วิศวกรรมงานหล่อโลหะ

Foundry Engineering

1) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมวิธีการหล่อโลหะต่าง ๆ           2) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแบบหล่อทราย การทดสอบคุณสมบัติของทราย           3) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระสวน           4) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำแบบหล่อและไส้แบบทรายชนิดต่าง  ๆ           5) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการแข็งตัวของโลหะและวัสดุที่ใช้ในงานหล่อ           6) เพื่อให้ผู้เรียนพิจารณาเลือกระบบจ่ายน้ำโลหะและการออกแบบรูล้น           7) เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติเกี่ยวกับการหลอมและการเทน้ำโลหะ           8) เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติการทำความสะอาดและตรวจคุณภาพงานหล่อ           9) เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะปฏิบัติงานวิศวกรรมการหล่อโลหะ           10) เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่องานทางด้านวิศวกรรมการหล่อโลหะ
-
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการและกรรมวิธีการหล่อโลหะต่าง ๆ แบบหล่อทราย การทดสอบคุณสมบัติของทราย การทำแบบหล่อและไส้แบบด้วยทรายชนิดต่าง ๆ กลไกการแข็งตัวของน้ำโลหะ ระบบจ่ายน้ำโลหะ การออกแบบรูล้น วัสดุที่ใช้ในงานหล่อ การหลอมและเทน้ำโลหะ การทำความสะอาดและตรวจคุณภาพงานหล่อ
าจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.2 วิธีการสอน
สอดแทรกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงภาระ ความรับผิดชอบของอาชีพวิศวกร และผลกระทบที่เกิดขึ้นหากวิศวกรไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2.2 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียนตรงต่อเวลา มารยาทการใช้อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความซื่อสัตย์ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การลอกการบ้าน การลอกกันระหว่างการทดสอบย่อย เป็นต้น กำหนดบทลงโทษและชี้ให้เห็นถึงผลของพฤติกรรมดังกล่าวที่จะส่งผลกระทบต่อสังคมในอนาคต
1.3 วิธีการประเมินผล
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2    สังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการทดลองใช้วิธีการสอนในข้อข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายก็อาจเปลี่ยนสถานการณ์ให้เหมาะสมมากขึ้น
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
ความรู้ที่จะได้รับครอบคลุมตามวัตถุประสงค์รายวิชา ประกอบไปด้วย หลักการและกรรมวิธีการหล่อโลหะต่าง ๆ แบบหล่อทราย การทดสอบคุณสมบัติของทราย การทำแบบหล่อและไส้แบบด้วยทรายชนิดต่าง ๆ กลไกการแข็งตัวของน้ำโลหะ ระบบจ่ายน้ำโลหะ การออกแบบรูล้น วัสดุที่ใช้ในงานหล่อ การหลอมและเทน้ำโลหะ การทำความสะอาดและตรวจคุณภาพงานหล่อ  โดยนักศึกษาต้องสามารถบูรณาการความรู้วิชานี้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ เช่น วิชาโลหะวิทยาในงานวิศวกรรม งานอบชุบโลหะ เป็นต้น รวมทั้งต้องมีความรู้เพียงพอในการประยุกต์ในงานจริงได้
2.2 วิธีการสอน
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน Problem – based Learning 
2.3 วิธีการประเมินผล
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2.3.2   ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย 2.3.3   พิจารณาจากกิจนิสัย
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.2 วิธีการสอน
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 3.2.2   อภิปรายกลุ่ม 3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา  3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ 3.3.2   วัดผลจากการประเมินผลงานที่มอบหมาย 3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยีงานหล่อโลหะในปัจจุบัน การหล่อโลหะเพื่อผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ทางอุตสาหกรรม หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา 4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.2   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข 5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room 5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข การใช้เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนการดูและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยในรายวิชาวิศวกรรมการหล่อโลหะ กำหนดให้นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติตามใบงานที่กำหนดทั้งหมด 17 ใบงาน ซึ่งครอบคลุมตามเนื้อหาสาระของรายวิชา โดยเน้น Hands-On เป็นสำคัญ นอกเหนือจากผลการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ ตามข้อที่ 1 - 5
ประเมินจากทักษะการปฏิบัติตามใบงานที่กำหนดแต่ละสัปดาห์                    - ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1 - 5 บทที่ 6 - 9 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9,17 20,20
2 บทเรียนปฏิบัติ การปฏิบัติงานตามใบงาน ตลอดภาคการศึกษา 30
3 ตามหัวข้อที่มอบหมาย เคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20
4 ทุกบทเรียน การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
พีรพันธ์  บางพาน.  2534.  คู่มือปฏิบัติงานหล่อโลหะ 1.  เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่. สุภชัย  ประเสริฐสกุล.  ม.ป.ป.  เทคโนโลยีงานหล่อโลหะ.  วิทยาเขตขอนแก่น.
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4