การผลิตพืชและสัตว์สำหรับวิศวกร

Crop and Animal Production for Engineers

เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในคำศัพท์สำคัญทางการเกษตร การจำแนกชนิดและพันธุ์พืช ระบบการปลูกพืช ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตพืช การขยายพันธุ์พืช การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและการตลาด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืช สภาพและระบบการผลิตสัตว์เศรษฐกิจและสัตว์น้ำที่สำคัญ ลักษณะประจำพันธ์ของสัตว์เศรษฐกิจและสัตว์น้ำ รูปแบบการเลี้ยงปลาแบบต่างๆ การเลี้ยงดูและการให้อาหารระยะต่างๆ การเก็บเกี่ยวและการลำเลียงปลา โรคและการสุขาภิบาล การตลาด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการเกษตรต่อการพัฒนาประเทศไทย เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตพืชและการผลิตสัตว์
รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของการผลิตพืชและการผลิตสัตว์ ที่มีต่อการพัฒนาภาคการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งรายวิชานี้จะมีการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) มากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการอภิปราย วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการจำแนกชนิดและพันธุ์พืช ระบบการปลูกพืช ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตพืช การขยายพันธุ์พืช รูปแบบการปลูกพืช การเก็บเกี่ยว วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและการตลาด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ อาหารสัตว์ โรคและการสุขาภิบาล มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร และการศึกษาดูงานนอกสถานที่
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.3 สามารถวิเคราะห์และประเมิณผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม จริยธรรมตาม จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem –based Learning) โดยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาที่ยกตัวอย่าง
1.3.1 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.3 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.4 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.2 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.2.1 บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ จัดทำโครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning) ซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
2.3.3 ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1.1 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.2 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.2.1 มอบให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติแก้ไขโจทย์ปัญหาที่ให้ และนำเสนอผลการแก้ไขหน้าชั้นเรียน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในประเทศและต่างประเทศ ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
3.3.2 วัดผลจากการประเมินการอภิปราย
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการอภิปราย
4.1.1 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 จัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) สำหรับผู้เรียนที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ การค้นคว้าหาคำตอบ การแก้ปัญหา หรือ การตอบข้อสงสัยตามความสนใจของตนเองหรือกลุ่ม โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำเนินงาน
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.2 ประเมินจากรายงานบุคคลที่ต้องใช้ข้อมูลจากเพื่อนร่วมชั้น   
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 การนำเสนอโดยรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง
6.3.1 ประเมินพฤติกรรมนักศึกษาระหว่างการปฏิบัติงาน
6.3.2 ประเมินผลการทำงานของงานที่ถูกมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG205 การผลิตพืชและสัตว์สำหรับวิศวกร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.3, 1.4, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.4, 4.4, 5.3, 6.1, 6.2 โครงการจัดใช้งานขนาดเล็ก (เนื้อหา,การนำเสนอ, การทำงานกลุ่ม,การส่งงานตามที่มอบหมาย) ตลอดภาคการศึกษา 15%
2 1.2, 1.3, 1.4, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.4, 4.4, 5.3, 6.1, 6.2 โครงการฟาร์มในฝัน (เนื้อหา, การนำเสนอ, การทำงานกลุ่ม, การส่งงานตามที่ได้มอบหมาย) 11,12,13,14,15,16 10%
3 1.2, 1.3, 1.4, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.4, 4.4, 5.3, 6.1, 6.2 การทำกิจกรรมภายในชั้นเรียน (การอภิปราย,การทำงานกลุ่ม,การนำเสนอ) 2,4,6,8,10,12,14,16 10%
4 1.2, 1.3, 1.4, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.4, 4.4, 5.3, 6.1, 6.2 จิตพิสัย (การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน) ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 1.2, 1.3, 1.4, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.4, 4.4, 5.3, 6.1, 6.2 สอบกลางภาค 9 25%
6 1.2, 1.3, 1.4, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.4, 4.4, 5.3, 6.1, 6.2 สอบปลายภาค 18 25%
พิชัย สุรพรไพบูลย์. หลักการผลิตพืชไร่ คณะวิชาพืชศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราช มงคล  วิทยาเขตน่าน 495 หน้า
ภาควิชาสัตวศาสตร์. สัตวศาสตร์และการผลิตสัตว์เบื้องต้น คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 387 หน้า
คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา. ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์พืชไร่นา. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 128 หน้า (2559)
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการสอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
3.2   การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ