ฟิสิกส์พื้นฐาน 1

Fundamental Physics 1

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์
2. แก้ปัญหาทางฟิสิกส์ได้ และประยุกต์วิชาฟิสิกส์พื้นฐานกับวิชาชีพและเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้
3. มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
1. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีพื้นฐานทางฟิสิกส์เพิ่มขึ้น
2. นักศึกษาพัฒนาความรู้และทักษะเฉพาะด้าน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์และครอบคลุม สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับระบบหน่วยและเวกเตอร์ แรง กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน งานและพลังงานโมเมนตัมและการชน การเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งแกร็ง กลศาสตร์ของไหล สมบัติเชิงกลของสาร ความร้อนและอุณหพลศาสตร์เบื้องต้น คลื่นและคลื่นเสียง
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1    จริยธรรมและความรับผิดชอบ มีวินัย ต่อตนเองและสังคม
1.2   การเคารพสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.3   การตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.4   การมีภาวะผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขขัดแย้งและลำดับความสัมพันธ์
1.5   การมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
- กำหนดกติการ่วมกันและปฏิบัติอย่างเข้มงวด ในการเข้าเรียน การส่งงานและการนำเสนอผลการทดลอง ที่ถูกต้องและตรงต่อเวลา
- ให้ทุกคนในแต่ละกลุ่ม ได้มีโอกาสลงมือทำแบบฝึกหัดทุกคน
- ให้ทุกคนในแต่ละกลุ่มได้มีโอกาสอภิปรายและแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน
 - บันทึกผลการสังเกตพฤติกรรม
-ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น การตั้งคำถาม การตอบคำถาม การนำเสนอ ทำแบบฝึกหัด การวิเคราะห์ผลการทำแบบฝึกหัด การอภิปรายผลการทำแบบฝึกหัด
-ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลา
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
-จัดการเรียนการสอนแบบใฝ่รู้
-กำหนดแนวทางการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษาในการเรียนจะเรียนในเชิงวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มีทั้งทฤษฎีและทำแบบฝึกหัด
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เช่น การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ตรวจผลงานผลงานหรือชิ้นงานที่ได้รับมอบหมาย
- สังเกตการเรียนรู้เมื่อได้รับข้อมูลแล้วสามารถใช้ความคิด อธิบายผลของการได้รับข้อมูลอย่างชัดเจนและมีเหตุผล บันทึกผลการสังเกต
3.1.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
กำหนดแนวทางการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ในการเรียนจะเรียนในเชิงวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มีทั้งทฤษฎีและทำแบบฝึกหัด สรุปผล อภิปรายผล
ส่วนการเรียนรู้ในชั้นเรียน
- ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้
- ฟังบรรยายเนื้อหา
- แสดงความคิดเห็นถาม-ตอบ
- ทำแบบฝึกหัด
- วิเคราะห์และอภิปรายผล
ส่วนการเรียนรู้นอกชั้นเรียน
เป็นการฝึกทักษะทางสมองและความคิด กับประสาทสัมผัสต่างๆ และทำแบบฝึกหัดเป็นการเรียนรู้เรื่องเนื้อหา ด้วยการสังเกตการณ์ทำงานของผู้อื่น สังเกตการณ์นำทฤษฎีไปใช้ในงานจริง ได้สัมผัสบรรยากาศของทำแบบฝึกหัด
- การมีความผิดชอบ มีวินัย ความสนใจใฝ่รู้
- การเรียนรู้ทฤษฎี
- สอบกลางภาค
- สอบปลายภาค
4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
-  จัดกิจกรรมกลุ่มในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์
-  มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
- มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับ
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 4 5 1 2 3 1 2 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 FUNSC105 ฟิสิกส์พื้นฐาน 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะทางความสัมพันธ์และความรับผิดชอบ ทักษะเชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (1.1) ,(1.3), (1.4), (2.1) ,(3.1) , (4.1),(4.2) ,(4.3),(4.4),(5.2) - การทำแบบฝึกหัดและงานที่ได้รับมอบหมาย - การกำหนดเวลาการส่งงานแล้วนักศึกษาส่งตรงตามเวลาที่กำหนด - การเข้าห้องเรียน และพฤติกรรมในห้องเรียน - การใช้ทรัพยากรอย่างคุมค่า เช่น ทำแบบฝึกหัดลงในสมุดที่เหลือ หรือการใช้กระดาษครบทั้ง 2 หน้า เป็นต้น - เนื้อหาของรายงานที่ได้รับมอบหมาย - ความถูกต้องของแบบฝึกหัด - ความซื่อสัตย์ในการสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ทักษะทางปัญญา ทักษะเชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (2.1) ,(3.1) ,(5.2) - คะแนนการสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา (1.1) ,(1.3) ,(1.4) ,(2.1),(3.1) สอบกลางภาคและสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9, 17 60%
1.    ผศ.จรัส  บุณยธรรมมา. 2543. ฟิสิกส์ระดับหมาวิทยาลัย  ภาคกลศาสตร์. สุวีริยาสาส์น์. กรุงเทพฯ:
2.   นายชวลิต  คัยนันทน์.  2541.  ฟิสิกส์ประยุกต์ (ความร้อน แสงเสียง ).กรุงเทพฯ:
3.   ผศ.จรัส  บุณยธรรมมา.  2544.  โจทย์ประกอบการเรียนฟิสิกส์.  สุวีริยาสาส์น์. กรุงเทพฯ :
1.   คณาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย.  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กรุงเทพฯ :
2.   The  Feyman  lectures  on  Physics ,  Richard  P.  Feynnan , Add :  son – Wesley  publishing  company , 1971.
3.   Physics  scientists  &  engineers  with  modern  physics  Douglas C. Giancoli , Prentice Hall, 2009.
1.    http://www.sci.rmuti.ac.th/physics/physics1/Physics1Slides.html
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
            1. สนทนาสอบถามความคิดเห็นนักศึกษาเป็นรายคน
            2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินการเรียนการสอนรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
            1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
            2. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียนของนักศึกษา และผลการเรียนของนักศึกษา
            3. การตรวจงานที่มอบหมาย
            4. การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ร่วมสอน
1. ปรับปรุงการเรียนการเรียนการสอนโดยอาศัยผลการประเมินการสอนในภาคเรียนก่อนดังนี้
            (1) จัดทำใบงานประกอบกิจกรรมให้ชัดเจน จะช่วยให้ประหยัดเวลาในการประกอบกิจกรรม
            (2) จัดทำสื่อ Power Point กรณีศึกษาประกอบการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเชื่อมโยงกันระหว่างทฤษฎีกับสภาพจริงด้านฟิสิกส์ 1 สำหรับวิศวกร
            (3) นำเสนอสื่อการเรียนในรูปแบบวิดีโอ เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีด้านฟิสิกส์ 1 สำหรับวิศวกร
 2. ปรับปรุงการเรียนการสอนโดยอาศัยผลการประเมินในข้อ 7.2
1. ระหว่างเรียนสุ่มตรวจสอบความรู้นักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
2. หลังจากส่งผลการเรียนแล้วสุ่มตรวจสอบความรู้นักศึกษาโดยวิธีการสัมภาษณ์
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาครั้งต่อไป  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1. จัดทำสื่อ Power Point กรณีศึกษาประกอบการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเชื่อมโยงกันระหว่างทฤษฎีกับสภาพจริงด้านฟิสิกส์ 1 สำหรับวิศวกร
2. นำเสนอสื่อการเรียนในรูปแบบวิดีโอ เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีด้านฟิสิกส์ 1 สำหรับวิศวกร
3. ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
4. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย