เขียนแบบวิศวกรรม

Engineering Drawing

          เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน หลักการ เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่างๆในการเขียนแบบพร้อมทั้งฝึกทักษะในการปฏิบัติการเขียนแบบให้มีความเชี่ยวชาญเพื่อนักศึกษาจะได้นำความรู้ ความสามารถไปใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกร
    เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้พื้นฐานในด้านการเขียนแบบวิศวกรรมซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานของวิศวกร ทางอาจารย์ผู้สอนจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทุกหัวข้อของรายวิชาและเป็นแนวทางให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมในการศึกษาล่วงหน้าและทางผู้สอนเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันต่อเทคโนโลยีของโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนแบบซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
     ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการเขียนตัวอักษร การมองภาพ การเขียนภาพออร์โธกราฟิก และการเขียนภาพ 3 มิติ การกำหนดขนาดและพิกัดความเผื่อ ภาพตัด ภาพช่วยและแผ่นคลี่ การเสก็ตซ์ภาพด้วยมือ การเขียนภาพแยกชิ้นและภาพประกอบ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ   ขององค์กรและสังคม
1. นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่มอบหมายตามกำหนดเวลา
2. ชี้แจงวิธีการปฏิบัติในการเรียนการสอน และกฎระเบียบข้อบังคับ
3. บรรยายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเขียนแบบวิศวกรรมในงานอุตสาหกรรม
4. มอบหมายงานประจำวิชา ค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และรายงาน
1. พิจารณาพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งผลงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามกำหนดเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. การร่วมกิจกรรมระหว่างเรียนการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผลถูกต้องเหมาะสมและสร้างสรรค์
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติใน
    เนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
 1. บรรยาย อภิบาย ยกตัวอย่าง 
 2. ฝึกปฏิบัติและสร้างผลงานในการเขียนแบบ โดยใช้เครื่องมือและแนวทางในวิชาชีพจริง
 3. มีกิจกรรม ประเด็นปัญหาเพื่อการถาม –ตอบในระหว่างการเรียนการสอน
 4. การนำเสนอผลงานและรายงาน การวิเคราะห์งานเขียนแบบที่นักศึกษาทำ
1. ทดสอบกลางภาคปฏิบัติ และสอบปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นวัดหลักการและทฤษฎี
2. ประเมินผลจากการปฏิบัติงาน
3. นำเสนอสรุปผลจากรายงานที่มอบหมาย และการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
1. การบรรยาย/ฝึกปฏิบัติ/อภิปราย/ซักถาม
2. ปฏิบัติงานและวิเคราะห์งานที่ได้ปฏิบัติ
3. การทำงานกลุ่ม การนำส่งผลงาน
4. การสรุปบทเรียน
1. ตรวจผลการสอบกลางภาคปฏิบัติและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์งานเขียนแบบ
2. วัดผลจากการทดสอบและการส่งผลงาน
3. สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหารวมถึงการทางานกลุ่ม
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
1. มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล
2. ปฏิบัติตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย
3. การนำเสนอรายงาน
1. ตรวจงานที่มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล
2. สามารถปฏิบัติตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย
3. มีการนำเสนอรายงานที่ถูกต้อง
มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
1. มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล ในรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2. การนำเสนอรายงานที่มีส่วนร่วมในการอภิปรายและการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน
1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน
1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 2. มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1. ปฏิบัติตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย
2. มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล การนำส่งผลงาน
1. ตรวจผลการสอบกลางภาคปฏิบัติและสอบปลายภาค
2. สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหารวมถึงการทางานกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่มอบหมายตามกำหนดเวลา 2. ชี้แจงวิธีการปฏิบัติในการเรียนการสอน และกฎระเบียบข้อบังคับ 3. บรรยายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเขียนแบบวิศวกรรมในงานอุตสาหกรรม 4. มอบหมายงานประจำวิชา ค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และรายงาน 1. บรรยาย อภิบาย ยกตัวอย่าง 2. ฝึกปฏิบัติและสร้างผลงานในการเขียนแบบ โดยใช้เครื่องมือและแนวทางในวิชาชีพจริง 3. มีกิจกรรม ประเด็นปัญหาเพื่อการถาม –ตอบในระหว่างการเรียนการสอน 4. การนำเสนอผลงานและรายงาน การวิเคราะห์งานเขียนแบบที่นักศึกษาทำ 1. การบรรยาย/ฝึกปฏิบัติ/อภิปราย/ซักถาม 2. ปฏิบัติงานและวิเคราะห์งานที่ได้ปฏิบัติ 3. การทำงานกลุ่ม การนำส่งผลงาน 4. การสรุปบทเรียน 1. มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล 2. ปฏิบัติตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย 3. การนำเสนอรายงาน 1. มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล 2. การนำเสนอรายงานที่มีส่วนร่วมในการอภิปรายและการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน 1. ปฏิบัติตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย 2. มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล การนำส่งผลงาน
1 ENGCC301 เขียนแบบวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2 2.2,5.4 2.2 6.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 5% 10% 5% 10%
2 1.2,3.5,6.1 3.55.4 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตรงต่อเวลา รายงาน ตลอดภาคการศึกษา 60%
    มานพ ตัณตระบัณฑิตย์ , ไชยันต์ สิริกุล .เขียนแบบวิศวกรรม มาตรฐานญี่ปุ่น (JIS) . พิมพ์ครั้งที่ 1 .กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย – ญี่ปุ่น), 2557
   ชาญฉจิต วรรณนุรักษ์ (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชาเขียนแบบวิศวกรรม.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

 
อำนวย อุดมศรี . เขียนแบบวิศวกรรม . บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด . กรุงเทพฯ . 2540
COLIN H.SIMMONS , DENNIS E.MAGUIRE , NEIL PHELPS.MANUAL OF ENGINEERING DRAWING.THIRD EDITION . Printed and bound in Great Britain , 2009
Henry Cecil Spencer , John Thomas Dygdon , James E. Novak . BASIC TECHNICAL DRAWING . Glencoe McGraw-Hill. 2000
K.Venkata Reddy.2008.Textbook of ENGINEERING DRAWING.BS Publications , 2008
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ