การเขียนโปรแกรมบนเว็บ

Web Programming

1. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ
2. มีความรู้ความเข้าใจในแนวความคิดในการเขียนโปรแกรมบนเว็บ
3. เข้าใจรูปแบบ วิธีการ และคำสั่งในการเขียนโปรแกรมบนเว็บ
4. มีทักษะในการนำความรู้ที่ได้มาแก้ปัญหาในการเขียนโปรแกรมบนเว็บ
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านระบบสารสนเทศของสำนักงาน
การสร้างโปรแกรมประมวลผลบนระบบเว็บ ภาษาแสดงผล การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ การสร้างเว็บแบบไดนามิก การใช้ประโยชน์โปรแกรมฝั่งลูกข่ายและแม่ข่าย การใช้โปรแกรมฝั่งลูกข่ายเพื่อควบคุมการทำงานของเว็บ กลไกคุกกี้และการสร้างเว็บที่เก็บสถานะ การใช้ทรัพยากรบนแม่ข่าย และในระบบเครือข่าย ระบบประมวลผลร่วมกับฐานข้อมูล ข้อคำนึงถึงด้านความปลอดภัยของระบบงาน
4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต 
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม 
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม 
1.1.6 สามารถคิดวิเคราะห์แผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 
1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
-สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
-อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
- การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
- การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
- ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
- ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1.มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา  2.1.2.สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง ประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา  2.1.3.สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด  2.1.4.สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์  2.1.5.รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง  2.1.6.มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจ ผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ  2.1.7.มีประสบการณ์ในการพัฒนาและหรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง 2.1.8.สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
- จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
- ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
- การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
-การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
-ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง
-ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
-ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
-ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
3.1.1.คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ 
3.1.2.สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 
3.1.3.สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 
3.1.4.สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
-จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
-กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
-การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
-การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
- ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
- ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
4.1.1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษา ต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 
4.1.2.สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 
4.1.3.สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 
4.1.4.มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 
4.1.5.สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม 
4.1.6.มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
- สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
- มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
- มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
-การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
-พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
-การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
-สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
-สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
5.1.1.มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  5.1.2.สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดง สถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์  5.1.3.สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อ การนำเสนออย่างเหมาะสม  5.1.4.สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
- สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
- จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
- ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้
- มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
- ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
- ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 2 3 4 5 6 1 1 2 3 4
1 12031204 การเขียนโปรแกรมบนเว็บ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2,1..5 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกายและการปฎิบัติตามกฎระเบียบ ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1.1,1.2,2.1,2.2,2.4,2.7,2.8,,3.3,3.4,4.1,4.2,4.4,5.1,5.3,5.4 งานที่มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 1-8 และ 10-16 20%
3 1.1,1.2,1.5,2.1,2.2,2.5,2.8,3.3,3.4,4.3,5.1,5.2 สอบกลางภาค 9 30%
4 1.1,1.2,1.5,2.1,2.2,2.5,2.8,3.3,3.4,4.3,5.1,5.2 สอบปลายภาค (ข้อเขียน) 17 20%
5 1.1,1.2,1.5,2.1,2.2,2.5,2.7,,2.8,3.3,3.4,4.3,5.1,5.2,5.4 สอบปฎิบัติ 17 20%
จีราวุธ วารินทร์.พัฒนาเว็บไซต์สมัยใหม่ด้วย HTML5 CSS3+jQuery.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ซิมพลิฟาย,2557
จีระสิทธิ์ อึ้งรัตนวงศ์.PHP+AJAX+jQuery.กรุงเทพฯ:บริษัท โปรวิชั่น จำกัด,2555.
พิรพร หมุนสนิท. พื้นฐานการโปรแกรมบนเว็บ. กรุงเทพฯ:บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ม จำกัด, 2551.
สุธี พงศาสกุลชัย, ณรงค์ ล่ำดี. เว็บเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: บริษัท เคทีพี คอมพ์ คอนซัลท์ จำกัด, 2551.
สมศักดิ์ โชคชัยชุติกุล. Insight PHP. กรุงเทพฯ:บริษัท โปรวิชั่น จำกัด,2550.
ศุภชัย สมพานิช. Basic HTML5 with CSS3 & jQuery.กรุงเทพฯ: บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด,2556.
- www.webub.com
- www.designil.com
- www.siamhtml.com
- www.thaicss.com
- www.divland.com
- php.net
- mindphp.com/
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสะท้อนความคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
- ผลการสอบ
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
- นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
มีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่มของผู้เรียน โดยผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาที่ผิดปกติหรือไม่ และมีการแจ้งผลของคะแนนที่ได้รับเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
ปรับปรุงรายวิชาทุกปี เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยแปลงอยู่ตลอดเวลา