การสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและกฎหมายอาหาร

Food Industrial Plant Sanitation and Food Law

1.1  มีความรู้และความเข้าใจหลักการของสุขาภิบาล และสุขลักษณะการผลิตอาหารในอุตสาหกรรมอาหาร 1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสุขลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การเก็บรักษา และการขนส่งอาหาร 1.3  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคล กลไกการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค 1.4  มีความรู้และความเข้าใจด้านการจัดการน้ำใช้ในโรงงาน การจัดการของเสีย และกฎหมายอาหาร 1.5  สามารถจัดเตรียมเอกสารเพื่อยืนขอเป็นสถานที่ผลิตอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขได้
ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และให้ตรงกับคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตร
การออกแบบโรงงาน และการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาล  สุขลักษณะในการผลิตอาหาร  การเก็บรักษา และการขนส่งอาหาร สุขลักษณะส่วนบุคคล กลไกการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การจัดการน้ำใช้ในโรงงาน การจัดการของเสีย และกฎหมายอาหาร
จัดให้นิสิตพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง    3.1 วันพุธ เวลา 15.00 - 17.00 น. ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร โทร.055-298438 ต่อ 2210    3.2  e-mail; metawee@rmutl.ac.th 
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
1. 1 ปลูกฝังการสร้างจิตสำนึกและจรรยาบรรณด้านการผลิตอาหารตามหลักสุขาภิบาลโรงงานอาหาร ให้ปลอดภัยตรงตามมาตรฐานระดับสากล โดยให้ความรู้และยกตัวอย่างกรณีศึกษา พร้อมทั้งการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอาหาร 1.2 การสอนมีการบรรยายเนื้อหา ยกตัวอย่างกรณีศึกษา อาจารย์ผู้สอนกระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และแสดงทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กรณีศึกษาและความคิดเพื่อแก้ปัญหา พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนทัศนคติ เกี่ยวกับด้านสุขาภิบาลฯ
1. ประเมินจากพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นและทัศนคติ ของนักศึกษาที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนและหลังจากการเรียน 2. ประเมินจากจำนวนครั้งที่นักศึกษาทีถูกร้องเรียนเรื่องการกระทำทุจริต 3.ประเมินจากการสังเกต ของนักศึกษาระหว่างเรียนนักศึกษามีการแสดงความคิดเห็นหรือทัศนคติ ที่สื่อถึงความซื่อสัตย์สุจริตด้านสุขาภิบาลอาหาร
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
2.1
1. การบรรยายให้ความรู้ด้านทฤษฎี 2. ให้นักศึกษาทำแบบจำลองโรงงานผลิตอาหาร สร้างระบบสุขาภิบาลอาหารในแบจำลองที่สร้างขึ้นพร้อมทำเอกสารระบบสุขาภิบาลตามเอกสารของสารธารณสุขจังหวัด 3. จัดให้มีจัดทำรายงานในเนื้อหาวิชาสอน พร้อมทั้งให้นักศึกษานำเสนอ และมีการตอบข้อซักถามภายในชั้นเรียน 2.4  1. อาจารย์ผู้สอนบรรยายถึงกฎเกณฑ์ ข้อกำหนดของการทำมาตรฐานต่างๆ 2. อาจารย์ผู้สอนบรรยายความเป็นมาของสุขาภิบาลโรงงานอาหาร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และแสดงความคิดเห็นเรื่องมาตรฐานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกัน 3. มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงานโดยหาข้อมูลด้านกฎระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ ด้านสุขาภิบาลโรงงานอาหาร
2.1 1. ประเมินจากการจดข้อมูลของนักศึกษาระหว่างเรียน 2. ประเมินจากตอบคำถามในชั้นเรียน 3. ประเมินจากงานและรายงานที่ได้รับมอบหมาย 4. ประเมินจากคะแนนสอบ 2.4 1. ประเมินจากเนื้อหาและความถูกต้องของรายงานที่นักศึกษานำเสนอ 2. ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา 3. ประเมินจากคะแนนสอบ 4. ประเมินจากเหตุผลและความถูกต้องของศาสตร์วิชาที่นักศึกษาใช้อธิบายและอ้างอิง
4.1  มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเอง และรับผิดชอบในงานกลุ่ม
มอบหมายให้งานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม ให้อิสระนักศึกษาในการกำหนดหัวหน้ากลุ่มและสมาชิกในกลุ่ม
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงอกของนักศึกษาในการเตรียมงาน ระหว่างการทำงาน และการนำเสนองาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6
1 BSCFT004 การสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและกฎหมายอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 1.2 - จำนวนครั้งการเข้าเรียนต้องเกิน 80% - การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน - คะแนนกิจกรรมส่วนมหาวิทยาลัย 1-8 และ 9-16 10%
2 2.1 2.3 การสอบกลางภาค 9 30%
3 2.1 2.3 การสอบปลายภาค 17 30%
4 4.1 - การนำเสนองาน/การรายงานมอบ 1-15 30%
กัลยาณี ดีประเสริฐวงศ. 2550. ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารตามมาตรฐาน ISO 22000 : 2005. กองควบคุมอาหาร สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แหล่งที่มา http://iodinethailand.fda.moph.go.th/fda/new/images/cms/top_upload/1193214032_ISO22000.pdf. สุวิมล กีรติพิบูล. 2557. GMP ระบบการจัดการและควบคุมการผลิตอาหารให้ปลอดภัย. สำนักพิมพ์ ส.ท.ท. กรุงเทพฯ. สุวิมล กีรติพิบูล. 2556. ระบบประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหาร; HACCP. สำนักพิมพ์ ส.ท.ท. กรุงเทพฯ. สุวิมล กีรติพิบูล. 2551. ISO22000 Food Safety Management System. สำนักพิมพ์ ส.ท.ท. กรุงเทพฯ.
สุมณฑา วัฒนสินธุ์. 2543. ความปลอดภัยของอาหาร (การใช้ระบบ HACCP). สำนักพิมพ์ ส.ท.ท. กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2558. คู่มือ การขออนุญาตและพัฒนาสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดี. สำนักพิมพ์: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ
www.fda.moph.go.th http://www.fda.gov www.sciencedirect.com www.ift.org/cms
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์ผู้สอนจัดได้ชี้แจงแบบประเมินทางออนไลน์ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา หลังจากที่ได้ศึกษารายวิชาเคมีอาหาร 2 ครบ 15 สัปดาห์ โดยให้นักศึกษาประเมินหลังจากการสอบปลายภาค ว่านักศึกษาได้รับความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ประโยชน์ ที่นักศึกษาได้รับ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะจากนักศึกษา เพื่อการปรับปรุงรายวิชา
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์ผู้สอน ร่วมกันประเมินการสอน โดยประเมินจากนักศึกษา สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอน และสภาพแวดล้อมระหว่างการเรียนการสอน โดยประเมินจากกระบวนการสอน ผลที่เกิดกับนักศึกษา หลังจากสอบปลายภาค
การสอนถูกปรับปรุงโดยนำข้อมูลจากการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาและการประเมินการสอน ข้อมูลที่นักศึกษาประเมิน ข้อมูลหรือความรู้ที่ได้จากงานวิจัยข้อมูลจากการฝึกอบรมต่าง ข้อมูลจาก มคอ.5 จากปีการศึกษาที่ผ่านมา หรือคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ที่มีประสบการณ์การสอนรายวิชาเคมีอาหาร2 มาปรับปรุงเนื้อหาภาคทฤษฎี งานที่มอบหมายและวิธีการสอนให้สามารถสอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
 
คณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนและระดับขั้นคะแนน โดยการสุ่มรายวิชา และนักศึกษาประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาเอง
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการจากนักศึกษา คะแนนสอบของนักศึกษา สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา และปัญหาที่นักศึกษาเข้าปรึกษากับอาจารย์ โดยอาจารย์ผู้สอนนำข้อมูลดังกล่าวเข้าขอคำปรึกษาภายในที่ประชุมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรท่านอื่นๆ เพื่อร่วมกันแนะนำแนวทาง วิเคราะห์ปัญหา และแก้ปัญหา อีกทั้งยังนำข้อมูลดังกล่าวไปทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้  หากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการจะนำเสนอในที่ประชุมภาควิชาฯ เพื่อพิจารณาต่อไป