การประยุกต์ใช้โปรแกรมตารางคำนวณขั้นสูง

Implementation of Advanced Spreadsheet

เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้โปรแกรมตารางคำนวณ ทำงานเกี่ยวกับตัวเลข วันที่ และข้อความ สามารถสรุปข้อมูลทางสถิติ การแสดงผลข้อมูลในรูปแบบกราฟและตาราง การวิเคราะห์ข้อมูล การเชื่อมโยงสูตร ตลอดจนการกำหนดค่าเพื่อการจัดการไฟล์ข้อมูล
เพื่อให้นักศึกษามีทักษะการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ สามารถทางานเกี่ยวกับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ สามารถแสดงผลจากข้อมูลในมิติต่าง ๆ สามารถใช้โปรแกรมตารางคำนวณเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการกำหนดค่าเพื่อการจัดการไฟล์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สูตรทำงานเกี่ยวกับตัวเลข วันที่ และข้อความแบบซับซ้อน การเรียงลำดับ การกรอง การสรุปข้อมูลทางสถิติ การตรวจสอบข้อมูลตามเงื่อนไข การสร้างตาราง pivot การดูข้อมูลในมิติต่างๆ ในรูปแบบกราฟและตาราง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ what-if การพยากรณ์แนวโน้มและการสร้างสถานการณ์ การเชื่อมโยงสูตรและดูข้อผิดพลาดของสูตรคำนวณและแก้ไขข้อผิดพลาดของสูตร การกำหนดค่าการรักษาความปลอดภัยของเซลล์ ชีท และไฟล์ การสร้าง การรันมาโคร และการนำมาโครไปใช้ชั้นสูง  
The study and practice of formula mechanism on numbers, dates and text; sorting, filtering and summary statistics data; verifying data based on conditions, creating a pivot table to view the data in various dimensions in the form of graphs and tables; what-if analysis to forecast trends and scenarios, linking formulas, checking on the error of the formula, and solving the formula errors; assigning security of cells, worksheets, and files; creating macros, running macros, and application of using advance macros.
อาจารย์จัดเวลาให้คาปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลสงวนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์ และ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม
4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจต่อบุคคลองค์กร และสังคม
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในการสอน
2. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย
3. เน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและการแต่งกายให้เป็นตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
4. มอบหมายงานกลุ่มที่เสริมสร้างการวางแผนการทำงาน การทำงานเป็นทีม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
3. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และการมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ
2. มีความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้ตารางคำนวณในการจัดการและแสดงผลข้อมูลในมิติต่าง ๆ
3. มีทักษะการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ
1. เน้นการเรียนการสอนที่เป็น active learning
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติตามใบงาน
3. ฝึกทักษะการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ
1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ
2. ประเมินจากผลงานการทำแบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติในห้องเรียน
3. ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้า
4. ความรับผิดชอบในการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
1. คิดและจำอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
2. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
 
1. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าทารายงานตามหัวข้อที่กำหนดให้และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
2. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
3. สาธิตตัวอย่างและกรณีศึกษา
1. สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
2. ประเมินจากงานที่มอบหมาย
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1. จัดการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
2. สอดแทรกความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
1. ประเมินความรับผิดชอบตามงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานรายบุคคล
1. พัฒนาทักษะการคิดคานวณเชิงตัวเลข
2. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน
3. พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
4. พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งความรู้ต่างๆ
2. นำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2. ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอรายงานด้วยสื่อเทคโนโลยี
1. สามารถใช้สูตรคำนวณแบบซับซ้อน
2. สามารถใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. แสดงและฝึกปฏิบัติตามตัวอย่าง
2. มอบหมายงานให้นักศึกษา
1. พิจารณาจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-On)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBAIS807 การประยุกต์ใช้โปรแกรมตารางคำนวณขั้นสูง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สัปดาห์ที่ 1-3 , สัปดาห์ที่ 1-7 , สัปดาห์ที่ 10-11 , สัปดาห์ที่ 10-15 สัปดาห์ที่ 1-3 ทดสอบย่อย , สัปดาห์ที่ 1-7 สอบกลางภาค , สัปดาห์ที่ 10-11 ทดสอบย่อย , สัปดาห์ที่ 10-15 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 4 , 9 , 12 , 16 สัปดาห์ที่ 4 ทดสอบย่อยคร้้งที่ 1 เก็บ 10 คะแนน สัปดาห์ที่ 12 ทดสอบย่อยคร้้งที่ 2 เก็บ 10 คะแนน สัปดาห์ที่ 9 สอบกลางภาค เก็บ 30 คะแนน สัปดาห์ที่ 16 สอบปลายภาค เก็บ 30 คะแนน
2 สัปดาห์ที่ 1-16 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10 คะแนน
3 สัปดาห์ที่ 1-16 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม การถามตอบ การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน การแต่งกายและความประพฤติ ตลอดภาคการศึกษา 10 คะแนน
ชาตพล นภาวารี. (2549). เก่งการใช้ฟังก์ชัน Excel ฉบับประยุกต์ใช้งาน. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น. นันทนี แขวงโสภา. (2549). สูตร ฟังก์ชั่น และการใช้งาน Excel ฉบับ Advanced. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น. วิศัลย์ พัวรุ่งโรจน์. (2549). Advanced Excel สุดยอดเทคนิคการใช้งานขั้นสูง. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น. เอกสารประกอบการสอนวิชา การประยุกต์ใช้โปรแกรมตารางคำนวณชั้นสูง อาจารย์จตุพร ศิลพรชัย
-เอกสารประกอบการสอนวิชา การประยุกต์ใช้โปรแกรมตารางคำนวณชั้นสูง อาจารย์จตุพร ศิลพรชัย
เว็บไซต์ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ
1. การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน 2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 3. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1. การสังเกตการณ์สอน 2. ผลการเรียนของนักศึกษา 3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และการให้คะแนนพฤติกรรมของนักศึกษาในการทางาน
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ