การเลี้ยงสัตว์น้ำ

Aquatic Animal Culture

 เข้าใจระบบและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถเตรียมพื้นที่การเลี้ยงสัตว์น้ำ เตรียมลูกพันธุ์สัตว์น้ำ เลี้ยงและจัดการการเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถจับ ลำเลียง ขายสัตว์น้ำ  และสามารถวางแผนการผลิตสัตว์น้ำได้ รวมทั้งเห็นความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์น้ำ อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
 
 
เพื่อให้มีเนื้อหาวิชาที่ทันเหตุการณ์และทันสมัยมากขึ้น
 
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนการผลิต ระบบและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ การเตรียมพื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำ การเตรียมลูกพันธุ์สัตว์น้ำ การเลี้ยงและการจัดการ การจับการลำเลียง และการตลาด
2 ชม./สัปดาห์
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาละจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรก เพื่อให้นักศึกจาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่นๆ ดังนี้
     (1) มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึงศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวละปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ 
     (2) มีจรรยาบรรณ หมายถึง  มีระเบียบวินัยและเคารพกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรณยาบรรณวิชาชีพ
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์ต่อส่วนรวม และเสียสละ เป็นต้น
1.ประเมินจากการมีวินัยจากตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด
2. ประเมินจากความพร้อมเพียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3.ประเมินจากความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
4.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
5.ประเมินจากผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นหรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน
6.ประเมินจากพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพทางการเกษตรเพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
     (1) มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพ ที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบทั้งหลักการทฤษฏี และการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
     (2) มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
จัดการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่น การบรรยาย การฝึกปฏิบัติจริง ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ที่เกี่ยวข้องและทันสมัยตามลักษณะของรายวิชา มานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา คือ
     (1) การทดสอบย่อย
     (2) การทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
     (3) ประเมินจากการนำเสนอรายงายงานในชั้นเรียน
ต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาแล้ว ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมๆกับคุณธรรมจริยธรรมและความรู้ ในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศักษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
     (1) สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึงมีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และคิดแบบองค์รวม
     (2) สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
     (3) ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึงแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
(1) การอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิด วิเคราะห์ข้อมูล และประยุกต์ใช้ข้อมูลที่เรียนมาเพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหา 
(2) ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
(1) ประเมินจากผลงานการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
(2) การสัมภาษณ์ หรือการสอบปากเปล่า
(3) การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ความสามารถที่จะปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกการสอนที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางสังคมดังต่อไปนี้
     (1) ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิด และประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผล และความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับ และสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
     (2) มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยจากสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่นิ่งดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ ดังนี้
     (1) การให้รวมกลุ่มฝึกปฏิบัติจริง
     
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการทำงานเป็นกลุ่ม
                       
ในยุุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาจะต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม และความรู้ด้านเกษตรศาสตร์ ดังนี้
     (1) มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน
     (2) มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้แก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงานจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์ 
(1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอ และการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล
(2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ประมวลผล และแปรความหมาย
(3) การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
นักศึกษามีความสามารถปฏิบัติงานทางวิชาชีพและพัฒนาตนเองได้โดยนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากทักษะการปฏิบัติ ดังนี้
     (1) ทักษะวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาและพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติให้นักศึกษาปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
การวัดและการประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และทักษะการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
     (1) ประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
     (2) ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
     (3) ความสำเร็จและคุณภาพของงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 1. 2. 1. 2. 3. 1. 2. 1. 2. 1.
1 BSCAG304 การเลี้ยงสัตว์น้ำ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2 -ประเมินการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด -ประเมินจากความพร้อมเพียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร -ประเมินจากความซื่อสัตย์ สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ -ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย -ประเมินจากพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1,2.2 -ประเมินจากการทดสอบย่อย -ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน -ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 4,8,12,18 40%
3 3.1,3.3 -การซักถามในชั้นเรียน -การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ 4,8,12,18 20%
4 4.1,4.2 -ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน และสังเกตุพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 5.1,5.2 -ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดภาคการศึกษา 10%
6 6.1 -ประเมินจากประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติอย่างถูกต้อง -ประเมินจากความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า -ประเมินจากความสำเร็จและคุณภาพของงาน ตลอดภาคการศึกษา 15%
เกรียงศักดิ์  เม่งอำพัน. 2547. หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่. 229 น. โชคชัย  เหลืองธุวปราณีต. 2548. หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. สำนักพิมพ์โฟร์เพซ, กรุงเทพ. 481 น. ประวิทย์  สุรนีรนาถ. 2531. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วไป. คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 185 น.


ศักดิ์ชัย  ชูโชติ. 2536. การเลี้ยงปลาน้ำจืด. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพมหานคร. 201 น. สะเทื้อน  ปิ่นน้อย. 2547. หลักการจัดการฟาร์มสัตว์น้ำ. ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 196น. สุภาพร  สุกสีเหลือง. 2538. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ. กรุงเทพ. 291 น.  
เวบไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อใน มคอ.3 เช่น กรมประมง กรมควบคุมมลพิษ
ควรเพิ่มเติมข้อมูลของสัตว์น้ำใหม่ๆ ที่น่าสนใจ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน โดยมีการสัมมนาการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น  
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา โดยมีการตั้งคณะกรรมการใน และคณะกรรมในหลักสูตรการและในคณะฯ ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4