design) ที่ค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต มาเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นประโยชน์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำเสนอและสืบค้นข้อมูลที่จะประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนและเมื่อจบการศึกษาสามารถนำไปใช้ในอาชีพการงานได้
- การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินทักษะการนำเสนอด้วยโปรแกรม Power point พร้อมรายงานที่ค้นคว้าซึ่งเขียนด้วยลายมือของนักศึกษา
- ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
- ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
-
-
-เพิ่มเติมวิธีการประเมินคือ นักศึกษาสามารถทำผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เองได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะกาวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 1. 2. 1. 1. 2. 1.
1 BSCAG228 เนื้อและผลิตภัณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 (2.1),(2.2), (2.3), (2.4),(3.2), (33), (3.1) การสอบในปฏิบัติการ 15 ครั้ง 1-15 10%
2 (2.1), (3.3),(4.2) ,(4.3),(5.4),(5.3),(5.2) นำเสนอโดยโปรแกรม Power point 16-17 10%
3 (1.1), (1.5), (2.1), (2.2), (2.3) (2.4),(3.1),(3.5) สอบกลางภาค 9 30%
4 (1.1), (1.5), (2.1), (2.2), (2.3) (2.4),(3.1),(3.5) การสอบปลายภาค 18 35%
5 (1.1),(1.3),(1.5),(1.2),(4.1),(4.2),(4.3),(4.4), (3.5) การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และความพอเพียงที่จะนำความรู้ไปใช้ 1-15 5%
6 (1.1),(1.2),(1.3),(1.5).(4.2),(4.3),(4.4) การประเมินตนเองของนักศึกษา ทางพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ 1-15 5
7 (1.3), (4.1),(4.2),(4.3) การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 1-15 3%
8 (4.2),(4.3) การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน โดยนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา 1-15 2%
เทคโนโลยีเนื้อสัตว์. 2551. สัญชัย จตุรสิทธา. 335 น.
ชัยณรงค์ คันธพนิต. 2529. วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. 276น.
เยาวลักษณ์ สุรพันธพิศิษฐ์. 2536. เทคโนโลยีเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์. ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง. 135 น.
ลักขณา รุจนไกรกานต์. 2533. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื้อสัตว์. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื้อสัตว์. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่. 407น
วัฒนี บุญวิทยา. (2542). เทคโนโลยีเนื้อและผลิตภัณฑ์. ปทุมธานี : คณะเทคโนโลยีการเกษตร,สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุจิตรา เลิศพฤกษ์. (2535). "เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ทอ 470 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เนื้อ" ภาควิชาอุตสาหกรรมการเกษตร คณะธุรกิจการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เชียงใหม่.

เกษตรสุวรรณ.. 2529. ไข่และเนื้อไก่ . พิมพ์ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, กรุงเทพมหานคร. 382 หน้า.

Kropf, D.and J. Bowers. 1992. Meat and Products. In "Food Theory and Applications".2nd ed. pp.505-686. D.Chodoff(ed.). Macmillan Publishing Company, New York.
Lawire,R.A. 1991. Meat Science. 5th ed. Pergamon Press Inc. New York. 448p.
Church, P.N. and Wood, J.M. (1992). The Manual of Manufacturing Meat Quality. London and New York : Elsevier Science Publishers Ltd. Potter, N. N. and Hotchkiss, J. H. (1995). Food Science (5 th ed) . America : Chapman amd Hall.
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมต่างๆ สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบการประเมินผลของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอน โดย ฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา
สาขาวิชาจะทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา จากคะแนนดิบและระดับคะแนนของรายวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
มหาวิทยาลัยมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และนำผลประเมินเข้าที่ประชุมผู้บริหารฯ พิจารณาให้ความเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป